ข้อมูลในหน้านี้อาจมีการดัดแปลงหลายครั้งตามนโยบายวิกิพีเดีย สำหรับข้อมูลต้นฉบับสามารถดูได้ที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
1. หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์ภาษาเกาหลีที่เขียนด้วยอักษรโรมัน โดยมีตารางเทียบเสียงพยัญชนะและสระตามที่ออกเสียงในภาษาเกาหลีมาตรฐานไว้ให้เป็นแนวเทียบ
2. เนื่องจากภาษาเกาหลีมีการถ่ายถอดเป็นอักษรโรมันหลายระบบ ในหลักเกณฑ์นี้ได้เลือกใช้อักษรโรมันจาก 2 ระบบ ได้แก่ ระบบการถอดอักษรเกาหลีเป็นอักษรโรมันฉบับปรับปรุง (Revised Romanization of Korean) ที่ใช้เป็นทางการในเกาหลีใต้ และระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ (McCune-Reischauer) ที่นิยมใช้มานานและยังคงมีใช้อยู่ โดยจะให้ตารางเทียบเสียงไว้ทั้ง 2 ระบบ แต่ตัวอย่างที่ให้ไว้ในหลักเกณฑ์ทั่วไปใช้ตามระบบการถอดภาษาเกาหลีเป็นอักษรโรมันฉบับปรับปรุง
3. คำทับศัพท์ที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ฯลฯ ให้ใช้ตามฉบับล่าสุด
4. คำที่รับมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานานแล้วและเขียนเป็นคำไทยจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น กิมจิ, เทควันโด, อารีดัง, ฮุนได, วอน (สกุลเงิน)
6. คำทับศัพท์ชื่อและชื่อสกุล เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกัน เว้นวรรค หรือมีเครื่องหมายยัติภังค์ตามต้นฉบับอักษรโรมัน เช่น
7. คำวิสามานยนามเช่นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่เขียนด้วยอักษรโรมัน แม้ว่าจะเว้นวรรคหรือมีเครื่องหมายยัติภังค์ ให้ทับศัพท์โดยเขียนติดกัน ส่วนคำที่บอกประเภทของชื่อเฉพาะไม่ต้องทับศัพท์ เช่น
เกาหลี ? จีน ? ญี่ปุ่น ? ดัตช์ ? ฝรั่งเศส ? พม่า ? ฟิลิปปินส์ ? มลายู ? เยอรมัน ? รัสเซีย ? เวียดนาม ? สเปน ? อังกฤษ ? อาหรับ ? อิตาลี ? ฮินดี
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การเขียนคำทับศัพท์ภาษาเกาหลี