ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การประหารชีวิต

โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (อังกฤษ: capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยตัดหัว)

สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ

ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง)องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย

แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้

โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว

การดำเนินการเกี่ยวกับอาชญากรรมและศัตรูทางการเมืองได้ถูกนำมาใช้โดยในเกือบทุกสังคมทั้งกับการลงโทษความผิดทางอาญาและความขัดแย้งทางการเมือง ในบรรดาประเทศส่วนใหญ่ที่โทษประหารในทางปฏิบัติได้ถูกสงวนไว้สำหรับคดีการฆาตกรรม (การฆ่าคน), การจารกรรม, การก่อกบฏ หรือเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงยุติธรรม ในบางประเทศอาชญากรรมทางเพศเช่น การข่มขืนกระทำชำเรา, คบชู้, การร่วมประเวณีกับญาติสนิทและการสังวาสที่ผิดธรรมชาติ ถูกดำเนินการประหารชีวิตเช่นเดียวกับการก่ออาชญากรรมทางศาสนาเช่น การละทิ้งศาสนาในประเทศอิสลาม (สละอย่างเป็นทางการในศาสนาประจำชาติ) ในหลายประเทศที่มีการใช้โทษประหารชีวิตนั้น, การค้ายาเสพติดยังคงเป็นความผิดทางกฎหมาย ในประเทศจีน การค้ามนุษย์และกรณีที่ร้ายแรงของการทุจริตทางการเมืองจะต้องถูกลงโทษโดยประหารชีวิต ในกองทัพทั่วโลก ศาลทหารได้กำหนดโทษประหารสำหรับความผิดเช่น ขี้ขลาด, ละทิ้งหน้าที่, ไม่เชื่อฟัง และกบฏ

การใช้การประหารชีวิตอย่างเป็นทางการได้แพร่ขยายไปสู่จุดเริ่มต้นของบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ บันทึกทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่และวิธีการปฏิบัติต่างๆ ของชนเผ่าโบราณระบุว่าโทษประหารชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของระบบยุติธรรมของพวกเขา การลงโทษสำหรับการกระทำผิดกฎหมายของประชาชนโดยทั่วไปรวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดยผู้กระทำความผิด, การลงโทษทางกาย, การต่อต้าน, การเนรเทศและการประหารชีวิต โดยปกติ, ค่าชดเชยและการหลบหนีก็เพียงพอแล้วต่อรูปแบบของความยุติธรรมที่มีอยู่ การตอบสนองกับอาชญากรรมที่กระทำโดยชนเผ่าที่อยู่ใกล้เคียงหรือชุมชนนั้นรวมไปถึงการขอโทษอย่างเป็นทางการ เบี้ยทำขวัญ หรือ ความอาฆาตกันทั้งตระกูล (blood feud)

ความอาฆาตกันทั้งตระกูลหรือความพยาบาทอันยาวนาน (blood feud, vendetta) เกิดขึ้นเมื่อการอนุญาโตตุลาการระหว่างครอบครัวหรือชนเผ่าล้มเหลวหรือระบบอนุญาโตตุลาการเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง รูปแบบของความยุติธรรมนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาก่อนที่จะมีการเกิดขึ้นของระบบอนุญาโตตุลาการที่ขึ้นอยู่กับรัฐหรือการจัดระเบียบทางศาสนา มันอาจจะเป็นผลมาจากความผิดทางอาญา, ข้อพิพาทดินแดน หรือหลักปฏิบัติคุณธรรม (code of honour) "การกระทำแห่งการตอบโต้นั้นได้เน้นย้ำขีดความสามารถของกลุ่มทางสังคมเพื่อให้เกิดการปกป้องต่อตัวเองและแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อศัตรู (เช่นเดียวกับชาติพันธมิตรที่มีศักยภาพ) ซึ่งการล่วงละเมิดที่จะมีต่อทรัพย์สิน, ต่อสิทธิ, หรือต่อบุคคล ในอันที่จะกระทำไปโดยที่ไม่มีใครขัดขวางนั้น จะมิอาจเกิดมีขึ้นได้โดยง่าย"

มีแนวโน้มส่วนใหญ่ของโลกที่ได้มีปฏิบัติกันมานานแล้วสำหรับในการที่จะทำให้การประหารชีวิตนั้น ได้ใช้วิธีการในการที่จะทำให้ได้รับความเจ็บปวดน้อยลงหรือมีความเป็นมนุษยธรรมมากขึ้นประหารชีวิต

นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีกระแสยกเลิกโทษประหารชีวิต ในปี 2520 มี 16 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต ตามสารสนเทศที่องค์การนิรโทษกรรมสากลจัดพิมพ์ในปี 2555 มี 97 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งหมด 8 ประเทศยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดใด ๆ ยกเว้นภายใต้พฤติการณ์พิเศษ และ 36 ประเทศมิได้ใช้โทษประหารชีวิตเป็นเวลาอย่างน้อยสิบปีหรือกำลังงดโทษ อีก 57 ประเทศยังใช้โทษประหารชีวิต

องค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานว่า มี 21 ประเทศที่ประหารชีวิตในปี 2555 นอกเหนือจากนี้ มีประเทศที่ไม่จัดพิมพ์สารสนเทศเรื่องการใช้โทษประหารชีวิต ที่โดดเด่นที่สุด คือ ประเทศจีน มีอย่างน้อย 18,750 คนทั่วโลกที่ได้รับการลงโทษประหารชีวิตเมื่อย่างเข้าปี 2555

โทษประหารชีวิตสำหรับผู้ที่กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน (อาชญากรอายุต่ำกว่า 18 ปี ในความผิดทางอาญา) ได้กลายเป็นที่พบเห็นได้ยากมากขึ้นเรื่อย ๆ

ผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตแย้งว่ามันป้องกันอาชญากรรม เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับตำรวจและอัยการ (ตัวอย่างเช่น ในการต่อรองคำรับสารภาพ) รับประกันว่าอาชญากรผู้ต้องโทษจะไม่กระทำความผิดอีก และเป็นโทษยุติธรรมแล้วสำหรับอาชญากรรมเหี้ยมโหดอย่างฆาตกรเด็ก ฆาตกรต่อเนื่องและฆาตกรทรมาน ผู้คัดค้านโทษประหารชีวิตแย้งว่า มิใช่ทุกคนที่ได้รับผลจากการฆ่าคนปรารถนาโทษประหารชีวิต การประหารชีวิตแบ่งแยกต่อผู้เยาว์และคนจน และมันส่งเสริม "วัฒนธรรมความรุนแรง" และมันละเมิดสิทธิมนุษยชน

มักแย้งว่า โทษประหารชีวิตนำไปสู่การปฏิบัติโดยมิชอบของความยุติธรรมผ่านการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์อย่างผิด ๆ หลายคนได้รับประกาศเป็นเหยื่อบริสุทธิ์ของโทษประหารชีวิต

นอกจากนี้ วิธีดำเนินการไม่เหมาะสมยังให้เกิดการประหารชีวิตไม่ยุติธรรม ตัวอย่างเช่น นิรโทษกรรมสากลแย้งว่าในประเทศสิงคโปร์ "รัฐบัญญัติการใช้ยาในทางที่ผิด (Misuse of Drugs Act) มีชุดข้อสันนิษฐานซึ่งผลักภาระการพิสูจน์ของการฟ้องคดีให้ผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งขัดต่อสิทธิซึ่งได้รับรองสากลให้สันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ก่อนพิสูจน์ว่ามีความผิด" หมายถึงในสถานการณ์ที่มีผู้ถูกจับได้พร้อมกับยา ในแทบทุกเขตอำนาจ การฟ้องคดีอาญามีคดีมีมูล

ผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตแย้งว่า โทษประหารชีวิตชอบทางศีลธรรมเมื่อใช้ในการฆ่าคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีส่วนเพิ่มความร้ายแรง เช่น การฆ่าหลายคน การฆ่าเด็ก การฆ่าตำรวจ การฆ่าทรมานและการสังหารคนจำนวนมากอย่างการก่อการร้าย การสังหารหมู่หรือพันธุฆาต บ้างถึงกับแย้งว่า หากไม่ใช่โทษประหารชีวิตในกรณีหลังไม่ยุติธรรมอย่างชัดเจนทีเดียว ศาสตราจารย์ รอเบิร์ต เบลกเคอร์ แห่งโรงเรียนกฎหมายนิวยอร์ก ป้องกันการให้เหตุผลนี้อย่างแข็งขันโดยว่า การลงโทษต้องเจ็บปวดได้สัดส่วนกับอาชญากรรม

ผู้ให้ยกเลิกแย้งว่า การตอบแทนเป็นเพียงการแก้แค้นและให้อภัยไม่ได้ ผู้อื่นที่ยอมรับว่าการตอบแทนเป็นส่วนหนึ่งของความยุติธรรมทางอาญากระนั้นแย้งว่าการจำคุกตลอดชีวิตก็ทดแทนเพียงพอแล้ว นอกจากนี้ ยังแย้งว่า การลงโทษการฆ่าด้วยการฆ่าอีกนั้นเป็นการลงโทษซึ่งค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์สำหรับการกระทำรุนแรง เพราะโดยทั่วไป อาชญากรรมรุนแรงมิได้ลงโทษโดยให้ผู้ก่อการได้รับกรรมเดียวกัน (เช่น ผู้ข่มขืนไม่ได้ลงโทษโดยถูกข่มขืน)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406