การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น (อังกฤษ: Wavelength-division multiplexing: WDM) คือการนำสัญญาณที่มีความยาวคลื่นต่างกันมารวมกัน แล้วทำการส่งเข้าไปในเส้นใยแก้วนำแสง เทคโนโลยี WDM เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เพิ่มขนาดแบนด์วิท การส่งข้อมูลบนเครือข่ายใยแก้วนำแสง โดยรวมส่งข้อมูลหลายชุดพร้อมกันโดยใช้วิธีผสมแสงแถบความถี่แคบๆเข้าด้วยกัน เป็นแถบกว้างคล้าย FDM คือ ทำ MUX ข้อมูลโดยใช้สัญญาณพาหะต่างความถี่ต่างกันที่ความถี่นั้นค่าสูงมาก โดยข้อมูลแต่ละชุดใช้แสงที่มีความยาวคลื่นที่แตกต่างกันลงบนสายใยแก้วเส้นเดียว ปัจจุบันเทคโนโลยี WDM ได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญบนอุปกรณ์เครือข่ายใยแก้วนำแสง เพราะด้วยแบนด์วิทที่เพิ่มขึ้นมาก ทำให้สามารถใช้งานแอปพลิเคชันใหม่ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถติดตั้งเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของระบบเดิมที่มีอยู่ก่อนได้ง่าย และด้วยการที่ WDM เป็นเทคโนโลยีในชั้นกายภาพ จึงสามารถใช้เทคโนโลยีนี้กับระบบต่างๆ ได้ เช่นทั้งอุปกรณ์ SONE, ATM switch หรือแม้แต่ IP router ข้อเสียของระบบ WDM คือจะเป็นการยากในการออกแบบระบบสถานีทวนสัญญาณเชิงแสง เนื่องจากค่าความยาวคลื่นที่ต่างกันจะทำให้ ระยะทางของสถานีทวนสัญญาณแต่ละความยาวคลื่นนั้นแตกต่างกัน ดั้งนั้นจึงทำให้กำเนิดระบบ DWMD เกิดขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดทางการออกแบบวงจรของสถานีทวนสัญญาณเชิงแสง จึงได้คิดค้นที่จะทำการทดลองโดยใช้หมู่ธาตุหายากโดยใช้ธาตุ Erbium ที่ทำให้ความยาวคลื่นที่ 1550 nm สามารถขยายสัญญาณในช่วงความถี่ดังกล่าวโดยเหมือนกับว่าเป็นสถานีทวนสัญญาณเชิงแสงนั้นเอง
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น
|