ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การสงครามสมัยใหม่ตอนต้น

การสงครามสมัยใหม่ตอนต้น (อังกฤษ: Early modern warfare) สัมพันธ์กับการที่เริ่มมีการใช้ดินปืนอย่างแพร่หลายและการพัฒนาอาวุธที่เหมาะจะใช้ระเบิด ซึ่งรวมถึงปืนใหญ่และปืนที่ใช้มือถือ (handgun) เช่น ปืนไฟ และต่อมา คือ ปืนคาบศิลา ด้วยเหตุนี้ ยุคนี้จึงสรุปได้ว่าเป็นยุคแห่งการสงครามดินปืน

ก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีการใช้ดินปืนน้อยมาก แต่เปลี่ยนมาใช้ทั่วไปในสมัยใหม่ตอนต้น โดยพบใช้มากที่สุดระหว่างสงครามนโปเลียน ตั้งแต่ ค.ศ. 1792 ถึง 1815 มหาอำนาจยุโรปและตะวันออกกลางทั้งหมดสู้รบกันอยู่เนือง ๆ ตลอดยุคนี้

มีการใช้การสงครามดินปืนในการบุกครองญี่ปุ่นของมองโกลใน ค.ศ. 1274 และ 1281 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปของการยิงลูกระเบิด (explosive bomb) จากแคทะพัลท์ (catapult) ใส่ทหารข้าศึก บันทึกของญี่ปุ่นมีภาพระเบิดที่ฝ่ายมองโกลใช้กับซามูไรขี่ม้า หลักฐานทางโบราณคดีของการใช้ดินปืนรวมถึงการค้นพบลูกระเบิดหลายลูกในซากเรืออับปางนอกชายฝั่งญี่ปุ่น โดยรังสีเอกซ์พิสูจน์ว่าภายในบรรจุดินปืนอยู่

สมัยตั้งแต่ ค.ศ. 1500 ถึง 1801 มีความก้าวหน้าของเทคนิคป้อมสนามในทวีปยุโรปอย่างรวดเร็ว ขณะที่ปราสาทสมัยกลางอาศัยกำแพงสูงเพื่อป้องกันข้าศึก ป้อมสนามสมัยใหม่ต้องรับมือกับการยิงของปืนใหญ่ วิศวกรจึงได้พัฒนารูปแบบป้อมที่เรียกว่า "สไตล์อิตาลี" หรือ trace itallienne ซึ่งมีกำแพงเตี้ย หนาและลาดเอียง ซึ่งจะดูดซับหรือทำให้กระสุนปืนใหญ่แฉลบไป นอกจากนี้ ป้อมดังกล่าวยังมีรูปทรงคล้ายดาว โดยมีป้อมแหลม (bastion) ยื่นออกไปเป็นมุมเล็ก ๆ จุดประสงค์ของรูปทรงดังกล่าวเพื่อให้ป้อมแหลมทุกป้อมได้รับการยิงสนับสนุนจากป้อมแหลมที่อยู่ติดกัน ทำให้ฝ่ายเข้าตีไม่มีจุดบอดที่จะหลบเข้ากำบัง ไม่นานป้อมสนามแบบใหม่นี้ก็ลบข้อได้เปรียบของปืนใหญ่ไป

ป้อมหลายเหลี่ยมเป็นป้อมสนามแบบที่พัฒนาขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เพื่อสนองพัฒนากระสุนระเบิดได้ (explosive shell) แบบป้อมดาว (star fort) ที่ซับซ้อนซึ่งมีมาก่อนป้อมหลายเหลี่ยมนี้มีประสิทธิภาพสูงโจมตีด้วยปืนใหญ่ แต่ด้อยประสิทธิภาพลงเมื่อเผชิญกับการยิงของปืนที่มีเกลียวในลำกล้อง (rifled) และอำนาจทำลายของกระสุนระเบิดได้ ป้อมสนามแบบหลายเหลี่ยมยังได้รับอธิบายว่าเป็น "ป้อมที่ไม่มีด้านข้าง" ป้อมแบบนี้ถูกสร้างขึ้นมากในสหราชอาณาจักรและจักรวรรดิอังกฤษในสมัยของลอร์ดพัลเมอร์สตัน จึงมักเรียกว่า ป้อมพัลเมอร์สตัน

ในการสนองตอบจุดอ่อนของป้อมดาว วิศวกรทหารจึงพัฒนาป้อมสนามแบบที่เรียบง่ายกว่าแต่ทนทานขึ้นกว่ามาก ตัวอย่างป้อมแบบนี้พบได้ที่ป้อมแมคเฮนรีในบัลติมอร์ สหรัฐอเมริกา ที่ตั้งของยุทธการอันลือเลื่องที่ฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ประพันธ์เพลงชาติสหรัฐอเมริกา

อำนาจของรัฐอภิชนาธิปไตยเสื่อมลงทั่วยุโรปตะวันตกระหว่างสมัยนี้ ปราสาทโบราณอายุหลายร้อยปีของอภิชนไม่มีประโยชน์อีกต่อไปเมื่อเจอกับปืนใหญ่ ความสำคัญของชนชั้นสูงในการสงครามก็หมดไปเมื่อทหารม้าหนักสมัยกลางสูญเสียบทบาทสำคัญที่สุดในการยุทธ์ ทหารม้าหนักซึ่งประกอบขึ้นจากอัศวินสวมเกราะเริ่มหมดความสำคัญไปในสมัยกลางตอนปลาย ทั้งธนูยาวอังกฤษและหอก (pike) สวิสได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำลายกองทัพอัศวินสวมเกราะขนาดใหญ่กว่าได้ อย่างไรก็ดี การใช้ธนูยาวอย่างเหมาะสมนั้นต้องอาศัยการฝึกฝนชั่วชีวิต จึงทำให้การระดมกองกำลังพลธนูขนาดใหญ่นั้นเป็นไปไม่ได้ ขณะเดียวกัน การใช้หอกอย่างเหมาะสมนั้นต้องอาศัยการปฏิบัติในรูปขบวนอย่างซับซ้อน ตลอดจนความอดทนและการประสานอย่างยิ่งของพลหอก และทำให้การระดมกองกำลังขนาดใหญ่เป็นไปได้ยากเช่นกัน

เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ช่างทำชุดเกราะเสริมชิ้นเกราะแผ่น (plate armour) เข้ากับเกราะโลหะเชื่อม (mail armor) แบบเดิมของอัศวินและ men-at-arms เพื่อป้องกันลูกศรของธนูยาวและหน้าไม้ เมื่อถึง ค.ศ. 1415 พลราบบางส่วนเริ่มใช้ "ปืนใหญ่มือ" เป็นครั้งแรก และปืนไฟถือขนาดเล็ก พร้อมสายชนวน ปรากฏให้เห็นในสนามรบในคริสต์ศตวรรษที่ 15

ในช่วง 250 ปี (ค.ศ. 1400 ถึง 1650) ทหารสวมเกราะแผ่นอย่างกว้างขวางในแทบทุกยุทธการสำคัญของยุโรป ทั้งพลราบ (มักเป็นพลหอก) และพลขี่ม้าเกือบทั้งสิ้น เกราะแผ่นถูกคาดหวังว่าจะสะท้อนอาวุธมีคมและหยุดลูกปืนไฟและปืนพกจากระยะไกล ซึ่งมักจะทำได้ตามที่คาด แต่อาวุธปืนกับเกราะแผ่นจะได้ผลตราบเท่าที่ความเร็วและน้ำหนักของลูกปืนยังค่อนข้างต่ำ แต่เมื่อกาลผ่านไป อาวุธปืนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ปืนคาบศิลาแบบนกปืนชนวนกระสุนด้วยหินเหล็กไฟ (flintlock musket) ซึ่งมีใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1650 สามารถสังหารทหารสวมเกราะได้จากระยะถึง 100 หลา แม้จะไม่ค่อยแม่นยำ

หลัง ค.ศ. 1650 ปืนคาบศิลาแบบนกปืนชนวนกระสุนด้วยหินเหล็กไฟดังกล่าวซึ่งทหารราบส่วนใหญ่ยกเว้นพลหอกถือยิงดินระเบิดและลูกปืนหนักกว่าปืนไฟ ทหารเกณฑ์สามารถฝึกให้ใช้ปืนคาบศิลาได้ในไม่กี่สัปดาห์ เนื่องจากปืนคาบศิลายุคแรก ๆ ขาดความแม่นยำ การฝึกทักษะยิงปืนจึงมีประโยชน์อยู่บ้าง การใช้ปืนคาบศิลาไม่ต้องอาศัยพลกำลังกายมหาศาลของพลหอกหรือทักษะที่ค่อนข้างหาได้ยากของพลขี่ม้า ไม่เหมือนกับปืนไฟที่มีมาก่อน ปืนคาบศิลาสามารถชนะได้แม้กองกำลังทหารม้าสวมเกราะหนักส่วนมาก

เนื่องจากอาวุธปืนต้องการการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็ใช้ได้ ชาวนาที่มีปืนจึงทำลายระเบียบและความเคารพที่ทหารม้าในยุโรปและชาวตะวันออกธำรงไว้ แม้เกราะแผ่นที่ตีขึ้นอย่างดีจะยังป้องกันอาวุธปืนทะลุทะลวงผ่านได้อยู่ แต่จนถึง ค.ศ. 1690 ชุดเกราะก็ไม่สามารถเทียบได้กับอาวุธปืนจำนวนมากในการเข้าตีด้านหน้าและจึงเลิกใช้ไป แม้แต่ในหมู่ทหารม้า จนสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทหารในหน่วยทหารราบและทหารม้าส่วนมากล้วนเลือกไม่สวมเกราะทั้งตัว ซึ่งจะทำให้มีความคล่องตัวสูงกว่า มากกว่าสวมเกราะแผ่น ซึ่งจะทำให้มีการป้องกันเล็กน้อย แต่มีความคล่องตัวด้อยลงกว่ามาก

ปืนคาบศิลา ซึ่งมีใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1410 เป็นหนึ่งในอาวุธปืนมือถือแรก ๆ ที่ค่อนข้างเบา (แต่ยังต้องใช้แท่นเพื่อให้สมดุล) และคนหนึ่งคนสามารถใช้ปืนได้หนึ่งกระบอก หนึ่งในอาวุธเหล่านี้มีบันทึกครั้งแรกว่าใช้ในยุทธการที่อาแซ็งกูร์ใน ค.ศ. 1415 แม้ยุทธการดังกล่าวจะยังมีความเป็นสมัยกลางอยู่มาก คำว่า ปืนคาบศิลา เดิมใช้กับแบบที่หนักกว่าของปืนไฟ ซึ่งยิงกระสุนที่สามารถเจาะทะลุเกราะแผ่นได้ แต่ต้องยิงระยะประชิดเท่านั้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อาวุธปืนยังต้องตั้งอยู่บนแท่งค้ำยันเพื่อให้อยู่นิ่ง คาลิเวอร์ (caliver) เป็นแบบที่เบากว่าของปืนไฟ จนถึง ค.ศ. 1600 กองทัพเลิกใช้อาวุธปืนแบบนี้และหันไปใช้ปืนคาบศิลาแบบนกปืนชนวนกระสุนด้วยไม้ขีดไฟ (matchlock musket) ซึ่งใหม่และเบากว่า ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1690 ปืนคาบศิลาใช้แบบนกปืนชนวนกระสุนด้วยไม้ขีดไฟ

อย่างไรก็ดี แบบนกปืนชนวนกระสุนด้วยไม้ขีดไฟถูกแทนที่ด้วยปืนคาบศิลาแบบชนวนกระสุนด้วยหินเหล็กไฟในคริสต์ทศวรรษ 1690 ซึ่งมีโอกาสด้านน้อยกว่าและมีอัตราบรรจุกระสุนใหม่เร็วกว่า จนถึงเวลานี้ มีเพียงหน่วยทหารม้าเบาสำรวจที่ยังสวมแผ่นเกราะหน้าและหลังเพื่อป้องกันตนเองจากพลปืนคาบศิลาที่อยู่ไกลหรือไร้ระเบียบ

ขณะที่ทหารที่ถืออาวุธปืนสามารถสร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่ทหารม้าได้จากระยะปานกลาง ในระยะประชิด ทหารม้าสามารถสังหารทหารราบที่ถือปืนคาบศิลาได้หากสามารถทลายรูปขบวนของทหารราบและอยู่ใกล้พอที่จะประจัญบานอย่างชุลมุน เป็นเวลาหลายปีที่รูปขบวนทหารราบมีกำลังพลผสมกันซึ่งถือทั้งอาวุธปืนซึ่งให้อำนาจโจมตีและหอกเพื่อให้การป้องกันพลปืนไฟหรือพลปืนคาบศิลาจากการบุกตีของทหารม้า การคิดค้นดาบปลายปืนทำให้มีการรวมอาวุธสองอย่างนี้เป็นหนึ่งในคริสต์ทศวรรษ 1690 ซึ่งเปลี่ยนทหารราบให้เป็นเหล่าที่สำคัญที่สุดในการทหารสมัยใหม่ตอนต้น ซึ่งใช้ปืนคาบศิลาแบบนกปืนชนวนกระสุนด้วยหินเหล็กไฟแล้วติดดาบปลายปืนอย่างเดียวกันทั้งหมด

สมัยนี้มีขนาดและขอบเขตของการสงครามเพิ่มขึ้นมาก จำนวนพลรบที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และขยายอย่างมากหลังคริสต์ทศวรรษ 1660 ตัวอย่างเช่น พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสทรงเรียกชายได้รวมราว 20,000 นายในสงครามกับสเปนในคริสต์ทศวรรษ 1550 แต่ทรงระดมได้ถึง 500,000 นายในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนเมื่อถึง ค.ศ. 1700 ยิ่งไปกว่านั้น สงครามยังทวีความนองเลือดในสมัยนี้ บางส่วนเป็นเพราะพัฒนาการของเทคโนโลยีอาวุธและเทคนิคการใช้อาวุธ (ตัวอย่างเช่น การระดมยิงของทหารราบ)

อย่างไรก็ดี เหตุผลหลัก คือ ปัจจุบันกองทัพมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก แต่การสนับสนุนส่งกำลังบำรุงแก่กองทัพยังไม่เพียงพอ ซึ่งหมายความว่า กองทัพมักทำลายพื้นที่พลเรือนเพื่อพยายามหาเลี้ยงตนเอง ทำให้เกิดทุพภิกขภัยและการย้ายประชากร ด้วยเหตุนี้ สงครามในสมัยนี้จึงเป็นหนึ่งในบรรดาสงครามที่นองเลือดที่สุดก่อนสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น สงครามสามสิบปีและสงครามสามราชอาณาจักรเป็นความขัดแย้งที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์เยอรมนีและอังกฤษตามลำดับก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อีกปัจจัยที่เสริมการนองเลือดในสงคราม คือ การขาดชุดกฏที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึกและผู้ที่มิใช่พลรบ เชลยมักถูกเรียกค่าไถ่เป็นเงินหรือเชลยอื่น บ้างก็ถูกสังหารทิ้ง

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การสงครามมีผลกระทบเพิ่มขึ้น คือ ความไม่เด็ดขาด กองทัพเคลื่อนที่ได้ช้าในยุคก่อนที่จะมีถนนและคลองดี ๆ ยุทธการเกิดขึ้นค่อนข้างน้อย เพราะกองทัพอาจดำเนินกลยุทธ์ได้เป็นเดือน ๆ โดยไม่มีการขัดกันโดยตรง ยิ่งไปกว่านั้น ยุทธการยังมักถูกคั่นจากการเพิ่มจำนวนของป้อมสนามขั้นสูงและมีปลายแหลม เพื่อควบคุมพื้นที่ กองทัพจำต้องยึดเมืองที่มีป้อมป้องกันอยู่ ไม่ว่าจะเอาชนะข้าศึกได้ในสนามรบหรือไม่ก็ตาม ผลคือ ยุทธการที่พบบ่อยที่สุดในสมัยนี้ คือ การล้อม ซึ่งกินเวลามากและมีราคาแพง การโจมตีเมืองที่มีป้อมอาจลงเอยด้วยความสูญเสียใหญ่หลวงและนครซึ่งไม่ยอมจำนนก่อนการโจมตีมักถูกปล้นอย่างโหดร้าย และทั้งฝ่ายที่รักษาเมืองและล้อมมักสูญเสียอย่างหนักจากโรคระบาด

สภาพของความขัดแย้งที่ไม่เด็ดขาด หมายความว่าสงครามมักยาวและเกิดในท้องถิ่น ความขัดแย้งยืดยาวเป็นทศวรรษและหลายรัฐใช้เวลายามสงครามมากกว่าในยามสงบ ความพยายามของสเปนในการพิชิตเนเธอร์แลนด์คืนหลังการก่อการกำเริบดัตช์ติดขัดด้วยการสงครามล้อมไร้ที่สิ้นสุด ค่าใช้จ่ายทำให้พระมหากษัตริย์สเปนต้องทรงประกาศล้มละลายหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1577

การสงครามที่เปลี่ยนไปทำให้กำลังทหารรับจ้างในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสมัยกลางพ้นสมัยไปในที่สุด อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นแบบค่อยเป็นค่อนไป จนถึงสงครามสามสิบปี กำลังพลส่วนมากเป็นทหารรับจ้าง แต่หลังสงคราม รัฐส่วนมากลงทุนในกำลังพลที่มีระเบียบวินัยดีกว่าและบันดาลใจด้วยอุดมการณ์มากกว่า ทหารรับจ้างมีความสำคัญเป็นผู้ฝึกสอนและผู้บริหารอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ไม่นานรัฐก็ทำงานเหล่านี้เอง ขนาดกองทัพที่มหาศาลเหล่านี้ต้องอาศัยกำลังผู้ปกครองสนับสนุนขนาดใหญ่ รัฐรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางใหม่ถูกบังคับให้ตั้งระบบข้าราชการประจำที่มีการจัดระเบียบขนาดใหญ่เพื่อจัดการกองทัพเหล่านี้ ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนแย้งว่า นี่เป็นพื้นฐานของรัฐระบบข้าราชการประจำสมัยใหม่

การเพิ่มภาษีและการทำหน้าที่ของรัฐบาลที่รวมอำนาจที่เพิ่มขึ้นรวมกันทำให้เกิดการก่อการกำเริบทั่วยุโรป เช่น สงครามกลางเมืองอังกฤษ ในหลายประเทศ ผลของความขัดแย้งนี้คือความรุ่งเรืองของราชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิ์ มีเพียงในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์เท่านั้นที่การปกครองแบบมีผู้แทนวิวัฒนาขึ้น ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 รัฐเรียนรู้ที่จะจัดหาเงินทุนสงครามผ่านการกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำระยะยาวผ่านสถาบันธนาคารชาติ เช่น ธนาคารอังกฤษ รัฐแรกที่ดำเนินกระบวนการนี้ได้อย่างเชี่ยวชาญ คือ สาธารณรัฐดัตช์

การเปลี่ยนโฉมกองทัพยุโรปมีผลกระทบทางสังคมใหญ่หลวง เจ. เอฟ. ซี. ฟุลเลอร์กล่าวประโยคที่มีชื่อเสียงว่า "ปืนคาบศิลาสร้างพลราบ และพลราบสร้างประชาธิปไตย" ข้อโต้แย้งนี้กล่าวว่า การป้องกันรัฐขณะนี้ตกอยู่กับสามัญชน มิใช่อภิชน การก่อการกำเริบของชนชั้นล่างซึ่งมักถูกกำราบได้เป็นประจำในสมัยกลาง ขณะนี้อาจคุกคามอำนาจของรัฐได้อย่างไม่น่าเชื่อ อย่างไรก็ดี อภิชนยังผูกขาดนายทหารอยู่ในแทบทุกกองทัพในสมัยใหม่ตอนต้น รวมทั้งกองบัญชาการสูงสุด

ยิ่งไปกว่านั้น การก่อการกำเริบโดยประชาชนแทบล้มเหลวทุกครั้งหากไม่ได้รับการสนับสนุนและอุปถัมภ์จากชนชั้นขุนนางหรือผู้ดี แต่กองทัพใหม่ ด้วยความที่มีรายจ่ายสูง ยังต้องอาศัยการเก็บภาษีและชนชั้นค้าขายซึ่งเริ่มต้องการบทบาทเพิ่มขึ้นในสังคม อำนาจพาณิชย์ที่ยิ่งใหญ่ของดัตช์และอังกฤษเทียบได้กับความเข้มแข็งทางทหารของรัฐที่ใหญ่กว่ามาก ด้วยการฝึกคนให้ใช้ปืนคาบศิลานั้นง่าย จึงเป็นการง่ายขึ้นที่จะสร้างกองทัพขนาดใหญ่ ความไม่แม่นยำของอาวุธทำให้กลุ่มทหารขนาดใหญ่มีความจำเป็น จึงนำไปสู่การเพิ่มขนาดของกองทัพอย่างรวดเร็ว

เป็นครั้งแรกที่ประชากรกลุ่มใหญ่สามารถเข้าสู่สนามรบ แทนที่จะมีเพียงทหารอาชีพที่มีทักษะสูง มีการถกเถียงว่าการดึงคนจากทั่วประเทศเข้าสู่กำลังทหารที่มีการจัดระเบียบช่วยก่อให้เกิดความสามัคคีของชาติและความรักชาติ และระหว่างสมัยนี้เองที่มีความคิดรัฐชาติสมัยใหม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ความคิดดังกล่าวปรากฏชัดก็เมื่อหลังสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส ในเวลานี้ การเกณฑ์ทหารจะกลายเป็นกระบวนทัศน์ของการสงครามสมัยใหม่ ทว่าก่อนหน้านั้น แท้จริงแล้วกองทัพแห่งชาติส่วนมากประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ

ความรุ่งเรืองของดินปืนลดความสำคัญของทหารม้าหนักซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นใหญ่ในสมรภูมิ แต่ทหารม้ายังคงประสิทธิภาพในบทบาทใหม่กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทหารม้าร่วมกับทหารราบเพิ่มความเป็นมืออาชีพมากขึ้นในสมัยนี้ แต่ทหารม้ายังมีเกียรติภูมิทางสังคมและทหารเหนือกว่าทหารราบ มีการริเริ่มใช้ทหารม้าเบาเพื่อการรบปะทะและสำรวจเพราะข้อได้เปรียบด้านความเร็วและความคล่องตัว หน่วยทหารม้าแบบใหม่ที่เริ่มนำมาใช้ในสมัยนี้ ได้แก่ ดรากูน (dragoon) ซึ่งรบได้ทั้งเดินเท้าและขี่ม้า หรือทหารราบขี่ม้า (mounted infantry)

ดรากูนถูกตั้งใจให้เดินทางบนหลังม้าแต่ต่อสู้แบบเดินเท้าและใช้ปืนเล็กสั้นและปืนพกเป็นอาวุธ แม้แต่ทหารม้าออร์โธด็อกซ์ยังถืออาวุธปืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปืนพกเช่นกัน ซึ่งใช้ในยุทธวิธีชื่อว่า caracole ทหารม้าที่ใช้ดาบบุกตีทหารราบที่ไม่มีระเบียบวินัยยังค่อนข้างเด็ดขาดอยู่ แต่การบุกตีพลปืนคาบศิลาและพลหอกที่มีระเบียบวินัยดีทางด้านหน้าแทบจะไร้ผลโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา หน่วยทหารม้ามีแนวโน้มบุกตีทหารม้าอื่นทางปีกของรูปขบวนทหารราบมากกว่า และพยายามรบอยู่หลังทหารราบข้าศึก เมื่อบรรลุผลตามนี้แล้วและติดตามข้าศึกที่กำลังแตกหนี ทหารม้าหนักก็ยังคงสามารถทำลายกองทัพข้าศึกได้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406