การเกณฑ์ (อังกฤษ: conscription) เป็นการรับสมัครบุคคลโดยบังคับในราชการบางอย่างของชาติ ซึ่งเป็นราชการทหารมากที่สุด การเกณฑ์มีมาแต่โบราณ และปัจจุบันยังคงอยู่ในบางประเทศโดยมีชื่อหลากหลาย ระบบการเกณฑ์ชายหนุ่มแทบทุกคน (near-universal) ทั่วประเทศสมัยใหม่มีมาแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1790 ซึ่งการเกณฑ์ทหารได้กลายมาเป็นพื้นฐานของกองทัพขนาดใหญ่และทรงพลัง ภายหลังชาติยุโรปส่วนมากลอกระบบดังกล่าวในยามสงบ ฉะนั้นชายที่มีอายุตามกำหนดต้องรับราชการ 1–8 ปีในกองประจำการ แล้วจึงโอนไปกองเกิน
การเกณฑ์ทหารเป็นที่ถกเถียงกันด้วยหลายเหตุผล รวมทั้งการคัดค้านการสู้รบโดยอ้างมโนธรรมบนเหตุผลด้านศาสนาหรือปรัชญา การคัดค้านทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การรับราชการรัฐบาลหรือสงครามซึ่งไม่เป็นที่นิยม และการคัดค้านทางอุดมการณ์ ตัวอย่างเช่น เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่รับรู้ บางครั้งผู้ถูกเกณฑ์ทหารอาจหลบเลี่ยงราชการโดยออกนอกประเทศ ระบบการคัดเลือกบางระบบปรับให้เข้ากับทัศนคติเหล่านี้โดยจัดราชการทางเลือกที่ไม่ใช่บทบาทปฏิบัติการรบหรือไม่ใช่ทหารอย่างสิ้นเชิง เช่น ซีวิลดีนสท์ (ราชการพลเรือน) ในประเทศออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตส่วนมากเกณฑ์ทหารไม่เพียงเข้ากองทัพเท่านั้น แต่รวมถึงองค์การกึ่งทหารซึ่งมีหน้าที่ในราชการเฉพาะในประเทศคล้ายตำรวจ (หน่วยทหารภายใน) หรือหน้าที่กู้ภัย (หน่วยป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ถือว่าเป็นทางเลือกของการเกณฑ์ทหาร
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 หลายประเทศไม่เกณฑ์ทหารอีกต่อไป แต่อาศัยทหารอาชีพที่มาจากอาสาสมัครที่ได้รับสมัครตามความต้องการกำลังพล อย่างไรก็ดี หลายรัฐที่ได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปแล้วยังสงวนอำนาจที่จะรื้อฟื้นการเกณฑ์ทหารในยามสงครามหรือเกิดวิกฤตการณ์
ตั้งแต่สมัยกลางในยุคศักดินา ได้มีการเกณฑ์แรงงานประชาชนเพื่อทำกิจการต่างๆ รวมถึงกิจกรรมทางทหารโดยกษัตริย์หรือผู้ปกครองในท้องถิ่น โดยมักจะกำหนดให้ชายที่มีอายุตามที่ระบุมีหน้าที่ต้องไปใช้แรงงานให้กับรัฐ ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่ากระทำผิดกฎหมายและต้องได้รับการลงโทษ อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และระยะเวลาที่ต้องเข้าไปใช้แรงงานนั้นอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสามเดือน
สุลต่านหรือผู้นำทางทหารของจักรวรรดิออตโตมัน ได้ลักพาเด็กจำนวนมากโดยเฉพาะลูกหลานชาวยุโรปเพื่อนำไปฝึกใช้กำลังอาวุธ กองกำลังทหารทาสนี้มีชื่อเรียว่า Kap?kulu ในปี ค.ศ. 1609 กองกำลังดังกล่าวมีจำนวนมากถึง 100,000 นาย วิธีการลักพาตัวเด็กที่ไม่ใช่มุสลิมและนำมาล้างสมองฝึกใช้เป็นทาสทหารนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศในตะวันออกกลาง เช่น กรณี Mamluk และในทวีปแอฟริกา เช่น กรณี Black Guard
ระบบการขึ้นบัญชีประชาชนในชาติเป็นทหารนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในยุคการปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อให้สาธารณรัฐมีกำลังป้องกันตัวเองจากการรุกรานของราชอาณาจักรยุโรปอื่น ๆ พระราชบัญญัติที่ออกเมื่อ 5 กันยายน ค.ศ. 1798 มีมาตราหนึ่งกล่าวว่า "ชายฝรั่งเศสทุกคนเป็นทหารและมีหน้าที่ในการปกป้องประเทศชาติ"
ในสหรัฐอเมริกานั้นการเกณฑ์ทหารเกิดขึ้นในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกาโดยฝ่าย Union Army ตามพระราชบัญญัติ Enrollment Act ปี ค.ศ. 1863 นั้นอนุญาตให้มีการจ้างบุคคลอื่นเข้ารับราชการทหารแทนได้ ทำให้เกิดความไม่พอใจกันในหมู่สาธารณชน และเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายขึ้น
การส่งทหารเกณฑ์ไปสู้รบในสมรภูมิต่างชาติที่ไม่เกี่ยวข้องกับมาตุภูมิของตนเองเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในหลายประเทศ เช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้มีการถกเถียงเรื่องการเกณฑ์ทหารกันอย่างแพร่หลายใน แคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งมิได้อยู่ในขอบเขตของสงคราม แต่ได้ส่งทหารไปร่วมรบด้วย ต่อมาสงครามเวียดนามก็ก่อให้เกิดประเด็นการถกเถียงอย่างนี่อีกเช่นกันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970
การเกณฑ์ทหารขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยประเทศไทยออกเสียงสนับสนุน ข้อ 2 3 4 18 20 23
"การเกณฑ์ทหารเป็นการใช้แรงงานทาสรูปแบบหนึ่ง" อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ H.G. Wells, Bertrand Russell and Thomas Mann
การเกณฑ์ทหารอาจจำกัดเพศหรืออายุของผู้ที่ถูกเกณฑ์ แสดงถึงความไม่เท่าเทียมกันของผู้ที่อยู่ในกำหนดต้องเกณฑ์ทหารกับผู้ที่ไม่อยู่ในกำหนดต้องเกณฑ์ทหาร
ในสงครามเวียดนามมีกรณีทหารเกณฑ์สังหารกันเอง (Fragging) หรือการกลับไปเข้ากับฝ่ายตรงข้ามของ Andrey Vlasov ในสงครามโลก
"รัฐที่คิดว่าตัวเองสามารถบังคับประชาชนให้ไปร่วมสงครามได้ตามใจชอบ ย่อมไม่มีวันที่จะคิดถึงคุณค่าและความความสุขของประชาชนในยามสงบ" ไอน์สไตน์และคานธี
ผลตอบแทนต่อต้นทุนของการเกณฑ์ทหารในยามสงบอยู่ในระดับต่ำเนื่องจาก การเกณฑ์ทหารมีต้นทุนที่รัฐต้องจ่ายโดยตรงในการฝึกอบรม ประชาชนมิได้ไปประกอบอาชีพของตนนั้นเป็นการใช้แรงงานจำนวนมากของชาติไปในทิศทางที่ไม่เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ในหลายประเทศการเกณฑ์ทหารเป็นการส่งฝึกฝนของคนจากรุ่นสู่รุ่น เป็นการทดสอบความเป็นชายชาติทหารหรือชายชาตรี
บุคคลที่ถูกเกณฑ์ทหารมีที่มาหลากหลาย ต่างกันในทั้งความถนัดและการศึกษา หากทางการทหารนำความแตกต่างและความรู้ความสามารถที่ทหารเกณฑ์มีมาใช้ให้เหมาะสมก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ
ชอง-ชาก รุสโซ ต่อต้านการใช้ทหารอาชีพและกล่าวว่าเป็นหน้าที่และสิทธิพิเศษของพลเมืองทุกคนที่จะป้องป้องบ้านเมืองของตน