ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การผลิตข้าวในประเทศไทย

ประเทศไทยมีประเพณีการปลูกข้าวมาช้านาน มีที่ดินปลูกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับที่ห้าของโลกและเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก ประเทศไทยวางแผนที่จะเพิ่มที่ดินเพื่อผลิตข้าวให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่ 500,000 เฮกตาร์ จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอยู่แล้วเดิม 9.2 ล้านเฮกตาร์กระทรวงเกษตรของไทย คาดว่าการผลิตข้าวจะให้ผลผลิตราว 30 ล้านตันในปี พ.ศ. 2551 ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดในประเทศคือ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวประเภทที่มีคุณภาพสูง อย่างไรก็ตาม ข้าวหอมมะลิให้ผลผลิตน้อยกว่าข้าวประเภทอื่นอย่างมาก แต่โดยปกติแล้วสามารถขายได้ราคามากกว่าสองเท่าของข้าวสายพันธุ์อื่นในตลาดโลก

ก่อนหน้าคริสต์ทศวรรษ 1960 การผลิตข้าวในประเทศไทยประกอบด้วยชาวนาจำนวนมากที่ทำนาในพื้นที่ขนาดเล็กและผลิตข้าวในปริมาณที่เพียงพอสำหรับเลี้ยงตัวเองเท่านั้น (การเกษตรเพื่อยังชีพ) สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นศูนย์กลางการผลิตข้าวในเวลานั้น การเกษตรเป็นส่วนสำคัญของสินค้าทั้งหมดที่ผลิตในประเทศไทยและพลเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นชาวนา เหตุผลสำคัญที่พลเมืองไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรนั้นมีสองข้อ คือ ที่ดินกว้างใหญ่ไพศาลสามารถใช้ในการเกษตรได้และนโยบายเฉพาะของรัฐบาลที่จะถางพื้นที่ให้ได้มากขึ้นและปกป้องสิทธิชาวนา รัฐบาลจะช่วยให้ชาวนาได้มีที่ดินทำกินมากขึ้นและยังปกป้องจากเจ้าของที่ดินชนชั้นสูง จากที่ท่าของรัฐบาลทำให้พ่อค้าไม่สามารถควบคุมอุตสาหกรรมข้าวในประเทศไทยได้มากนัก มีข้อกังวลว่ารัฐบาลปกป้องชาวนาปัจเจกชนไม่มากเท่ากับผลผลิตโดยรวม ซึ่งส่งผลทำให้ประเทศไทยค่อนข้างพึ่งพาตนเอง ต่อต้านสิ่งประดิษฐ์ของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลง และความเสมอภาค ชาวนาส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองและการแลกเปลี่ยนแรงงานระหว่างชาวนาถือเป็นเรื่องปกติ การผลิตข้าวโดยปกติแล้วจะไม่มากไปกว่าเท่าที่ชาวนานั้นต้องการบริโภคเพื่อมีชีวิตอยู่เท่านั้น

เมื่อยุโรปเริ่มต้นที่จะรวมตัวกันในหลายประเด็น รวมทั้งนโยบายการเกษตร (และการสนับสนุนราคา) ประเทศไทยจึงเริ่มที่จะปกป้องชาวนาข้าวน้อยลงและทำงานร่วมกับพ่อค้ามากขึ้น รัฐบาลเริ่มต้นกังวลเกี่ยวกับการผลิตที่เพิ่มขึ้นและแสวงผลประโยชน์จากส่วนเกินที่เพิ่มมากขึ้นจากอุตสาหกรรมข้าว ประเทศไทยหันไปยังพ่อค้าที่จะสร้างแรงกดดันนี้และให้ผลดีเยี่ยม

รัฐบาลต้องการสนับสนุนการเติบโตของเมือง โดยหนึ่งในวิธีการที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือการตั้งภาษีอุตสาหกรรมข้าวและใช้เงินในเมืองใหญ่ ๆ ในความเป็นจริง ในช่วงปี พ.ศ. 2496 ภาษีข้าวคิดเป็นรายได้ 32% ของรัฐบาล รัฐบาลเป็นผู้ตั้งราคาผูกขาดสำหรับการส่งออก ซึ่งเพิ่มรายได้ภาษีและทำให้ราคาข้าวภายในประเทศต่ำ ผลกระทบโดยรวมคือประเภทของรายได้ถูกเปลี่ยนจากชาวนาไปยังรัฐบาลและผู้บริโภคในเมือง (ผู้ซื้อข้าว) นโยบายเรื่องข้าวเหล่านี้ถูกเรียกว่า "พรีเมียมข้าว" ซึ่งใช้มาจนถึง พ.ศ. 2528 จนกระทั่งสุดท้ายต้องยอมจำนนต่อแรงกดดันทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยปกป้องชาวนาข้าวได้ทำให้อุตสาหกรรมข้าวห่างไกลจากค่านิยมความเสมอภาคที่เคยพอใจกันในหมู่ชาวนา ไปเป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์สมัยใหม่ ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรให้ได้มากที่สุด

รัฐบาลไทยมีสิ่งจูงใจอย่างแข็งขันที่จะผลิตการผลิตข้าวและประสบความสำเร็จในแผนการส่วนใหญ่ รัฐบาลได้ลงทุนในระบบชลประทาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน และโครงการสนับสนุนข้าวอื่น ๆ ธนาคารโลกยังได้สนับสนุนเงินทุนในการสร้างเขื่อน คลอง คูน้ำ และสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่น ๆ ในโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ นโยบายเหล่านี้ช่วยทำให้ที่ดินปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านไร่ เป็น 59 ล้านไร่ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1980 ผลผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในแง่ของผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมด แม้ว่าผลผลิตข้าวของประเทศไทยจะไม่ได้เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่คาดหมายเอาไว้อยู่แล้ว แต่ผลผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นอย่างมากและต่อเนื่องนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960

การเพิ่มผลผลิตอย่างรวดเร็วนี้ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการเพิ่มกำลังผลิตข้าวในภาคอีสานของประเทศ ขณะที่ในอดีต ภาคกลางเป็นผู้ผลิตข้าวรายหลัก ภาคอีสานได้ก้าวเข้ามามีปริมาณผลผลิตตามทันภาคกลางอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางส่วนเป็นเพราะระบบถนนใหม่ระหว่างภาคอีสานและเมืองที่เน้นการขนส่งทางเรือตามชายฝั่ง หมู่บ้านที่เน้นการผลิตข้าวเป็นสำคัญก็ได้เปลี่ยนแปลงจากการเกษตรที่เน้นเพื่อยังชีพไปสู่แรงงานที่เน้นค่าแรง (การแลกเปลี่ยนแรงงานก็ได้หายไปบางส่วนด้วยเช่นกัน) วัวและกระบือถูกแทนที่ด้วยรถแทรกเตอร์เพื่อทำงานในนาและเทคโนโลยีชลประทานได้รับการปรับปรุงในหมู่บ้านส่วนใหญ่ การปฏิวัติสีเขียวเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเพื่อเผยแพร่ตามอุตสาหกรรมการเกษตรของโลก ชาวนาและพ่อค้าใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของข้าว สายพันธุ์ ปุ๋ย และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่น สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) เองก็ได้เผยแพร่ความรู้ เทคโนโลยี ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ๆ และข้อมูลอื่น ๆ แก่ผู้ผลิตข้าวในประเทศไทย ผลผลิตข้าวต่อหน่วยพื้นที่ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1970 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50

ขณะที่ข้อได้เปรียบทั้งหมดเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวโดยรวมในประเทศไทย ชาวนาจำนวนมากกลับไม่สามารถรักษาที่ดินที่พวกเขาใช้สำหรับเก็บเกี่ยวข้าวและจำเป็นต้องเช่าที่ดินทำกินเพื่อเลี้ยงตัวเอง รัฐบาลมักจะคาดหวังรายได้จากภาษีอยู่เสมอ แม้ว่าปีนั้นจะเป็นปีที่ได้ผลผลิตน้อยก็ตาม ซึ่งเหตุผลนี้ได้ผลักดันให้ชาวนาจำนวนมากเข้าใกล้สภาวะขาดทุนมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังได้ขยับราคาต้นทุนทำนาสูงขึ้นและทำให้เป็นการยากขึ้นสำหรับชาวนาที่จะเป็นเจ้าของที่ดินและปลูกข้าว ชาวนาที่ค่อนข้างมีการผลิตที่ค่อนข้างใหญ่อยู่แล้ว หรือสามารถแบกรับค่าใช้จ่ายสารเคมีใหม่ ๆ สายพันธุ์ข้าว และแทรกเตอร์จะได้รับประโยชน์อย่างมาก ขณะที่ชาวนาธรรมดาต้องหันจากผู้ผลิตข้าวที่มีที่ดินเป็นของตัวเองไปเป็นแรงงานมนุษย์ในที่ดินของคนอื่น

ข้าวมีบทบาทสำคัญหลายอย่างต่อสังคมไทยตั้งแต่เป็นอาหารไปจนถึงงาน พื้นที่ปลูกข้าวคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศและใช้แรงงานมากกว่าครึ่งของแรงงานทั้งประเทศ ข้าวเป็นหนึ่งในอาหารหลักและเป็นแหล่งโภชนาการสำหรับพลเมืองไทยส่วนใหญ่ ข้าวยังเป็นส่วนสำคัญในการส่งออกของไทย อุตสาหกรรมข้าวของไทยเผชิญกับภัยคุกคามใหญ่ไม่กี่ข้อ สุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง ภัยคุกคามใหญ่สามประการประกอบด้วย

เมื่อการผลิตข้าวทั่วโลกแข่งขันกันมากขึ้น จึงทำให้เป็นการยากยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทยที่จะรักษาข้อได้เปรียบในการแข่งขันและขอบที่ผู้ผลิตข้าวไทยเคยชิน สำหรับภัยคุกคามที่สอง การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยนำไปสู่การเพิ่มความมั่งคั่งและต้นทุนค่าแรงงาน ทำให้ชาวนาซึ่งใช้แรงงานมนุษย์ราคาถูกมีต้นทุนสูงขึ้น อย่างที่สาม ที่ดินขนาดใหญ่ซึ่งใช้ปลูกข้าวสามารถมีผลกระทบในทางที่ไม่ดีระยะยาวต่อผลผลิตต่อพื้นที่ได้

ประเพณีการแห่ขอฝนเป็นสิ่งปกติสำหรับชาวนาในประเทศไทย ประเพณีทำนองนี้มีจัดขึ้นในกรุงเทพมหานครเช่นกัน (พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ) อีกประเพณีหนึ่งที่จัดขึ้นบ่อยครั้งในภาคกลาง คือ การแห่นางแมว ซึ่งชาวบ้านจะแบกแมวไปยังสถานที่ต่าง ๆ และสาดน้ำใส่มัน เนื่องจากความเชื่อที่ว่า แมวที่ "กำลังร้องไห้" จะนำมาสู่ผลผลิตข้าวที่อุดมสมบูรณ์

ในบางครั้ง ประเทศไทยได้พิจารณาที่จะรวมกลุ่มทางธุรกิจเรื่องข้าวกับเวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา จุดประสงค์คือเพื่อควบคุมการผลิตและกำหนดราคาให้ใกล้เคียงกับการรวมกลุ่มของโอเปกซึ่งควบคุมการผลิตน้ำมัน ประเทศไทยเคยได้ส่งข้อเสนอไปยังประเทศอื่น ๆ แต่ได้ถอนข้อเสนอในปี พ.ศ. 2551 นักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อว่า การจัดการกำหนดราคาดังกล่าวจะไม่ได้ผลเนื่องจากความไร้เสถียรภาพในความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งหมดและแต่ละประเทศไม่สามารถควบคุมการผลิตของชาวนาได้ ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังมองที่จะสร้างองค์การเวทีระหว่างประเทศเพื่ออภิปรายอุปสงค์และผลผลิตข้าว นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ต้องการที่จะให้เรียกเวทีดังกล่าวว่า "สภาความร่วมมือค้าข้าว" และเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้วางแผนที่จะเชิญจีน อินเดีย ปากีสถาน กัมพูชา พม่า และเวียดนามเข้าร่วม นพดลกล่าวว่าเวทีระหว่างประเทศใหม่นี้จะไม่ซ้ำกับผลงานของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301