การรื้อถอนนิวเคลียร์ (อังกฤษ: Nuclear decommissioning) เป็นกระบวนการที่โรงไฟฟ้??าพลังงานนิวเคลียร์จะถูกแยกส่วนจนถึงจุดที่ว่ามันจะไม่จำเป็นต้องมีมาตรการในการป้องกันการแผ่รังสีอีกต่อไป การปรากฏตัวของวัสดุกัมมันตรังสีจำเป็นต้องมีกระบวนการการป้องกันหลายอย่าง เนื่องจากมันเป็นอันตรายต่อผู้ครอบครอง เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมีราคาแพงและใช้เวลาดำเนินการมาก
การรื้อถอนเป็นกระบวนการทางการบริหารและกระบวนการทางเทคนิค ซึ่งจะรวมถึงการทำความสะอาดวัสดุกัมมันตรังสีและการรื้อถอนโรงงานอย่างต่อเนื่อง เมื่อสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นอาคารสถานที่ทั้งหมดถูกรื้อถอนไปจนหมด อันตรายจากรังสีไม่ควรจะยังมีอยู่ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนจะมีการกระจายตลอดช่วงชีวิตของสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นและถูกบรรจุไว้ในงบประมาณเพื่อการรื้อถอน หลังจากที่สิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการรื้อถอนอย่างสมบูรณ์แล้ว มันจะหลุดออกจากการควบคุมของผู้กำกับดูแลกฎระเบียบ และผู้รับใบอนุญาตของโรงงานก็จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยเกี่ยวกับนิวเคลียร์ของตนอีกต่อไป การรื้อถอนจะต้องดำเนินการตลอดทุกขั้นตอนจนถึงจุดที่เป็นสถานะ "greenfield"
หลากหลายของสิ่งอำนวยความสะดวกนิวเคลียร์ได้รับการปลดประจำการไปแล้วนับถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงโรงไฟฟ้??าพลังงานนิวเคลียร์ (NPP) เครื่องปฏิกรณ์เพื่อการวิจัย โรงงานผลิตไอโซโทป เครื่องเร่งอนุภาค และเหมืองแร่ยูเรเนียม จำนวนโรงไฟฟ้??าที่ถูกปลดประจำการยังมีน้อย หลายบริษัทมีความเชี่ยวชาญในการรื้อถอนนิวเคลียร์ การรื้อถอนได้กลายเป็นธุรกิจที่ทำกำไร ล่าสุด หลายบริษัทรับเหมาก่อสร้างและการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างทั่วไปในสหราชอาณาจักรก็ได้เริ่มการพัฒนาบริการรื้อถอนงานเกี่ยวกับนิวเคลียร์อีกด้วย ในปัจจุบัน'หน่วยงานรื้อถอนนิวเคลียร์'ของสหราชอาณาจักรได้ประมาณการว่าจะมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อย ? 1 แสนล้าน ในการรื้อถอนสถานที่ติดตั้งนิวเคลียร์ที่มีอยู่ 17 แห่งในสหราชอาณาจักร เนื่องจากกัมมันตภาพรังสีมีอยู่ในโครงสร้างเครื่องปฏิกรณ์ การรื้อถอนจะต้องทำทีละขั้นตอน มีหลายแผนของ'หน่วยงานรื้อถอนนิวเคลียร์'เพื่อรื้อถอนเฉพาะเครื่องปฏิกรณ์ที่ต้องใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยถึง 50 ปี กรอบเวลาที่ยาวนานทำให้ประมาณการของค่าใช้จ่ายที่น่าเชื่อถือทำได้ยาก งบประมาณเกินเป็นเรื่องธรรมดาแม้ว่าโครงการรื้อถอนจะทำได้เร็วก็ตาม
โรงไฟฟ้??านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ที่กำลังดำเนินงานในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในขณะนี้ได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานประมาณ 30-40 ปี และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการเป็นเวลา 40 ปีโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานสหรัฐ อายุเฉลี่ยของเครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้จะอยู่ที่ 32 ปี หลายเครื่องกำลังจะมาถึงจุดสิ้นสุดของระยะเวลาการรับใบอนุญาตของพวกมัน หากใบอนุญาตของพวกมันไม่ได้รับการต่ออายุ โรงงานจะต้องเข้าสู่กระบวนการชำระล้างและรื้อถอน
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลายเครื่องที่ถูกแยกชิ้นส่วนในทวีปอเมริกาเหนือ ประเภท กำลังการผลิต และค่าใช้จ่ายการรื้อถอน ได้แสดงตามตาราง
หลายปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ถูกแยกส่วนในทวีปเอเชีย, ประเภท, กำลังงานและค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนต่อกิโลวัตต์ของกำลังไฟฟ้า (ที่มา: สมาคมนิวเคลียร์โลก)
(อาจเลวร้ายกว่าถ้าอ่างคว่ำลงมา)
(ผู้เชี่ยวชาญหลายคนไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับอันตรายนี้)
หลายเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกแยกส่วนในยุโรปตะวันตก ประเภท กำลังการผลิตและค่าใช้จ่ายการรื้อถอนต่อกิโลวัตต์ของกำลัง ข้อมูลจาก เว็บไซด์สหภาพยุโรปเกี่ยวกับการรื้อถอนนิวเคลียร์ สมาคมนิวเคลียร์โลก (กลุ่มบริษัทก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์) สหราชอาณาจักร
มีเครื่องปฏิกรณ์จำนวนมากที่ถูกแยกส่วนในประเทศที่เคยอยู่ในกลุ่มอดีตสหภาพโซเวียต เช่น เบลารุส รัสเซีย ยูเครน และอื่น ๆ และเครื่องปฏิกรณ์ที่ถูกแยกส่วนในประเทศที่เคยอยู่ในสนธิสัญญาวอร์ซอร์และ/หรือกลุ่มประเทศ Comecon ประเภท กำลังไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายการรื้อถอนต่อกิโลวัตต์ของกำลังไฟฟ้าจากสมาคมนิวเคลียร์โลก และ สำนักงานข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคนิค (อังกฤษ: Office of Scientific and Technical Information (OSTI)) (ของรัสเซียและของสหรัฐ)
การรื้อถอนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับใบอนุญาตที่เหมาะสมจากหน่วยงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการออกใบอนุญาต เอกสารต่าง ๆ รายงานและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญ เช่น รายงานความปลอดภัย เอกสารทางด้านเทคนิคและ 'การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม' (อังกฤษ: environmental impact study (EIS))
ในสหภาพยุโรป เอกสารเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำหรับ 'การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม' (อังกฤษ: environmental impact assessment (EIA)) เพื่อให้เป็นไปตาม Council Directive ที่ 85/337/EEC เงื่อนไขการให้ใบอนุญาตดังกล่าวเป็นความเห็นโดย'คณะกรรมาธิการยุโรป'ตามมาตรา 37 ของ'สนธิสัญญา Euratom' มาตรา 37 บังคับทุกรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปในการสื่อสารกับคณะกรรมการสำหรับข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสารกัมมันตรังสี ข้อมูลนี้จะต้องเปิดเผยว่าการแผ่รังสีจะส่งผลกระทบกับการรื้อถอนหรือไม่ และถ้ามี ผลกระทบเป็นรังสีอะไร แผนการกำจัดรังสีและอุบัติเหตุที่เกิดจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอะไรบ้าง เช่นน้ำ ผิวดินหรือในอากาศ บนพื้นฐานของข้อมูลทั่วไปเหล่านี้ คณะกรรมการจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่จะประเมินความเสี่ยงของกลุ่มอ้างอิงของประชากรในประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด
ในสหรัฐอเมริกา หลายสาธารณูปโภคในขณะนี้ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่กว่า $ 325 ล้านต่อเครื่องปฏิกรณ์ (มูลค่าในปี 1998)
ในฝรั่งเศส การรื้อถอนโรงไฟฟ้??านิวเคลียร์ Brennilis ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้??าค่อนข้างเล็กขนาด 70 เมกะวัตต์ได้เสียค่าใช้จ่ายไปแล้ว € 480 ล้าน (20 เท่าของประมาณการค่าใช้จ่าย) และยังคงค้างอยู่ 20 ปีหลังจากนั้น แม้จะมีการลงทุนขนาดใหญ่ในการรักษาความมั่นคงของการแยกส่วน ธาตุกัมมันตรังสีเช่นพลูโตเนียม ซีเซียม-137 และโคบอลต์-60 ได้รั่วไหลออกไปในทะเลสาบโดยรอบ.
ในสหราชอาณาจักร การรื้อถอนเครื่องปฏิกรณ์ระบายความร้อนด้วยก๊าซขั้นสูง Windscale (WAGR) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้??าต้นแบบขนาด 32 เมกะวัตต์เสียค่าใช้จ่าย € 117 ล้าน
ในยุโรป มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับเงินทุนที่จำเป็นสำหรับการรื้อถอนขั้นสุดท้าย ในหลายประเทศ มีทั้งแบบที่เงินทุนไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมการรื้อถอนทั้งหมดและแบบที่เงินทุนการรื้อถอนถูกนำไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ทำให้การรื้อถอนอยู่ในความเสี่ยงและบิดเบือนการแข่งขันกับกลุ่มอื่นที่ไม่มีเงินทุนดังกล่าวเลย
ขณะนี้คณะกรรมาธิการยุโรปกำลังมองเข้าไปในปัญหานี้ คาดว่าระหว่างสองทศวรรษข้างหน้า การแยกส่วน 150 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในยุโรปจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ € 150 พันล้าน โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย € 1 พันล้านต่อเครื่องปฏิกรณ์
ความกังวลที่คล้ายกันก็เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่คณะกรรมาธิการกำกับกิจการพลังงานสหรัฐได้จัดตั้งกองทุนที่ชัดเจนเพื่อรับประกันการขาดแคลนของค่าใช้จ่ายการรื้อถอนและขอให้ 18 โรงไฟฟ้??ายกปัญหานี้ขึ้นมา
มีหลายองค์กรที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และประสบการณ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนนิวเคลียร์ รวมถึง'สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ' 'องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์'และ'หน่วยงานพลังงานปรมาณูของประชาคมยุโรป' นอกจากนี้ ระบบออนไลน์ที่เรียกว่า'เครื่องมือการจัดการข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการปิดการทำงานและการรื้อถอน'ได้รับการพัฒนาภายใต้กรมพลังงานสหรัฐอเมริกาและได้นำไปใช้กับชุมชนระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความคิดและข้อมูล เป้าหมายของความร่วมมือระหว่างประเทศในการรื้อถอนนิวเคลียร์ก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและปรับปรุงความปลอดภัยของคนงาน
เรือรบจำนวนมากและเรือพลเรือนจำนวนเล็กน้อยมีการใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการขับเคลื่อน เรือรบของอดีตสหภาพโซเวียตและของสหรัฐได้ถูกปลดประจำการและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของพวกมันถูกถอดออกหรือถูกปล่อยให้จมไปกับเรือ เรือดำน้ำและเรือทั่วไปของรัสเซียและสหรัฐยังคงทำการแยกส่วนอยู่ โรงไฟฟ้??าในทะเลโดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กกว่าสถานีผลิตไฟฟ้าบนบก