การปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation) เป็นการย้ายอวัยวะจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง หรือ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในผู้ป่วยคนเดียวกัน เพื่อแทนที่อวัยวะที่เสียหายหรือขาดไป การอุบัติขึ้นของ regenerative medicine ทำให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรสามารถสร้างหรือปลูกอวัยวะจากเซลล์ของคนไข้เอง (เซลล์ต้นกำเนิด หรือเซลล์ที่แยกมาจากอวัยวะที่เสื่อม) การปลูกถ่ายอวัยวะและ/หรือเนื้อเยื่อที่ถูกปลูกถ่ายลงในตัวของเจ้าของเองเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยออโทกราฟท์ (autotranplantation) การเปลี่ยนถ่ายที่กระทำจากคนสู่คนหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยแอลโลกราฟท์ (allotranplantation) การปลูกถ่ายด้วยอวัยวะจากสัตว์ชนิดอื่นเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยซีโนกราฟท์ (xenotransplantation)
ในปัจจุบันอวัยวะที่สามารถปลูกถ่ายได้ ได้แก่ หัวใจ ไต ตา ตับ ปอด ตับอ่อน ลำไส้เล็ก และ ต่อมไทมัส เนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ กระดูก เอ็น กระจกตา ผิวหนัง ลิ้นหัวใจ และหลอดเลือดดำ ทั่วโลกมีการปลูกถ่ายไตมากที่สุด ตามมาด้วยตับและหัวใจ ส่วนเนื้อเยื่อ ได้แก่ กระจกตาและเนื้อเยื่อกระดูกและเอ็น อวัยวะบางอย่างเช่นสมองไม่สามารถปลูกถ่ายได้
ผู้บริจาคอวัยวะอาจมีชีวิตอยู่หรือสมองตายแล้ว เนื้อเยื่ออาจทำให้กลับคืนเหมือนเดิมได้ เช่นจากผู้บริจาคที่หัวใจตายมากว่า 24 ชั่วโมงนับจากหัวใจหยุดเต้น อวัยวะนั้นไม่เหมือนเนื้อเยื่อที่ส่วนใหญ่ (ยกเว้นกระจกตา) สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานสุดถึง 5 ปี นั่นหมายความว่าสามารถทำเป็นธนาคารอวัยวะได้ การปลูกถ่ายนำไปสู่ประเด็นทางจริยธรรมมากมายซึ่งรวมถึง การนิยามการตาย การอนุญาตให้ใช้อวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายเมื่อไรและอย่างไร และการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับอวัยวะสำหรับปลูกถ่าย ยังมีประเด็นทางจริยธรรมอื่นๆอีกเช่น การทัวร์ปลูกถ่ายและประเด็นสังคมธุรกิจการค้าอวัยวะ ปัญหาเด่นๆได้แก่ การลักลอบค้าขายอวัยวะ
การปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อเป็นหนึ่งในสาขาวิชาการแพทย์สมัยใหม่ที่ซับซ้อนและท้าทาย กุญแจสำคัญคือปัญหาการปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นเนื่อจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งอาจนำไปสู่การปลูกถ่ายที่ล้มเหลวและจำเป็นต้องนำอวัยวะนั้นออกจากผู้รับโดยทันที การปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นสามารถลดได้โดยจัดกลุ่มสายเชื้อ (serotyping) เพื่อหาผู้บริจาคและผู้รับที่เหมาะสมที่สุดและโดยใช้ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressant drug)
การปลูกถ่ายและการบริจาคอวัยวะในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายบังคับ แต่ได้มีการกำหนดหลักการเบื้องต้นโดยแพทยสภาและสภากาชาดไทย
การปลูกถ่ายอวัยวะในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 โดยปลูกถ่ายไต และ ปลูกถ่ายตับ และหัวใจ ได้ในปี พ.ศ. 2530 ปัจจุบัน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2553) สามารถปลูกถ่ายอวัยวะต่างได้ ได้แก่ ไต ตับ หัวใจ ลิ้นหัวใจ ปอด และตับอ่อน ผลการรักษาโดยปลูกถ่ายอวัยวะใน 1 ปีแรก อวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่ายได้แก่ ตับ หัวใจและปอด หัวใจ ตับ และไต สามารถทำงานได้ดีในระดับ 45% 75% 70-80% 80% และ 85% ตามลำดับ
ตามสถิติปี พ.ศ. 2553 จำนวนผู้ลงทะเบียนรับอวัยวะมีมากถึง 2,717 คน ในขณะที่สามรถปลูกถ่ายได้เพียง 215 คน อวัยวะจึงยังขาดแคลนอีกมาก มีเหตุผลหลายประการที่ไม่มีอวัยวะเพื่อการปลูกถ่าย เช่น ประเด็นความเข้าใจของญาติผู้บริจาค ประเด็นการปฏิสัมพันธ์ของแพทย์กับญาติผู้บริจาค ประเด็นเทคนิคทางการแพทย์ และประเด็นทางกฎหมาย เป็นต้น จึงต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์ให้ญาติและผู้ที่ต้องการบริจาค การออกกฎหมายรองรับ การใช้อวัยวะจากนักโทษประหาร เป็นต้น
ในการติดต่อบริจาคอวัยวะนั้น ผู้บริจาคอวัยวะควรเป็นบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย สายด่วน 1666 หรือ หมายเลข 0 2256 4045-6 หรือติดต่อด้วยตนเองที่สถานที่ต่อไปนี้
การปลูกถ่ายด้วยแอลโลกราฟท์คือการเปลี่ยนถ่ายที่กระทำจากคนสู่คนหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน
ไอโซกราฟท์เป็นกลุ่มย่อยของการปลูกถ่ายด้วยแอลโลกราฟท์ซึ่งอวัยวะหรือเนื้อเยื่อถูกปลูกถ่ายจากผู้รับที่มียีนเดียวกัน (เช่น แฝดเหมือน) ไอโซกราฟท์แตกต่างจากการปลูกถ่ายแบบอื่นๆเพราะไม่เกิดการกระตุ้นการตอบสนองระบบภูมิคุ้มกัน
บางครั้งอวัยวะจากผู้บริจาคที่เสียชีวิต (โดยทั่วไปคือตับ) อาจจะถูกแบ่งให้ผู้รับสองคนโดยเฉพาะผู้ใหญ่และเด็ก แต่นี่ไม่ค่อยจะเป็นที่ต้องการเพราะการปลูกถ่ายอวัยวะทั้งชิ้นจะประสบความสำเร็จมากกว่า
การผ่าตัดนี้กระทำกับผู้ป่วยที่เป็นโรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) เพราะต้องเปลี่ยนปอดทั้งคู่และจะง่ายขึ้นไปอีกถ้าเปลี่ยนทั้งปอดและหัวใจในเวลาเดียวกัน ถ้าผู้รับอวัยวะมีหัวใจที่สุขภาพดีก็สามารถนำไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยอื่นที่ต้องการการปลูกถ่ายหัวใจได้ นอกจากนั้นยังรวมหมายถึงการปลูกถ่ายตับแบบพิเศษที่ผู้มีอาการ familial amyloidotic polyneuropathy (โรคที่ตับผลิตโปรตีนชนิดหนึ่งได้ช้า โดยโปรตีนนี้ใช้เพื่อทำลายอวัยวะอื่น) ตับของผู้ป่วยนี้จึงสามารถนำไปปลูกถ่ายในคนไข้สูงอายุที่อาจตายได้ด้วยสาเหตุอื่นๆ
แม้มีความพยายามของสมาคมการปลูกถ่ายนานาชาติ(international transplantation society)ต่างๆแล้ว แต่ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ข้อมูลต่างๆเช่น จำนวน อัตรา และผลของการปลูกถ่าย เป็นต้น อย่างแม่นยำทั่วทั้งโลก วิธีที่ดีที่สุดที่เราทำได้คือการประมาณ