คำยืม หมายถึงคำที่ยืมมาจากภาษาของผู้ให้ และผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาของผู้รับ การยืมนี้ไม่เหมือนความหมายทั่วไปเนื่องจากไม่มีการคืนกลับสู่ภาษาของผู้ให้ แต่เปรียบได้กับ "การยืมความคิด" มาใช้ คำยืมอาจไม่ได้เป็นคำเดียวเสมอไป อาจเป็นกลุ่มคำก็ได้อย่างเช่น d?j? vu ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส จะใช้ควบคู่กันไปเสมือนคำเดียว คำยืมอาจมีการเขียน การอ่าน และความหมาย ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ได้
คำในภาษาของผู้ให้โดยทั่วไปเข้าสู่ภาษาของผู้รับในลักษณะศัพท์เฉพาะทางเนื่องจากการเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติ จุดอ้างอิงโดยเฉพาะอาจเป็นวัฒนธรรมต่างชาตินั้นเองหรือขอบข่ายของกิจกรรมของวัฒนธรรมต่างชาติที่ต้องการครอบงำ วัฒนธรรมต่างชาติซึมซับเข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านทางการเผยแผ่ศาสนา ปรัชญา การค้าขาย ศิลปะ วิทยาการ และการอพยพจากคนต่างถิ่น รวมไปถึงความสัมพันธ์ทางการทูต
ภาษาไทยมีคำยืมภาษาต่างประเทศหลายภาษาอาทิ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน (ภาษาจีนแต้จิ๋วและภาษาจีนฮกเกี้ยน) ภาษามอญ ภาษามลายู ภาษาโปรตุเกส ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ แม้แต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็ยังปรากฏคำยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร เข้ามาปะปน
คำยืมในภาษาของผู้รับมีความแตกต่างในสามประเด็นจากภาษาของผู้ให้ ได้แก่การเขียน การอ่าน และความหมาย
ในแง่ของการเขียน เห็นได้ชัดจากภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ชุดอักษรและอักขรวิธีไม่เหมือนกัน เช่น ภาษาอังกฤษใช้อักษรละติน แต่ภาษาไทยใช้อักษรไทย และบางครั้งก็เขียนแผลงไปจากรูปแบบที่ควรจะเป็น อาจจะด้วยหลักการหรือความนิยมก็ตาม เช่น คำบาลีปริวรรตว่า รฏฺ อฏฺ วุฑฺฒิ ในขณะที่คำไทยเขียนว่า รัฐ อัฐิ วุฒิ เป็นต้น อีกตัวอย่างหนึ่ง คำอังกฤษว่า encyclopedia ยืมมาจากคำละติน encyclopaedia ซึ่งก็ยืมมาจากคำกรีก enk?klios paide?a อีกชั้นหนึ่ง
ในแง่ของการอ่าน นอกจากชุดอักษรที่ไม่เหมือนกันดังที่กล่าวแล้ว เสียงอ่านของตัวอักษรแต่ละตัวก็มีฐานกรณ์ต่างกัน และรูปอักษรแทนเสียงก็มีไม่เพียงพอถ่ายทอดให้ออกมาได้ครบถ้วน เสียงอ่านจึงแปรเปลี่ยนไปตามภาษาของผู้รับ ตัวอย่าง คำอังกฤษ volleyball ในขณะที่คำไทยเขียนว่า วอลเลย์บอล คำญี่ปุ่นเขียนว่า ?????? (บะเรโบรุ) จะเห็นว่าเสียง v ของภาษาอังกฤษไม่มีในภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทยจึงใช้ ว ซึ่งเป็นเสียงที่ใกล้เคียงที่สุด และภาษาญี่ปุ่นนิยมใช้คะนะกลุ่ม "บ" มากกว่า ถึงแม้ว่าจะสามารถใช้ ?? แทนเสียง vo ได้
ในแง่ของความหมาย คำที่ยืมมาใช้อาจมีความหมายต่างไปจากเดิม หรือแม้แต่คำหลายคำที่มีรากศัพท์เดียวกัน ความหมายก็อาจต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น คำบาลีและคำสันสกฤตว่า วร (วะระ) หมายถึง ดียิ่ง ประเสริฐ ในขณะที่คำไทยใช้ว่า วร (วอระ, วะระ) ตามความหมายเดิม, พร (พอน) หมายถึง คำแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์, พระ หมายถึง คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ หรือใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง อีกตัวอย่างหนึ่ง คำเขมรว่า ????? (ตฺรัวต) แปลว่า ควบคุม ดูแล ปกครอง ในขณะที่คำไทยใช้ว่า ตรวจ หมายถึง พิจารณาดูความเรียบร้อย พิจารณาว่าถูกหรือผิด, ตำรวจ หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ตรวจตราและรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เป็นต้น ความหมายที่เปลี่ยนไปนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษา
การยืมคำกลับ (reborrowing) หมายถึง การถ่ายทอดคำไปยังภาษาของผู้รับ แล้วกลับมายังภาษาของผู้ให้ในรูปแบบที่ต่างออกไป ตัวอย่างที่เห็นได้เช่น เดิมภาษาอังกฤษมีคำ animation แปลว่าภาพเคลื่อนไหว ต่อมาภาษาญี่ปุ่นยืมไปใช้เป็น ??????? (อะนิเมะชง) แล้วถูกย่อเป็น ??? (อะนิเมะ) จากนั้นภาษาอังกฤษก็ยืมกลับไปเป็นคำ anime ซึ่งหมายถึงการ์ตูนในแบบญี่ปุ่น เป็นต้น การยืมคำกลับอาจยืมเฉพาะความหมายใหม่ในภาษาของผู้รับ นำมาเพิ่มในภาษาของผู้ให้ก็ได้ โดยที่คำศัพท์ยังเขียนเหมือนเดิม ตัวอย่างเช่น คำภาษาจีน ?? เดิมแปลว่าก้งเหอคือช่วงว่างระหว่างรัชกาลสมัยหนึ่งของประวัติศาสตร์จีน ภาษาญี่ปุ่นยืม ?? ไปใช้โดยให้ความหมายใหม่ว่าสาธารณรัฐ ต่อมาภาษาจีนได้รับเอาความหมายว่าสาธารณรัฐมาเพิ่มในคำ ?? ด้วย