การฟื้นฟูพระราชอำนาจสงครามโบะชิงกบฏซะสึมะสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งการแทรกแทรงสามฝ่ายกบฎนักมวยพันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่นสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นการผนวกดินแดนเกาหลี
วิกฤตการณ์การเงินโชวะกระบวนการสันติภาพแมนจูกัวกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองสนธิสัญญาไตรภาคีกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่นสงครามแปซิฟิกการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโระชิมะและนะงะซะกิสงครามโซเวียต-ญี่ปุ่นการยอมจำนนของญี่ปุ่นการยึดครองญี่ปุ่นโดยฝ่ายสัมพันธมิตร
การยึดครองญี่ปุ่นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ อันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และเครือจักรภพอังกฤษเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งเป็นการยึดครองแผ่นดินญี่ปุ่นโดยชาวต่างชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นกว่า 2,000 ปี การยึดครองดังกล่าวเปลี่ยนแปลงประเทศญี่ปุ่นจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยซึ่งทำให้หวนคิดถึงการเมือง "นิวดีล" (New Deal) ของอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1930 การยึดครองดังกล่าวมีชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการบัญชีดำ (Operation Blacklist) สิ้นสุดลงด้วยสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก ที่ลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1951 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1952 อันเป็นการฟื้นฟูเอกราชของญี่ปุ่น โดยยกเว้นหมู่เกาะรีวกีวก่อน ค.ศ. 1972
ญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นชี้แจงสัมพันธมิตรถึงการยอมรับปฏิญญาพอตสดัม (Potsdam Declaration) ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงประกาศความพ่ายแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขทางวิทยุ การประกาศนั้นเป็นครั้งแรกของสมเด็จพระจักรพรรดิที่ประกาศทางวิทยุและครั้งแรกของประชาชนที่ได้ยินเสียงของพระจักรพรรดิ
วันดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อวันวีเจ (V-J - Victory over Japan) ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสู่การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและการเริ่มต้นของเส้นทางที่ยาวนานในการฟื้นฟูประเทศญี่ปุ่น ในวันวีเจนั้น แฮรี่ ทรูแมน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานัดหมายจอมพลดักลาส แมคอาเธอร์ ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร (Supreme Commander for the Allied Powers (SCAP)) ในการดำเนินการยึดครองญี่ปุ่น ในระหว่างสงครามนั้นชาติมหาอำนาจต่างๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรวางแผนที่จะแบ่งประเทศญี่ปุ่นด้วยตัวพวกเขาเองเพื่อเป้าหมายในการยึดครอง หลังจากได้ยึดครองประเทศเยอรมนีเป็นที่เรียบร้อย อย่างไรก็ตามผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ควบคุมโดยตรงบนเกาะหลักของญี่ปุ่น (ฮอนชู ฮกไกโด ชิโกะกุ และคิวชู) และเกาะโดยรอบ ในขณะที่การเป็นเจ้าของดินแดนต่างๆ ถูกแบ่งให้กับชาติมหาอำนาจของฝ่ายสัมพันธมิตร ดังนี้
การยึดครองดินแดนต่างๆ นั้น ไม่ชัดเจนว่าเหตุใดแผนการจึงได้รับการเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีทั่วไปรวมถึงอำนาจที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยแฮรี่ ทรูแมนไม่เชื่อมั่นสหภาพโซเวียต เมื่อเปรียบเทียบกับแฟรงกลิน โรสเวลต์ สหภาพโซเวียตเคยมีความตั้งใจในการยึดครองเกาะฮกไกโด ซึ่งอาจเป็นฐานของคอมมิวนิสต์ในประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างระหว่างการยึดครองเยอรมันตะวันออกและเกาหลีเหนือของโซเวียต แผนเหล่านี้ถูกทำให้ไม่สำเร็จโดยประธานาธิบดีแฮรี่ ทรูแมน