ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การศึกษาของญี่ปุ่น

สังคมญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก เด็กๆจะได้รับการศึกษาใน 3 ทาง ได้แก่ เรียนโรงเรียนรัฐบาลสำหรับการศึกษาภาคบังคับ เรียนโรงเรียนเอกชนสำหรับการศึกษาภาคบังคับ หรือ เรียนโรงเรียนเอกชนที่ไม่ได้ยึดมาตรฐานของกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (MEXT)

แม้ว่าการเรียนในชั้นมัธยมปลาย จะไม่เป็นการศึกษาภาคบังคับ ประชาชนมากกว่า 90% ก็เข้าเรียนในชั้นมัธยมปลาย นักเรียนมากกว่า 2.5 ล้านคนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ในอดีต กระบวนการคัดเลือกเพื่อเรียนในชั้นสูงขึ้น ถูกมองว่า "โหด" หรือ "ราวกับสงคราม" แต่ด้วยจำนวนของเด็กญี่ปุ่นที่มีอัตราการเกิดน้อยลง กระแสนี้ก็เปลี่ยนไปในทางอื่น ปัจจุบันโรงเรียนต่างแข่งขันกันเองเพื่อรับนักเรียน เด็กๆจำนวนมากถูกส่งไปยัง จุกุ (โรงเรียนกวดวิชา) นอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียน

วัฒนธรรมญี่ปุ่นสอนให้เคารพต่อสังคมและมีการสร้างแรงจูงใจให้อยู่รวมเป็นกลุ่มโดยให้รางวัลเป็นกลุ่มมากกว่าจะให้รางวัลเป็นบุคคล การศึกษาของญี่ปุ่นเน้นหนักในเรื่องความขยัน การตำหนิตนเอง และอุปนิสัยการเรียนรู้ที่ดี ชาวญี่ปุ่นถูกปลูกฝังว่าการทำงานหนักและความขยันหมั่นเพียรจะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต โรงเรียนจึงอุทิศให้กับการสอนทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อพัฒนาอุปนิสัยและมีเป้าหมายในการสร้างประชากรที่สามารถอ่านออกเขียนได้ และปรับตัวให้เข้ากับค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมได้

ความสำเร็จทางการศึกษาของญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล ในการสอบวัดความรู้ด้านคณิตศาสตร์นานาชาติ เด็กญี่ปุ่นถูกจัดให้อยู่ในอันดับต้นๆมาโดยตลอด ระบบนี้เป็นผลมาจากการสมัครเข้าเรียนสูง ตลอดจนอัตราการรับ ระบบการสอบเข้า (การสอบเอนทรานซ์) โดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัยมีอิทธิพลศึกษาทั้งระบบเป็นอย่างมาก รัฐบาลไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนทางการศึกษาแต่เพียงผู้เดียว โรงเรียนเอกชนก็มีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษา รวมถึงโรงเรียนที่อยู่นอกระบบเช่นวิทยาลัยของเอกชน ก็มีบทบาทสำคัญในการศึกษาและเป็นส่วนมากในการศึกษา

เด็กๆส่วนใหญ่จะเข้าโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล แม้ว่าจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาก็ตาม ระบบการศึกษาเป็นภาคบังคับ เลือกโรงเรียนได้อิสระและให้การศึกษาที่พอเหมาะแก่เด็กๆทุกคนตั้งแต่เกรด 1 (เทียบเท่า ป.1) จนถึง เกรด 9 (เทียบเท่า ม.3) ส่วนเกรด 10 ถึงเกรด 12 (ม.4 - 6) นั้นไม่บังคับ แต่ 94% ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมต้น เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปลาย ประมาณ 1 ใน 3 ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปลายเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลย 4 ปี junior colleges 2 ปี หรือเรียนต่อที่สถาบันอื่นๆ

ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก และเป็นสังคมที่มีระเบียบวินัย การศึกษาเป็นสิ่งที่น่าเคารพยกย่อง และความสำเร็จเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการประสบความสำเร็จในงานและในสังคม ทุกวันนี้ มุมมองแตกต่างออกไป โรงเรียนต่างแข่งขันกันเพื่อรับนักเรียน การสอบเอนทรานซ์กลายเป็นสิ่งที่ stolid in an attempt to maintain operations ทุกวันนี้ โรงเรียนรับนักเรียนในอัตราต่ำกว่าที่รับได้มาก ถือเป็นปัญหาด้านงบประมาณขั้นรุนแรง โรงเรียนถูกสร้างเพื่อรับนักเรียน 1,000 คน แต่กลับรับนักเรียนเพียง 1 ใน 3 ของจำนวนที่รับได้ แต่นี้ไม่ได้ทำให้จำนวนนักเรียนในแต่ละห้องน้อยลง ห้องเรียนส่วนใหญ่มีนักเรียนอยู่ระหว่าง 35 - 45 คน

ปีการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน และสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป การเรียนจะแบ่งเป็น 3 เทอม โดยมีช่วงปิดเทอม ในสมัยก่อน เด็กญี่ปุ่นจะต้องเรียนที่โรงเรียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์เต็มวัน และเรียนวันเสาร์อีกครึ่งวัน สิ่งเหล่านี้หมดไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 อย่างไรก็ตาม ครูหลายคนยังสอนในช่วงสุดสัปดาห์รวมถึงวันหยุดภาคฤดูร้อนซึ่งมักจะเป็นเดือนสิงหาคม กฎหมายกำหนดให้หนึ่งปีการศึกษามีการเรียนอย่างน้อย 210 วัน แต่โรงเรียนส่วนมากมักจะเพิ่มอีก 30 วันสำหรับเทศกาลของโรงเรียน การแข่งขันกีฬา และพิธีที่ไม่เกี่ยวกับการเรียน โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่มและสปิริตของโรงเรียน จำนวนวันที่มีการเรียนการสอนจึงเหลืออยู่ประมาณ 195 วัน

ชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อในเรื่องของการศึกษาว่า เด็กๆทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ ความพยายาม ความพากเพียร และการมีระเบียบวินัยต่อตนเองต่างหาก ที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จทางการศึกษา ไม่ใช่ความสามารถทางการเรียน การศึกษาและพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถฝึกอบรมได้ ดังนั้น นักเรียนในชั้นประถมและชั้นมัธยมต้นจึงไม่ได้ถูกแบ่งกลุ่มหรือสอนตามความสามารถของแต่ละคน การสอนจะไม่ถูกปรับให้เหมาะสมกับความแตกต่างของบุคคล

หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติกำหนดให้นักเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พอเหมาะ และการเรียนภาคบังคับถือเป็นการปฏิบัติต่อนักเรียนด้วยความเสมอภาค มีการกระจายงบประมาณไปตามโรงเรียนต่างๆอย่างเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม การที่หลักสูตรกำหนดเช่นนี้ส่งผลให้ขาดความยืดหยุ่น รวมถึงความสอดคล้องกันของพฤติกรรม ความพยายามเพียงน้อยนิดที่จะกระตุ้นนักเรียนให้มีความสนใจพิเศษ การปฏิรูปการศึกษาในปลายทศวรรษที่ 198 มีเป้าหมายเพื่อเน้นในเรื่องความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์ และการเพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่กระนั้นความพยายามก็บังเกิดผลเพียงน้อยนิด การคิดเชิงวิพากษ์ไม่ถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในระบบการศึกษาญี่ปุ่น นักเรียนจะถูกสอนให้จำเนื้อหาที่พวกเขาต้องใช้สอบ ผลการเรียนที่สูงจึงไม่ได้ชี้วัดหรือสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน

ปัญหาที่มีมาโดยตลอดคือ ความคิดเกี่ยวกับการ"กด"นักเรียนที่ทำตัวโดดเด่นในห้องเรียน เนื่องจากนักเรียนจะถูกจำกัดให้ทำเกรดในแต่ละวิชา จึงไม่มีความต้องการรับนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศหรือนักเรียนที่ขาดความสามารถในการเรียน เช่น นักเรียนที่เกิดในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก ก็ยังต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับชั้นที่เขาเรียน เช่นเดียวกับนักเรียนชั้นมัธยม 3 ที่ยังไม่ได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์ปีแรก เขาจะต้องเข้าเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับที่เกินกว่าความสามารถของเขา นักเรียนที่ขาดความสามารถในการเรียนจะถูกจัดให้เรียนในชั้นเรียนปกติ ซึ่งครูไม่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษสำหรับการสอนพวกเขา ไม่มีวิธีแก้ไขหรือมีชั้นเรียนพิเศษสำหรับความต้องการของนักเรียนแต่ละคน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้ปกครองบางคนปฏิเสธที่จะยอมรับว่าบุตรหลานของตนมีความต้องการพิเศษ เทียบกับในสหรัฐอเมริกา หลายเขตในญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีการเรียนการสอนพิเศษสำหรับนักเรียนที่ขาดความสามารถในการเรียนรู้ขั้นรุนแรง ในกรณีนี้ นักเรียนแต่ละคนจะมีครูหรือผู้ดูแลคอยช่วยเหลือพวกเขา ขณะที่โรงเรียนเหล่านี้มีบริการพิเศษสำหรับคนกลุ่มน้อย adult service กำลังจะหายไปอย่างช้าๆเพราะการตัดงบประมาณ

มีข้อยกเว้นสำหรับการศึกษาภาคบังคับ นักเรียนที่พ่อแม่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น เช่น ลูกของผู้ใช้แรงงานที่อพยพเข้ามา ก็สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนได้ แม้จะไม่ได้บังคับก็ตาม ซึ่งในกรณีนี้ ความรับผิดชอบสำหรับการสอนภาษาให้กับนักเรียนกลุ่มนี้จะตกอยู่กับโรงเรียนซึ่งมักจะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนตามภาษาของนักเรียนได้ ยิ่งกว่านั้น การสอนจะไม่ถูกปรับให้เหมาะสมกับความแตกต่างของแต่ละคน ลูกของผู้ใช้แรงงานที่ไม่สามารถใช้ภาษาได้ดีแทบจะไม่ประสบความสำเร็จในโรงเรียนของญี่ปุ่น แม้แต่ผู้ที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นได้ พวกเขาก็ต้องเจอกับการแบ่งแยก ด้วยเหตุนี้ นักเรียนที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นมักจะมีชื่อภาษาญี่ปุ่น และบางครั้งก็ถูกบีบบังคับให้ซ่อนความเป็นตัวของตัวเองไม่ให้ผู้อื่นเห็นแม้แต่เพื่อนสนิทของเขาเอง อย่างไรก็ตาม มีความเข้าใจผิดว่านักเรียนที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นจะไม่สามารถเข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์ หรือโปรแกรมแลกเปลี่ยนต่างประเทศได้ แม้ว่านักเรียนที่เติบโตในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลักมักจะถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมประกวดสุนทรพจน์ แต่เชื้อชาติก็ไม่ได้เป็นปัจจัย ตัวอย่างเช่น ในโตเกียว นักเรียนชาวจีนและชาวเกาหลีก็เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์ และโปรแกรมแลกเปลี่ยนต่างประเทศ

นักเรียนที่เรียนในการศึกษาภาคบังคับจะได้รับตำราเรียนฟรี คณะบริหารของโรงเรียนเป็นผู้เลือกตำราเรียนทุกๆสามปี โดยเลือกจากรายชื่อหนังสือที่กระทรวงการศึกษาได้รับรองแล้วหรือหนังสือที่กระทรวงจัดทำขึ้นเอง กระทรวงจะเป็นผู้รับภาระค่าตำราทั้งในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ตำราเรียนมีขนาดเล็ก ใช้ปกอ่อนหุ้ม สามารถพกพาได้โดยง่าย และถือเป็นสมบัติของนักเรียน

โรงเรียนส่วนใหญ่จะมีระบบดูแลด้านสุขภาพ มีสิ่งของด้านการศึกษาและกีฬาอยู่พอประมาณ โรงเรียนประถมส่วนใหญ่มีสนามเด็กเล่นกลางแจ้ง ประมาณร้อยละ 90 มีโรงยิม และ 75% มีสระว่ายน้ำกลางแจ้ง ห้องเรียนส่วนมากยังขาดแคลนคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ การเรียนการสอนและโครงงานของนักเรียนมักไม่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย อินเทอร์เน็ตยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษามากนัก

ตั้งแต่ประถมจนถึงมัธยม นักเรียนจะต้องอยู่ในกลุ่มโฮมรูมของตน หมายความว่า พวกเขาจะต้องทำงานกับนักเรียนที่อยู่ในโฮมรูมเดียวกันตลอดทั้งปี โฮมรูมและหลักสูตรการศึกษาญี่ปุ่นปลูกฝังเรื่องการทำงานเป็นกลุ่มและความภาคภูมิใจในโรงเรียนของตน โรงเรียนที่ญี่ปุ่นมีนักการภารโรงที่ทำงานด้านความสะอาดอยู่น้อยมาก

การศึกษาของญี่ปุ่นถือเป็นความรับผิดชอบระดับชาติ ระดับจังหวัดและระดับเมือง กระทรวงการศึกษาฯ (MEXT) จะมีคณะวิจัยกระบวนการศึกษาคอยให้คำแนะนำและให้แนวทางแก่รัฐบาล ในอดีต "คำแนะนำ"เป็นสิ่งที่ถูกตรวจสอบอย่างรอบคอบ และหลงไปในทางที่ทำให้มีการตัดงบประมาณ (?) อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ได้เพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาลมากขึ้น MEXT จะตรวจสอบเนื้อหาในตำราเรียนให้มีมุมมองที่เป็นกลางและมีข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมแก่การสอนนักเรียน ในอดีต MEXT ได้กำหนดเนื้อหาสูงสุดที่จะใส่ในตำราเรียนได้ แต่ปัจจุบันหลังจากปฏิรูปการศึกษา MEXT ได้กำหนดเนื้อหาขั้นต่ำที่จะต้องใส่ในตำรา โรงเรียนหลายโรงเรียนจึงใช้ตำราเรียนและตำราเสริมที่ไม่ได้รับรองโดย MEXT เพราะว่าเนื้อหาในตำราเรียนนั้นอยู่ในระดับต่ำซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดความเข้าใจในวิชาอย่างลึกซึ้งได้

ครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีสถานะทางสังคมสูง เป็นผลมาจากการที่กฎหมายญี่ปุ่นและประชาชนคาดหวังในหน้าที่ของครู สังคมคาดหวังว่าครูจะช่วยปลูกฝังทัศนคติของสังคมลงในตัวเด็ก เพราะการสอนนั้นรวมถึงการสอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม และการพัฒนาอุปนิสัยของเด็ก

การเรียนคุณธรรมในห้องเรียน การสอนอย่างไม่เป็นทางการ และแม้แต่ academic class ถูกมองว่าเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของการสอน ครูจะต้องรับผิดชอบต่อโรงเรียนและนักเรียนแม้จะอยู่นอกห้องเรียนหรือนอกชั่วโมงเรียน ครูประจำโฮมรูมจะไปเยี่ยมนักเรียนที่ไม่ยอมไปโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนไปโรงเรียน ครูที่ปล่อยให้นักเรียนกระทำผิดกฎหมายนอกโรงเรียน จะถูกเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบและแสดงการขอโทษ เช่นเดียวกับนายจ้างที่ปล่อยให้ลูกจ้างทำผิดกฎหมาย

ครูมีรายได้ดี และมีการปรับเงินเดือนของครูอยู่เป็นระยะๆ เงินเดือนเริ่มต้นของครูเป็นที่น่าพึงพอใจเมื่อเทียบกับอาชีพทางวิชาการอื่นๆและในบางครั้งก็สูงกว่า นอกจากเงินเดือนแล้ว ครูยังมีสิทธิ์รับเงินพิเศษต่างๆและโบนัส (จ่ายเป็น 3 งวด) ซึ่งมีจำนวนประมาณห้าเท่าของเงินเดือน ครูจะได้รับการดูแลสุขภาพ และสวัสดิการหลังเกษียณ

ด้วยการเงินที่มั่นคง สถานะทางสังคมที่สูง จำนวนของผู้ที่อยากเป็นครูจึงล้นเกินจำนวนตำแหน่งที่รับได้ โดยมีผู้สมัครห้าถึงหกคนต่อทุกๆตำแหน่ง คณะกรรมการประจำจังหวัดเป็นผู้เลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติดีที่สุดจากผู้สมัครจำนวนมหาศาล


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301