ข้อมูลในหน้านี้อาจมีการดัดแปลงหลายครั้งตามนโยบายวิกิพีเดีย สำหรับข้อมูลต้นฉบับสามารถดูได้ที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
การเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีนกลางนี้เป็นหลักการที่กำหนดโดยราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งอาจแตกต่างจากที่นักวิชาการและสื่อบางส่วนใช้อยู่บ้างเล็กน้อย โปรดดูรายละเอียดท้ายบทความ
1. หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์คำภาษาจีนกลางที่เขียนด้วยอักษรโรมันระบบพินยิน (P?ny?n System) แต่เพื่อความสะดวกแก่การเขียนทับศัพท์ภาษาจีนที่ใช้ระบบอื่น ได้แก่ ระบบเวด-ไจลส์ (Wade-Giles System) ระบบเยล (Yale System) และระบบจู้ยิน ฝูฮ่าว (Zh?y?n F?h?o System) ซึ่งยังมีปรากฏในหนังสือต่าง ๆ อยู่มาก จึงได้เทียบเสียงของระบบดังกล่าวไว้ด้วย
2. การเทียบเสียงพยัญชนะและสระ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงพยัญชนะและสระภาษาจีน และตัวอักษรในตารางแทนอักษรโรมันทั้งตัวตาม (ตัวเล็ก) และตัวนำ (ตัวใหญ่)
3. เครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ในระบบพินยิน ระบบเยล และระบบจู้ยิน ฝูฮ่าวใช้ ? ? ? ` ส่วนในระบบเวด-ไจลส์ใช้ 1 2 3 4 เทียบเคียงกับเสียงวรรณยุกต์ไทยได้ดังนี้
4. ความสั้น-ยาวของเสียงสระ เสียงสระในภาษาจีนไม่มีความแตกต่างระหว่างเสียงสั้นกับเสียงยาวเหมือนในภาษาไทย โดยปรกติพยางค์ที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงหนึ่ง เสียงสอง และเสียงสามจะออกเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ ยกเว้นเสียงสี่จะออกเสียงสั้นเสมอ
5. เครื่องหมายพินทุ พินทุที่อยู่ใต้ตัวพยัญชนะแสดงว่าพยัญชนะตัวนั้น ๆ ออกเสียงควบกล้ำกับตัวที่ตามมา ยกเว้นตัว ห ที่มีเครื่องหมายพินทุกำกับจะออกเสียงควบกล้ำและเป็นอักษรนำด้วย เช่น Hu? = หฺวา, Hu?i = ไหฺว, หฺวาย
6. สระประสม เสียงสระประสมบางเสียงในภาษาจีน เมื่อถอดเป็นอักษรไทยแล้วจะมีเสียงพยัญชนะ ย หรือ ว อยู่ด้วย ให้ใส่เครื่องหมายพินทุใต้ตัวพยัญชนะต้นซึ่งผสมกับสระนั้น เช่น ji?ng = จฺย่ง, yu? = เยฺว่
7. เสียงพยัญชนะจีนซึ่งเทียบได้กับพยัญชนะไทยที่มีอักษรคู่ (อักษรสูงมีเสียงคู่กับอักษรต่ำ) ได้ให้ไว้ทั้ง 2 ตัว เช่น ฉ ช ฝ ฟ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ของไทย เช่น ฉา, ชือ, เฝิน, ฟั่น
8. พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับในคำทับศัพท์ ให้ออกเสียงพยัญชนะนั้นด้วย เช่น ?rzi = เอ๋อร์จึ, f?i = เฟย์
9. การเว้นวรรค ในการเขียนทับศัพท์ภาษาจีน การแยกคำให้ยึดตามต้นฉบับ ยกเว้นคำที่ใช้ในภาษาไทยจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น K?ng Z? = ขงจื่อ (ขงจื๊อ)
ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ระบุว่า yi เมื่อไม่มีตัวสะกดต่อท้าย ให้ออกเสียง อี เช่น y? อี = เลขหนึ่ง; y? อี้ = ความหมาย, เจตนา หาก yi มีตัวสะกดต่อท้ายจะใช้ ยิ ต่อท้ายด้วยตัวสะกด เช่น y?n ยิน = ความมืด ความเย็น พลังลบ; y?n หยิน = ธาตุเงิน; y?n หยิ่น = ดื่ม; y?n ยิ่น = พิมพ์ เป็นต้น ผู้เขียนหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่อบางแห่งอาจเลือกใช้อิน, อิ๋น, อิ่น และอิ้น ตามลำดับ ในวิกิพีเดียและตำราเรียนภาษาจีนส่วนมากถอดเสียงคำ P?ny?n ว่า "พินอิน" ในขณะที่ตำราบางเล่มและนักวิชาการบางท่านใช้ "พินยิน" อย่างไรก็ตามการออกเสียงทั้งสองแบบถูกต้อง และหมายถึง "การสะกดเสียง" หรือ "สัทอักษร" เหมือนกัน
sh แทนเสียงเสียดแทรก ลิ้นเกือบแตะเพดานแข็ง เวลาออกเสียงจะคล้ายกับ /ช/ ผสมกับ /ซ/ ในประกาศระบุให้ใช้ ฉ, ช เช่น sh?n เชิน = ร่างกาย แต่ในสื่อสิ่งพิมพ์บางสื่อจะใช้ ซ, ส ทำให้เขียนเป็น "เซิน"
wu ในประกาศฯ และสื่อส่วนมากรวมถึงวิกิพีเดียจะใช้ อู เช่น W?h?n อู่ฮั่น = ชื่อจังหวัดในมณฑลเหอเป่ย์ แต่ตำราบางเล่มหรือสื่อบางส่วนก็ใช้ วู ทำให้เขียนว่า "หวู่ฮั่น" แทน แต่นั่นเป็นการออกเสียงที่ไม่ตรงเสียทีเดียว
–ei ในประกาศฯ กำหนดให้ใช้ เ–ย์ โดยให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตบนตัว ย เนื่องจากไม่ปรากฏสระประสมนี้ในระบบเสียงภาษาไทย เช่น b?ig?o เป้ย์เก้า = จำเลย; f?ich?ng เฟย์ฉาง = อย่างยิ่ง แต่บางแห่งใช้ เ–ย จึงทับศัพท์เป็น "เป้ยเก้า" และ "เฟยฉาง" ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนว่าออกเสียงเหมือน เ–ย อย่างในคำว่า "ระเหย" หรือ "เปรียบเปรย" เป็นต้น
เกาหลี ? จีน ? ญี่ปุ่น ? ดัตช์ ? ฝรั่งเศส ? พม่า ? ฟิลิปปินส์ ? มลายู ? เยอรมัน ? รัสเซีย ? เวียดนาม ? สเปน ? อังกฤษ ? อาหรับ ? อิตาลี ? ฮินดี
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน