ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก (อังกฤษ: Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหาร ที่จัดขึ้นโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สอง มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนี ซึ่งพ่ายสงคราม

การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ก รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 และเป็นการพิจารณาอันเป็นที่กล่าวขานมากที่สุดด้วย จำเลยในชุดนี้ประกอบด้วยผู้นำคนสำคัญที่สุดยี่สิบสี่คนของนาซีเยอรมนีซึ่งถูกจับมาได้ ทว่า บุคคลสำคัญหลาย ๆ คนที่ชักใยอยู่เบื้องหลังสงคราม เป็นต้นว่า อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ และโจเซฟ เกิบเบลส์ นั้น กระทำอัตวินิบาตกรรมไปก่อนหน้าแล้ว การพิจารณาชุดแรกนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1946

ส่วนชุดที่สอง เป็นการพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่าจำเลยกลุ่มแรก ดำเนินการโดย คณะตุลาการทหารเนือร์นแบร์ก (Nuremberg Military Tribunals) ตามกฎหมายสภาควบคุม ฉบับที่ 10 (Control Council Law No. 10) ในครั้งนี้ มีทั้งการพิจารณาแพทย์ และการพิจารณาตุลาการ

เอกสารของคณะรัฐมนตรีสงครามแห่งอังกฤษ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2006 ระบุว่า ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 คณะรัฐมนตรีได้อภิปรายถึงนโยบายการลงโทษผู้นำนาซีที่ถูกจับตัวได้ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ ได้สนับสนุนให้มีการประหารชีวิตอย่างรวบรัดในบางพฤติการณ์ โดยใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยกบฏ (Act of Attainder) เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคทางกฎหมายบางประการ อย่างไรก็ดี เมื่อได้พูดคุยกับสหรัฐอเมริกาภายหลังสงครามยุติแล้ว สหรัฐอเมริกาได้ปรามเขามิให้ใช้นโยบายนี้ ครั้นปลายปี ค.ศ. 1943 ระหว่างงานสโมสรไตรภาคีเลี้ยงอาคารค่ำในการประชุมเตหะราน โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต เสนอให้ประหารชีวิตนายทหารชาวเยอรมันราว ๆ ห้าหมื่นถึงหนึ่งแสนคน แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวติดตลกว่า เอาแค่สี่หมื่นเก้าก็พอ และเชอร์ชิลติเตียนแนวคิด "ประหารชีวิตเหล่าทหารที่สู้รบเพื่อประเทศของตนให้ตายเสียอย่างเลือดเย็น" นี้ แต่เขายืนยันว่า ผู้กระทำความผิดอาญาสงครามต้องชดใช้ความผิดของตน และตามปฏิญญามอสโกที่เขาเขียนขึ้นเองนั้น เขายังว่า บุคคลเหล่านั้นจักต้องถูกพิจารณา ณ สถานที่ที่ความผิดอาญาได้กระทำลง เชอร์ชิลล์ต่อต้านการประหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองอย่างแข็งขัน ตามรายงานการประชุมระหว่างโรสเวลต์-สตาลินในการประชุมยอลตาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ที่พระราชวังลิวาเดีย ประธานาธิบดีโรสเวลต์ "กล่าวว่า ขอบเขตการทำลายล้างของทหารเยอรมันในไครเมียนั้นสร้างความตระหนกให้แก่เขาเป็นอันมาก และเพราะฉะนั้น เขาจึงกระหายเลือดต่อชาวเยอรมันมากยิ่งกว่าปีก่อน และเขาหวังว่าจอมพลสตาลินจะเสนอแผนการประหารชีวิตนายทหารจำนวนห้าหมื่นคนของกองทัพบกเยอรมันอีกครั้ง"

เฮนรี มอร์เกนเธา จูเนียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแห่งสหรัฐอเมริกา เสนอแผนการให้ทำลายความเป็นนาซีจากเยอรมนีอย่างสมบูรณ์ แผนการดังกล่าวเรียกกันว่า "แผนการมอร์เกนเธา" (Morgenthau Plan) มีเนื้อหาสนับสนุนการบังคับให้เยอรมนีสูญเสียอำนาจทางอุตสาหกรรมของตน ในเบื้องต้น โรสเวลต์สนับสนุนแผนการนี้ และโน้มน้าวให้เชอร์ชิลล์สนับสนุนในรูปแบบที่เบาบางลง แต่แผนการเกิดรั่วไหลไปสู่สาธารณชนเสียก่อน จึงมีการประท้วงเป็นวงกว้าง เมื่อทราบว่าประชาชนไม่เอาด้วยอย่างเด็ดขาด โรสเวลต์จึงละทิ้งแผนการดังกล่าว ความที่แผนการมอร์เกนเธาถึงแก่จุดจบลงเช่นนี้ ก็บังเกิดความจำเป็นจะต้องหาวิธีสำรองสำหรับรับมือกับเหล่าผู้นำนาซีขึ้น เฮนรี แอล. สติมสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามแห่งสหรัฐอเมริกา และกระทรวงของเขา จึงยกร่างแผนการสำหรับ "พิจารณาชาวยุโรปผู้กระทำความผิดอาญาสงคราม" ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เมื่อโรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีคนใหม่ แสดงความเห็นด้วยอย่างแรงกล้าในอันที่จะให้มีกระบวนการยุติธรรม และหลังสหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และฝรั่งเศส ได้เจรจากันหลายยกหลายคราว ก็ได้ข้อสรุปเป็นรายละเอียดของการพิจารณาคดี โดยเริ่มพิจารณาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 ณ เมืองเนือร์นแบร์ก รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี

ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1942 ผู้แทนจากกลุ่มประเทศที่ถูกยึดครองเก้าประเทศเดินทางมาพบกันในกรุงลอนดอน เพื่อร่างมติร่วมกันระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรเกี่ยวกับอาชญากรสงครามชาวเยอรมัน ในการประชุมเตะหราน (ค.ศ. 1943) การประชุมยัลตา และการประชุมพอตสดัม (ค.ศ. 1945) มหาอำนาจทั้งสามระหว่างสงคราม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหราชอาณาจักร ได้ตกลงกันในรูปแบบของการลงโทษสำหรับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งฝรั่งเศสได้รับเกียรติให้มีที่ในศาลชำระความด้วยเช่นกัน

หลักกฎหมายในการพิจารณาคดีถูกจัดตั้งขึ้นโดยธรรมนูญลอนดอน ซึ่งมีผลในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งกำหนดในมีการพิจารณาคดีเพื่อลงโทษอาชญากรสงครามหลักแห่งกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในทวีปยุโรป อาชญากรสงครามราว 200 คนจะถูกพิจารณาคดีที่เนือร์นแบร์ก ในขณะที่อีกราว 1,600 คนจะถูกพิจารณาดคีโดยศาลทหารทั่วไป ส่วนหลักกฎหมายสำหรับเขตอำนาจศาลนั้นถูกกำหนดโดยตราสารยอมจำนนของเยอรมนี อำนาจทางการเมืองในเยอรมนีถูกโอนไปยังสภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอำนาจอธิปไตยเหนือเยอรมนี และสามารถเลือกที่จะลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายสงคราม เนื่องจากศาลถูกจำกัดไว้ในการฝ่าฝืนกฎหมายสงคราม ศาลดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจพิจารณาอาชญการรมสงครามที่เกิดขึ้นก่อนการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939

ศาลพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามได้พิจารณาคดีและลงโทษแต่เพียงบุคคลจากกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะเท่านั้น จึงได้เกิดการกล่าวโทษว่าศาลดังกล่าวได้ใช้ความยุติธรรมของผู้ชนะ เนื่องจากไม่มีคดีความของฝ่ายสัมพันธมิตรเลย ซึ่งนายพลชัก เยเกอร์ ได้เขียนไว้ในอัตชีวประวัติของเขาว่าในภารกิจบางอย่างของเหล่าทหารอากาศอาจถูกพิจารณาว่าเป็นอาชญากรรมสงครามได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภารกิจ "ยิงทุกอย่างที่เคลื่อนไหว" ในชนบทของเยอรมนี) เขาและนักบินคนอื่น ๆ จำเป็นจะต้องปฏิบัติภารกิจเพื่อหลีกเลี่ยงคำตัดสินของศาลทหารฐานขัดคำสั่ง เขายังได้กล่าวอีกว่า เขาหวังว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะชนะสงคราม มิฉะนั้นเขาอาจถูกพิจารณาคดีในข้อหาก่ออาชญกรรมสงคราม

การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของฝ่ายอักษะเป็นสิ่งที่ผิดปกติ และนำไปสู่การก่อตั้งศาลชำระความระหว่างประเทศ โดยทั่วไปแล้ว สงครามระหว่างประเทศจะยุติลงอย่างมีเงื่อนไข และการปฏิบัติต่ออาชญากรรมสงครามจะรวมเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพนั้น ในหลายกรณี ผู้ที่มิได้เป็นอาชญากรสงครามก็ถูกพิจารณาคดีโดยระบบยุติธรรมในชาติของตนเช่นเดียวกัน หากผู้นั้นถูกสงสัยว่าก่ออาชญากรรมสงคราม ในการจำกัดวงในศาลชำระความระหว่างประเทศในการไต่สวนอาชญากรสงครามฝ่ายอักษะที่เป็นที่ต้องสงสัย ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป

ไลพ์ซิจ มิวนิก และลักเซมเบิร์กเคยได้รับพิจารณาให้เป็นสถานที่พิจารณาคดี ส่วนสหภาพโซเวียตต้องการให้จัดการพิจารณาคดีขึ้นในกรุงเบอร์ลิน เนื่องจากเห็นว่าเป็นเมืองหลวงของฟาสซิสต์ แต่เนือร์นแบร์กถูกเลือกให้เป็นสถานที่พิจารณาคดีด้วยเหตุผลเฉพาะหลายประการ:

ด้วยการประนีประนอมกับสหภาพโซเวียต กรุงเบอร์ลินถูกจัดให้เป็นสถานที่พักอย่างเป็นทางการของเจ้าหน้าที่ระหว่างการพิจารณาคดี และยังได้มีการตกลงในฝรั่งเศสมีที่นั่งถาวรในศาลชำระความระหว่างประเทศ และการพิจารณาคดีครั้งแรกจะถูกจัดขึ้นที่เนือร์นแบร์ก

ศาลทหารระหว่างประเทศถูกเปิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ณ ทำเนียบยุติธรรมในเมืองเนือร์นแบร์ก การประชุมในช่วงแรกรับผิดชอบโดยผู้พิพากษาโซเวียต นิคิทเชนโก การดำเนินคดีเริ่มขึ้นด้วยการฟ้องร้องจำเลย 24 อาชญากรสงครามคนสำคัญ และ 6 องค์การอาชญากร - ผู้นำระดับสูงของพรรคนาซี ชุทซ์ซทัฟเฟล (เอสเอส) ซีเชอร์ไฮท์สดีนสท์ (เอสดี) เกสตาโป สทูร์มับไทลุง และ "กองเสนาธิการและกองบัญชาการทหารสูงสุด" ซึ่งประกอบด้วยนายทหารอาวุโสหลายประเภท

(ตัวย่อ: I ถูกฟ้องร้องแต่ประกาศว่าไม่มีความผิด, G ถูกฟ้องร้องและพบว่ามีความผิด, O ไม่ถูกฟ้องร้อง)

ตลอดระยะการพิจารณาคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างมกราคมและกรกฎาคม ค.ศ. 1946 จำเลยและพยานจำนวนหนึ่งได้ถูกสัมภาษณ์โดยจิตแพทย์ชาวอเมริกัน ลีออน โกลเดนสัน บันทึกของเขาได้ให้รายละเอียดถึงพฤติกรรมและข้อคิดเห็นของจำเลยที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเนื้อหาได้ถูกปรับปรุงเป็นรูปแบบหนังสือและตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004

การลงโทษตามคำตัดสินประหารชีวิตนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946 โดยใช้วิธีแขวนมาตรฐานแทนที่จะเป็นการแขวนยาว กองทัพสหรัฐปฏิเสธข้อกล่าวอ้างที่ว่าความยาวของเชือกนั้นสั้นเกินไปซึ่งทำให้ผู้ที่ถูกแขวนคอนั้นเสียชีวิตช้ากว่าเนื่องจากหายใจไม่ออกเมื่อเทียบกับการเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเนื่องจากคอหัก

เพฌฆาตคือ จอห์น ซี. วูดส์ ถึงแม้ว่าจะมีข่าวลือเป็นเวลานานว่าร่างนั้นถูกนำตัวไปยังค่ายดาเชาและเผาที่นั่น แต่ข้อเท็จจริงคือร่างนั้นถูกเผาเป็นเถ้าถ่านในเมรุแห่งหนึ่งในมิวนิก และเถ้านั้นถูกโปรยลงไปเหนือแม่น้ำอีซาร์

การนิยามองค์ประกอบของอาชญากรรมสงครามนั้นถูกอธิบายโดยหลักการเนือร์นแบร์ก ซึ่งเป็นชุดเอกสารแนวปฏิบัติซึ่งถูกร่างขึ้นจากผลของการพิจารณาคดีดังกล่าว การทดลองทางการแพทย์โดยแพทย์ชาวเยอรมันซึ่งถูกดำเนินคดีในการพิจารณาแพทย์นั้นนำไปสู่การรวบรวมประมวลกฎหมายเนือร์นแบร์กสำหรับการควบคุมการพิจารณาคดีในอนาคตว่าด้วยการทดลองในมนุษย์ และหลักการทางศีลธรรมสำหรับการทดลองวิจัยในมนุษย์

การจัดตั้งศาลทหารระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีครั้งนี้ตามมาด้วยการพิจารณาคดีของเจ้าหน้าที่นาซีชั้นผู้น้อยกว่าและการพิจารณาแพทย์นาซี ผู้ซึ่งทำการทดลองในมนุ๋ย์ในค่ายกักกัน ศาลในครั้งนี้เป็นแม่แบบสำหรับศาลทหารระหว่างประเทศภาคพื้นตะวันออกไกล ซึ่งพิจารณาคดีเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นในข้อหาอาชญากรรมต่อความสงบเรียบร้อยและต่อมนุษยชาติ นอกจากนี้ยังได้เป็นแม่แบบของการพิจารณาคดีไอช์มันน์ และศาลปัจจุบันในกรุงเฮก สำหรับการพิจารณาดคีอาชญากรรมที่ก่อขึ้นระหว่างสงครามบอลข่านในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 และที่อะรูชา สำหรับพิจารณาดคีผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา

การพิจารณาดคีเนือร์นแบร์กมีอิทธิพลอย่างยิ่งพัฒนากฎหมายอาญาระหว่างประเทศ บทสรุปของการพิจารณาคดีครั้งนี้เป็นแม่แบบของ

คณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งกระทำตามคำร้องขอของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้ตีพิมพ์รายงาน "หลักการของกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้ยอมรับในธรรมนูญศาลเนือร์นแบร์ก" และ "การพิพากษาของศาล" ในปี ค.ศ. 1950 (หนังสือประจำปีของคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ ค.ศ. 1950 เล่ม 2)

อิทธิพลของศาลยังสามารถเห็นได้จากข้อเสนอในการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการถาวร และการร่างประมวลกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งได้ถูกจัดเตรียมในภายหลังโดยคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ จนกระทั่งนำไปสู่การประกาศใช้ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศในอีกห้าสิบปีถัดมา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301