การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการ (อังกฤษ: academic journal publishing reform) หมายถึง การสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงของการสร้างและการแจกจ่ายวารสารวิชาการ ในยุคอินเทอร์เน็ตและการกำเนิดของสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ต คนได้รณรงค์เพื่อเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียน ผู้แจกจ่ายแบบดั้งเดิม และผู้อ่าน โดยอภิปรายส่วนใหญ่ได้มุ้งเน้นทางด้านการใช้ประโยชน์จากความสามารถของอินเทอร์เน็ตในการแจกจ่ายเอกสารและสิ่งตีพิมพ์อย่างทั่วถึง
ก่อนการกำเนิดของอินเทอร์เน็ต การที่นักวิชาการจะแจกจ่ายบทความและผลของงานวิจัยนั้นเป็นเรื่องยาก ในอดีต สำนักพิมพ์ให้การบริการหลายอย่าง เช่น การพิสูจน์อักษร การเรียงพิมพ์ การปรับปรุงต้นฉบับ การพิมพ์ และการแจกจ่ายทั่วโลก ในยุคปัจจุบัน ผู้วิจัยทุกคนถูกคาดหวังให้ส่งสำเนาดิจิทัลของผลงานที่ผ่านการดำเนินการโดยสมบูรณ์แล้วแก่สำนักพิมพ์ การพิมพ์นั้นไม่จำเป็นสำหรับการแจกจ่ายแบบดิจิทัล การสร้างสำเนานั้นไม่มีค่าใช้จ่าย และการแจกจ่ายทั่วโลกนั้นเกิดขึ้นทันทีในโลกออนไลน์ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่มาพร้อมกับต้นทุนต่อหัวที่ลดลงอย่างชัดเจน ทำให้สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์หลักทั้ง 4 สำนักพิมพ์อย่าง แอ็ลเซอเฟียร์ สปริงเกอร์ วิลลีย์ และอินฟอร์มา มีโอกาสลดต้นทุนและสร้างกำไรสนธิมากกว่าหนึ่งในสามของรายได้
อินเทอร์เน็ตทำให้นักวิจัยทำงานที่เคยเป็นหน้าที่ของสำนักพิมพ์ได้ง่ายขึ้น ทำให้หลายคนเริ่มรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินซื้อบริการจากสำนักพิมพ์ มุมมองเหล่านี้นั้นเป็นปัญหาต่อสำนักพิมพ์ โดยสำนักพิมพ์นั้นระบุว่าบริการต่างๆนั้นยังมีความจำเป็นในราคาที่ขอ นักวิจารณ์เริ่มเรียกการปฏิบัติของสำนักพิมพ์ด้วยคำต่างๆเช่น "การโกงแบบเป็นบริษัท" และ "การหลอกลวง" บางครั้งนักวิชาการยังได้รับบทความทางวิชาการจาก นักวิชาการคนอื่นผ่านช่องทางที่ไม่เป็นทางการ เช่น การประกาศคำร้องบนทวิตเตอร์ โดยใช้แฮชแท็ก "#ไอแคนแฮซพีดีเอฟ" เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินให้กับสำนักพิมพ์
แม้จะมีความพยายามก่อนหน้านี้ ทว่าการเข้าถึงแบบเปิดได้กลายเป็นที่ต้องการหลังการกำเนิดของสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และเป็นส่วนหนึ่งในการพยายามปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์สร้างผลประโยชน์ใหม่ เมื่อเทียบกับการพิมพ์บนกระดาษ ทว่านอกเหนื่อจากนั้น สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ได้เป็นส่วนสร้างปัญหาให้กับต้นแบบการตีพิมพ์แบบดั้งเดิม
ข้อตั้งเบื่องเหลังการเข้าถึงแบบเปิดคือ การมีต้นแบบการจัดหาเงินทุนที่ปฏิบัติตามได้เพื่อคงคุณภาพของสำนักพิมพ์ทางวิชาการแบบดั้งเดิมไว้ รวมไปถึงสร้างความเปลี่ยนแปลง ดังนี้
การเข้าถึงแบบเปิดยังมีเป้าหมายเกินกว่าการให้การเข้าถึงแก่สิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ด้วยความที่การเข้าถึงงานวิจัยเป็นเพียงเครื่องมือที่จะช่วยให้คนบรรลุเป้าหมายอื่นเท่านั้น การเข้าถึงแบบเปิดพัฒนาการดำเนินการทางวิชาการในด้านของข้อมูลแบบเปิด รัฐบาลแบบเปิด ทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิด ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและซอฟต์แวร์ฟรี และวิทยาศาสตร์แบบเปิด
แรงบันดาลใจเบื้องหลังการปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการมีหลายอย่สง เช่น ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ความได้เปรียบในการที่นักวิจัยสามารถเข้าถึงฉบับก่อนที่ตีพิมพ์ได้มากขึ้น และแนวโน้มสำหรับการโต้ตอบระหว่างนักวิจัย
งานวิจัยได้ทำให้เห็นความต้องการต่องานวิจัยแบบเปิด และยังพบว่าบทความที่เข้าถึงได้อย่างเสรีนั้นมีปัจจัยกระทบที่มากกว่าบทความที่ถูกตีพิมพ์ภายใต้การเข้าถึงที่จำกัด
บางมหาวิทยาลัยได้รายงานว่า การสมัครสมาชิกผ่าน "ข้อตกลงแบบชุด" นั้นมีราคาที่สูงเกินไปกว่าที่มหาลัยจะจ่ายไหว และเลือกที่จะสมัครสมาชิกวารสารต่อวารสารเพื่อประหยัดเงิน
ปัญหาซึ่งนำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับการปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการได้ถูกพิจารณาในบริบทของบทบัญญัติที่จะมากับการเข้าถึงแบบเปิด ปัญหาของสำนักพิมพ์ทางวิชาการซึ่งผูสนับสนุนอ้างว่าการเข้าถึงแบบเปิดจะจัดการได้ มีดังนี้
สำนักพิมพ์ได้ระบุว่า หากแม้ไม่ได้ให้กำไรเป็นประเด็นหนึ่งในการกำหนดราคาของวารสาร ก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อราคาของวารสาร สำนักพิมพ์ยังระบุอีกว่าพวกเขาได้ช่วยเพิ่มมูลค่าให้สิ่งพิมพ์ในหลายด้าน หากปราศจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการแล้ว การบริการสำหรับผู้อ่านจะขาดหายไป ส่งผลให้จำนวนคนที่เข้าถึงบทความได้มีจำนวนน้อยลง
นักวิจารณ์การเข้าถึงแบบเปิดเสนอว่า นี่ไม่ใช่คำตอบของปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของสำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์ ทว่ามันเพียงแต่เป็นตัวเปลี่ยนทางไหลของเงินจำนวนมาก หลักฐานของสิ่งนี้นั้นมีอยู่ ตัวอย่สงเช่น มหาวิทยาลัยเยลได้ยุติการสนับสนุนทางการเงินสำหรับโปรแกรม BioMed Central’s Open Access Membership ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 มีรายงานเหตุการณ์คล้ายกันในมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์
ศัตรูของต้นแบบการเข้าถึงแบบเปิดเห็นสำนักพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ข้อมูลทางวิชาการ และมองว่าต้นแบบการจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงข้อมูลนั้นจำเป็นที่จะตอบแทนสำนักพิมพ์สำหรับงานของพวกเขาอย่างเหมาะสม "ในความเป็นจริง สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์ เทคนิค และแพทย์ศาสตร์ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรนอกเหนือจากชุมชนทางวิชาการ หากแต่ประกอบด้วยกลุ่มสังคมที่เรียนรู้ที่จะพึ่งอยู่กับรายได้จากสมาชิกวารสาร เพื่อสนับสนุนการสัมมนา การบริการสมาชิก และทุนทางวิชาการ" การตีพิมพ์วารสารทางวิชาการซึ่งสนับสนุนการจ่ายเงินซื้อการเข้าถึงวารสารอ้างว่า การที่พวกเขาทำหน้าที่เป็น "ผู้เฝ้าประตู" ซึ่งช่วยคงชื่อเสียงทางวิชาการ จัดการแก้ไขแบบเสรี รวมไปถึงการแก้ไขและทำดัชนีให้บทความนั้นต้องการทรัพยากรที่หาไม่ได้ภายใต้ต้นแบบการเข้าถึงแบบเปิด สำนักพิมพ์ทางวิชาการในปัจจุบันยังอาจเสียลูกค้าให้กับสำนักพิมพ์แบบเปิดที่เป็นคู่แข่ง
สำหรับนักวิจัยแล้ว การตีพิมพ์บทความในวารสารวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงนั้นถือได้ว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงแชและเพิ่มโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ ทำให้มีความกังวงว่ามุมมองวารสารแบบเปิดนั้นจะมีชื่อเสียงที่ต่างออกไป ส่งผลให้การตีพิมพ์ลดลง
โดยทั่วไป ผู้เขียนบทความในวารสารไม่ไดรับทุนทางการเงินนอกเหนือจากเงินเดือนสำหรับงานของพวกเขาหากไม่นับชื่อเสียงและผลประโยชน์ในรูปของเงินสนับสนุนจากสถาบัน คำเสนองาน และการร่วมงานจากเพื่อนร่วมงาน
นอกจากนี้ยังมีพวกอื่น เช่น PRISM ซึ่งคิดว่าการเข้าถึงแบบเปิดนั้นไม่จำเป็น และอาจก่อผลเสีย โดยอ้างว่าการให้คนนอกสถาบันเข้าถึงสิ่งพิมพ์หลักได้นั้นไม่มีประโยชน์
ข้อโต้แย้งที่ว่างานวิจัยที่ได้รับทุนสาธารณะนั้นควรจะเข้าถึงได้แบบเปิด ถูกลบล้างด้วยการที่ "ปกติแล้วภาษีไม่ได้ถูกจ่ายเพื่อให้ผู้เสียภาษีได้เข้าถึงผลของงานวิจัย หากแต่เพื่อที่สังคมจะได้ประโยชน์จากผลของงานวิจัยเหล่านั้น เช่น ในรูปแบบของการรักษารูปแบบใหม่ สำนักพิมพ?์อ้างว่า 90% ของกลุ่มผู้อ่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่มีอยู่ได้ 90% ผ่านทางหอสมุดแห่งชาติหรือหอสมุดวิจัย แม้ว่าการเข้าถึงจะไม่ได้ง่ายเท่ากับการเข้าบทความออนไลน์โดยตรง แต่มันเป็นไปได้อย่างแน่นอน โดยข้อแย้งเกี่ยวกับงานวิจัยที่มีทุนจากผู้เสียภาษีนั้นนำไปใช้ได้กับเพียงบางประเทศเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ในประเทศออสเตรเลีย 80% ของทุนวิจัยมาจากภาษี ในขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นและประเทสวิตเซอร์แลนด์ มีประมาณ 10% เท่านั้น
ด้วยเหตุผลที่หลายหลาย วารสารแบบเปิดถูกก่อตั้งขึ้นโดยสำนักพิมพ์ที่ล่าเหยื่อซึ่งมีเป้าหมายในการหาต้นแบบที่จะทำกำไรโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของวารสาร ผู้ทบทวนงานวิจัยที่ชื่อว่า เจฟฟรี่ บีลล์ ได้เผยแพร่ "บัญชีรายชื่อของสำนักพิมพ์ที่ล่าเหยื่อ" และวิธีการระบุสำนักพิมพ์ที่มีการปฏิบัติทางการเงินและการบรรณาธิการที่ขัดแย้งกับการปฏิบัติของงานวิจัยที่ดี
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการ