ข้อมูลในหน้านี้อาจมีการดัดแปลงหลายครั้งตามนโยบายวิกิพีเดีย สำหรับข้อมูลต้นฉบับสามารถดูได้ที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
1. การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสตามหลักเกณฑ์นี้ยึดการออกเสียงเป็นหลัก โดยถ่ายเสียงสระและพยัญชนะตามที่ออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส และมีตารางเทียบเสียงพยัญชนะ เสียงกึ่งสระ และเสียงสระไว้ให้เป็นแนวเทียบ
2. สัญลักษณ์แทนเสียงที่แสดงไว้ในตารางใช้ตาม Le Petit Robert. Dictionnaire de la langue fran?aise, 2006. อย่างไรก็ดี ผู้ทับศัพท์อาจใช้พจนานุกรมการออกเสียงหรือพจนานุกรมภาษาฝรั่งเศสเล่มอื่นก็ได้เพราะการออกเสียงไม่ต่างกันมากนัก แต่ผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจเรื่องสัญลักษณ์ สัทอักษร หรือวิธีการออกเสียงของพจนานุกรมเล่มนั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละเล่ม สัทอักษรสากลนั้นนอกจากจะใช้อักษรโรมันแทนเสียงแล้ว ยังได้ใช้สัญลักษณ์อื่น ๆ อีก ตัวอย่างต่อไปนี้นำมาจาก Le Petit Robert. Dictionnaire de la langue fran?aise, 2006. สัญลักษณ์ที่ปรากฏในเครื่องหมาย [ ] หมายถึงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงอ่าน เช่น
3. คำภาษาฝรั่งเศสที่รับมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานานแล้ว และมีคำไทยเขียนไว้ใช้แทนจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป อาจใช้ตามรูปคำที่เขียนกัน เช่น
4. คำทับศัพท์ที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง, ชื่อแร่ และชื่อธาตุ ฯลฯ ให้ใช้ตามประกาศครั้งล่าสุด
5. เสียงสระที่ปรากฏในสัทอักษรที่อยู่ต้นคำ เมื่อทับศัพท์เป็นภาษาไทยให้ใส่ อ เพื่อเป็นทุ่นให้สระเกาะด้วย เช่น
6. ในภาษาฝรั่งเศส โดยทั่วไปเสียงสั้น-ยาวของสระไม่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลง แต่ในการออกเสียงพบว่าเสียงสระส่วนใหญ่ในพยางค์ปิดที่ตามด้วยพยัญชนะอโฆษะหรือพยัญชนะเสียงไม่ก้อง (sourd) ซึ่งได้แก่เสียง p, t, k, s, f และ ? สั้นกว่าเสียงสระในพยางค์เปิดและพยางค์ปิดที่ตามด้วยพยัญชนะโฆษะหรือพยัญชนะเสียงก้อง (sonore) ซึ่งได้แก่ เสียง b, d, ?, z, v, ?, l, ?, m, n และ ? จึงได้กำหนดให้ถ่ายเสียงสระในพยางค์ปิดที่ตามด้วยพยัญชนะอโฆษะเป็นสระเสียงสั้น และให้ถ่ายเสียงสระในพยางค์ปิดที่ตามด้วยพยัญชนะโฆษะรวมทั้งเสียงสระในพยางค์เปิดเป็นสระเสียงยาว
7. ในภาษาฝรั่งเศสมีการแบ่งพยางค์อย่างชัดเจน เช่น animer [a.ni.me] จะแบ่งพยางค์ที่เสียง a แยกเสียง n เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป จึงทับศัพท์เป็น "อานีเม" คำ litige [li.ti?] จะแบ่งพยางค์ที่เสียง i แยกเสียง t เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป จึงทับศัพท์เป็น "ลีตีฌ" แม้คำที่มีพยัญชนะซ้อน 2 ตัวในรูปเขียน จะออกเสียงเพียงเสียงเดียว เช่น chopper [??.pe] โดยจะแบ่งพยางค์ที่เสียง ? แยกเสียง p เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป เมื่อทับศัพท์ไม่ต้องซ้อนพยัญชนะอีกหนึ่งตัว เช่น
8. โดยปรกติระบบเสียงพยัญชนะ p, t, k ในภาษาฝรั่งเศสจะไม่มีเสียงพ่นลม แต่ในการออกเสียงจริงพบว่ามีการออกเสียงพ่นลมด้วยเมื่อตามด้วยเสียง ? จึงได้กำหนดให้เสียง p, t, k ในภาษาฝรั่งเศสใช้ตัวพยัญชนะไทยที่เป็นเสียงพ่นลม ดังนี้
9. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ในภาษาไทยเครื่องหมายทัณฑฆาตใช้ฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง เช่น "รัตน์" ในคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสให้ใช้กำกับตัวอักษรที่อ่านตามอักขรวิธีไทยไม่ได้ โดยใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
14. การเชื่อมเสียง ในการทับศัพท์กลุ่มคำภาษาฝรั่งเศสจะมีการเชื่อมเสียง กล่าวคือ เชื่อมเสียงพยัญชนะท้ายคำกับสระซึ่งเป็นเสียงต้นของคำที่ตามมา หรือ h muet เช่น
เกาหลี ? จีน ? ญี่ปุ่น ? ดัตช์ ? ฝรั่งเศส ? พม่า ? ฟิลิปปินส์ ? มลายู ? เยอรมัน ? รัสเซีย ? เวียดนาม ? สเปน ? อังกฤษ ? อาหรับ ? อิตาลี ? ฮินดี
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การเขียนคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส