การผลิตไฮโดรเจน เป็นกระบวนการสร้างไฮโดรเจนจากสารเคมีอื่น เทคโนโลยีการผลิตที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือการนำสารไฮโดรคาร์บอนมาทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลด้วยไอน้ำ (steam reforming) นอกจากนั้นก็ยังมีวิธีการแยกสลายสารที่อยู่ในสถานะของเหลวด้วยไฟฟ้า (electrolysis) และ การแยกสลายสารด้วยความร้อน(thermolysis)
พลังงานจากซากดึกดำบรรพ์ เป็นแหล่งผลิตหลักของอุตสาหกรรมไฮโดรเจน จากแก๊สธรรมชาติด้วยประสิทธิภาพ 80% หรือจากสารไฮโดรคาร์บอนอื่นด้วยประสิทธิภาพแตกต่างกันไป ขั้นตอนแรก ไอน้ำ (H2O) ที่อุณหภูมิ 700-1100?C ทำปฏิกิริยาดูดความร้อนกับมีเทน (CH4) จะได้ซินแก๊ส(syngas) ตามสูตร
ขั้นตอนที่สอง ปฏิกิริยาคายความร้อนที่เรียกว่า water gas shift reaction จะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิ ต่ำลงประมาณ 130?C จะได้ไฮโดรเจนเพิ่มชึ้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่น้ำ(ไอน้ำ)เข้าไป อะตอมของอ๊อกซิเจน (O) จะถูกดึงออกจากน้ำ ไปทำปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นกับ CO ได้ CO2 เกิดความร้อนทำให้ขบวนการดำเนินต่อไป ความร้อนที่ต้องการขับเคลื่อนขบวนการนี้ทั่วไปแล้วได้มาจากการเผาบางส่วนของมีเทน
===การแยกเอา CO2 ออก ขบวนการนี้ จะได้ CO2 ออกมาด้วย ถ้าโรงผลิตนี้ ผลิตแต่ไฮโดรเจนอย่างเดียว วิธีกำจัด CO2 โดยไม่ให้มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม สามารถทำได้โดยฉีดมันเข้าไปในถังเก็บน้ำมันหรือแก๊ส
เราจะใช้ TPOX หรือ CPOX ขึ้นอยู่กับสารซัลเฟอร์ในเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ CPOX จะถูกใช้เมื่อ ปริมาณซัลเฟอร์ต่ำกว่า 50 ppm แต่จากการค้นคว้าเร็วๆนี้ CPOX สามารถใช้กับปริมาณซัลเฟอร์ได้ถึง 400 ppm
แบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ๆตามชนิดของเซลล์คือ solid oxide electrolysis cells (SOEC's), polymer electrolyte membrane cells (PEM) and alkaline electrolysis cells (AEC's). SOEC ทำงานที่อุณหภูมิสูง ราว 800?C. PEM electrolysis cells ทำงานที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100?C ซึ่งง่ายที่สุด ส่วน AEC ใช้ KOH(potassium carbonate) ชนิดเข้มข้นเป็น electrolyte และทำงานที่อุณหภูมิสูงถึง 200 ?C.
น้ำจะแตกตัวได้เองที่อุณหภูมิ 2500 C ซึ่งการผลิตวิธีนี้ใช้อุณหภูมิสูงเกินกว่าระบบท่อและอุปกรณ์จะรับได้ ต้องใช้ตัวช่วยเพื่อให้อุณหภูมิลดลงมา
เป็นการใช้สาหร่ายผลิตไฮโดรเจน ในขบวนการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย ถ้าขาดซัลเฟอร์ มันจะผลิตไฮโดรเจนออกมา แทนที่จะเป็นอ๊อกซิเจน อัตราการเปลี่ยนแสงจากดวงอาทิตย์ให้เป็นไฮโดรเจนก็จะสูงกว่า 10 เปอร์เซนต์ โดยผลิตได้ถึง 12 cc ต่อ ชม.
เหมือนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า แต่ใช้ตัว photocatalyst แขวนไว้ในน้ำ แทนที่จะใช้ photovoltaic ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
เป็นขบวนการทางเคมีที่มีประสิทธิภาพในการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำได้ดีกว่ามากๆ ซัลเฟอร์และไอโอดีนสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และไม่ใช่วัสดุสิ้นเปลือง เหมาะกับการผลิตไฮโดรเจนด้วยอุณหภูมิสูงจากเตาปฏิกรนิวเคลียร์หรือระบบผลิตพลังแสงอาทิตย์เข้มข้น concentrating solar power systems (CSP)
การหมักเป็นการเปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นแก็สไฮโดรเจนชีวภาพโดยใช้แบคทีเรียที่มีระบบการย่อยหลายๆอย่างทั้งแบบใช้แสงและแบบไม่ใช้แสง เช่นแบคทีเรียแบบใช้แสง ชื่อ Rhodobacter sphaeroides SH2C สามารถเปลี่ยนโมเลกุลของกรดไขมันเล็กๆให้เป็นไฮโดรเจนได้
นอกเหนือจากการหมักแบบมืด ก็คือ electrohydrogenesis (การแยกน้ำด้วยไฟฟ้าโดยใช้จุลินทรีย์) การใช้เซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์ ทำให้น้ำเสียหรือซากพืชต่างๆสามารถถูกนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ Biocatalysed electrolysis ไม่เหมือน biological electrolysis เพราะ biological ทำให้สาหร่ายผลิตไฮโดรเจนได้ทันที แต่ biocatalysed electrolysis จะผลิตไฮโดรเจนได้โดยต้องผ่านเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์ก่อน ขบวนการนี้ใช้ได้กับพืชน้ำเช่น ต้นกก หญ้าหวาน cordgrass ข้าว มะเขือเทศ lupines และสาหร่าย เป็นต้น
ปัจจุบัน สามารถผลิตไฮโดรเจนได้จากพลังงานหมุนเวียน เช่นใช้แก๊สจากการฝังกลบขยะ หรือใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตไฮโดรเจนโดยแยกจากน้ำ เป็นต้น