ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การเปลี่ยนขนาดของเวลา

ในทฤษฎีสัมพัทธภาพ การเปลี่ยนขนาดของเวลาเป็นผลต่างตามจริงของเวลาล่วงผ่านระหว่างสองเหตุการณ์ที่ผู้สังเกตวัดขณะเคลื่อนที่สัมพัทธ์ต่อกันหรือตั้งอยู่จากมวลความโน้มถ่วง (gravitational mass) ที่ต่างกัน

นาฬิกาเที่ยงตรงขณะพักของผู้สังเกตคนหนึ่งอาจวัดเป็นเวลาที่อัตราต่างกันเมื่อเทียบกับนาฬิกาเที่ยงตรงของผู้สังเกตที่สอง ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดจากลักษณะทางเทคนิคของนาฬิกาหรือจากข้อเท็จจริงที่สัญญาณต้องใช้เวลาแผ่ แต่เกิดจากธรรมชาติของปริภูมิ-เวลาเอง

นาฬิกาบนกระสวยอวกาศเดินช้ากว่านาฬิกาอ้างอิงบนโลกเล็กน้อย ขณะที่นาฬิกาบนดาวเทียมจีพีเอสและกาลิเลโอเดินเร็วกว่าเล็กน้อย การเปลี่ยนขนาดของเวลานี้มีการแสดงซ้ำแล้วซ้ำอีก ตัวอย่างเช่น ความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างนาฬิกาอะตอมบนโลกและในอวกาศ แม้นาฬิกาทั้งสองทำงานได้อย่างสมบูรณ์ (ไม่ได้เกิดข้อบกพร่องทางกล) กฎธรรมชาติ คือ เวลา (คือ ปริภูมิ-เวลา) จะโค้งเนื่องจากความแตกต่างของความโน้มถ่วงหรือความเร็ว ซึ่งทั้งสองมีผลต่อเวลาในหลายทาง

ตามทฤษฎี และเพื่อให้ตัวอย่างชัดเจนขึ้น การเปลี่ยนขนาดของเวลาอาจมีผลประชุมที่นัดไว้แล้วสำหรับนักบินอวกาศที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและความเร็วการเดินทางสูง นักบินอวกาศนั้นจะต้องตั้งนาฬิกาให้นับ 80 ปีพอดี ขณะที่ฝ่ายควบคุมภารกิจบนโลกอาจต้องตั้ง 81 ปี นักบินอวกาศจะกลับสู่โลกหลังภารกิจโดยมีอายุน้อยกว่าผู้ที่อยู่บนโลกหนึ่งปี ยิ่งไปกว่านั้น ประสบการณ์เฉพาะที่ของการผ่านของเวลามิได้เปลี่ยนแปลงสำหรับทุกคนอย่างแท้จริง กล่าวคือ นักบินอวกาศบนยานตลอดจนฝ่ายควบคุมภารกิจบนโลกต่างรู้สึกปกติ แม้มีผลของการเปลี่ยนขนาดของเวลา (คือ สำหรับคณะเดินทาง ผู้ที่อยู่นิ่งอยู่ "เร็วกว่า" แต่สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ผู้ที่เดินทางอยู่ "ช้ากว่า" ในชั่วขณะหนึ่ง)

แต่ด้วยเทคโนโลยีที่จำกัดความเร็วของนักบินอวกาศ ผลต่างนี้เล็กน้อยมาก หลังอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ 6 เดือน ลูกเรือนักบินอวกาศอายุน้อยกว่าผู้ที่อยู่บนโลกจริง แต่เพียงประมาณ 0.007 วินาทีเท่านั้น ผลต่างจะมากขึ้นหากนักบินอวกาศเดินทางใกล้กับความเร็วของแสง (ประมาณ 300,000 กม./วินาที) แทนความเร็วแท้จริงของพวกเขา ซึ่งเป็นความเร็วของสถานีอวกาศที่กำลังโคจร ประมาณ 7.7 กม./วินาที

การเปลี่ยนขนาดของเวลานั้นเกิดจากผลต่างของความโน้มถ่วงและความเร็วสัมพัทธ์ ทั้งสองปัจจัยมีผลในกรณีนักบินอวกาศสถานีอวกาศนานาชาติ (และที่จริงมีผลตรงข้ามกัน)

เมื่อผู้สังเกตสองคนกำลังเคลื่อนที่เอกรูปและไม่มีผลจากมวลความโน้มถ่วงใด ๆ มุมมองของผู้สังเกตแต่ละคนคือ นาฬิกาของอีกผู้หนึ่ง (ที่กำลังเคลื่อนที่) เดินด้วยอัตราช้ากว่านาฬิกาเฉพาะที่ ยิ่งความเร็วสัมพัทธ์มากเท่าใด ยิ่งมีขนาดการเปลี่ยนขนาดของเวลามากเท่านั้น บ้างเรียกกรณีนี้ว่า "การเปลี่ยนขนาดของเวลาสัมพัทธภาพพิเศษ"

ยกตัวอย่างยานจรวดสองลำ (ก และ ข) ซึ่งเคลื่อนที่ผ่านอีกลำหนึ่งในอวกาศจะประสบการเปลี่ยนขนาดของเวลา หากทั้งสองสามารถเห็นยานของกันได้ชัดเจน ลูกเรือแต่ละคนจะเห็นนาฬิกาและการเคลื่อนที่ของยานอีกลำหนึ่งช้าลง นั่นคือ ในกรอบอ้างอิงของยาน ก ทุกสิ่งเคลื่อนที่ปกติ แต่ทุกสิ่งในยาน ข เหมือนเคลื่อนที่ช้าลง (และกลับกันสำหรับยาน ข)

จากทัศนมิติเฉพาะที่ เวลาตามนาฬิกาซึ่งเป็นขณะพักเมื่อเทียบกับกรอบอ้างอิงเฉพาะที่ (และอยู่ห่างจากมวลความโน้มถ่วงใด ๆ) ดูผ่านไปด้วยอัตราเดียวกันเสมอ กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า หากมียานอีกลำหนึ่ง คือ ยาน ค เคลื่อนที่ข้างยาน ก โดย "ขณะพัก" สัมพัทธ์กับยาน ก จากมุมมองของยาน ก เวลาของยาน ค จะปรากฏปกติเช่นกัน

ณ จุดนี้ปัญหาก็จะเกิดขึ้น เพราะจะเห็นว่าแต่ละยานจะเห็นเวลาของอีกยานเดินช้ากว่าของตน แล้วคนในยานไหนกันแน่ที่จะแก่กว่ากันถ้าหากคนจากทั้งสองยานได้มาเจอกัน ปัญหานี้มีลักษณะเดียวกันกับปฏิทรรศน์ฝาแฝด (twin paradox) แน่นอนที่สุดว่าไม่มีทางที่การสังเกตทั้งสองฝ่ายจะเป็นจริงพร้อมกันได้ แต่ปัญหานี้ไม่สามารถตอบได้ด้วยสมมติฐานที่ว่า ไร้ความเร่ง ของสัมพัทธภาพพิเศษ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถพบกันโดยปราศจากความเร่ง เนื่องจากทั้งสองได้จากกันไปแล้วหากจะกลับพบกันย่อมต้องอาศัยความเร่ง (ในทางกลับกันการจากกันก็ต้องอาศัยความเร่ง) อย่างไรก็ดีปัญหานี้ได้รับการพิสูจน์จากนาฬิกาที่แม่นยำสองเรือนที่นำไปวางไว้บนสถานีอวกาศนานาชาติและอยู่บนพื้นโลก (นาฬิกาบนสถานีอวกาศจะเดินช้ากว่าบนโลก 0.007 วินาที ทุก ๆ 6 เดือน)

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติซึ่งอยู่เหนือพื้นผิวโลกขึ้นไป 340 กิโลเมตรเช่นกัน เนื่องจากบนนั้นมีทั้งเหตุปัจจัยที่ทำให้ เวลายืด และ เวลาหด อยู่พร้อม ๆ กัน กล่าวคือ ปัจจัยที่ทำให้ เวลายืด นั่นก็คือสถานีอวกาศนานาชาติเคลื่อนที่เป็นวงโคจรรอบโลกอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เวลาของเขาจะเดินช้าลง และปัจจัยที่ทำให้ เวลาหด ก็คือความเข้มสนามโน้มถ่วงที่ลดลง เนื่องจากสถานีนี้อยู่ห่างจากโลกมากจึงทำให้มีความเข้มสนามโน้มถ่วงน้อยกว่าพื้นโลก ซึ่งทำให้เวลาของเขาเดินเร็วขึ้น แม้ปัจจัยทั้งสองจะขัดแย้งกันแต่ก็มีความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะสุดท้ายแล้วนาฬิกาของน้กบินอวกาศจะเดิน ช้ากว่า คนที่อยู่บนพื้นโลก นั่นก็แสดงว่าความเร็วซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ เวลายืด ดูจะมีพลังรุนแรงกว่าแรงโน้มถ่วงที่ลดลงที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ เวลาหด ในกรณีนี้

การยืดออกของเวลาเนื่องจากความเข้มสนามโน้วถ่วงถูกอธิบายไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปว่า นาฬิกาที่อยู่ใกล้วัตถุที่มีมวลมาก (เช่น โลก) จะเดินช้ากว่านาฬิกาที่อยู่ห่างออกไป กล่าวคือนาฬิกาที่อยู่ใกล้วัตถุมวลมากก็เหมือนกับอยู่ในบ่อแรงโน้มถ่วง (gravity well) ลึกกว่าก็จะเดิน ช้ากว่า นาฬิกาที่อยู่ตื้นขึ้นไปนั่นเอง เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดกับนักบินอวกาศเท่านั้น หากจะว่าไปแล้วนาฬิกาของนักปีนเขาสูง ๆ ก็ควรจะเดินเร็วกว่านาฬิกาของคนที่อยู่ระดับน้ำทะเลเล็กน้อยเช่นกัน (เพราะว่าสูงขึ้นไปสนามโน้มถ่วงก็เบาบางลง) อย่างไรก็ดีทุก ๆ ผู้สังเกตจะรู้สึกเป็นปกติตลอดเวลาหาได้รู้สึกว่าเวลาเดินเร็วขึ้นหรือเวลาเดินช้าลง (เนื่องจากนาฬิกาทุก ๆ เรือนในกรอบอ้างอิงเดียวกับผู้สังเกตนั้นจะเดินเร็วเท่ากันหมด)

ในกรณีของ เวลายืด เนื่องจากความเร็วสัมพัทธ์ ผู้สังเกตทั้งสองจะเห็นอีกฝ่ายเคลื่อนที่ช้าลง (เนื่องจากแต่ละฝ่ายก็จะเห็นอีกฝ่ายเคลื่อนที่) แต่ในกรณีเนื่องจากแรงโน้มถ่วงผู้สังเกตที่อยู่ระดับน้ำทะเลย่อมมีสนามโน้มถ่วงเข้มกว่าผู้สังเกตบนภูเขาแน่นอน ดังนั้นผู้สังเกตระดับน้ำทะเลก็จะดูเชื่องช้าในสายตาของผู้ที่อยู่บนเขา และผู้ที่อยู่บนเขาก็จะดูรวดเร็วในสายตาของผู้ที่อยู่ข้างล่าง แต่ในกรณีของภูเขาสูงกับระดับน้ำทะเลนั้นความแตกต่างดังกล่าวน้อยมากจนไม่สามารถรู้สึกได้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301