ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การบำรุงรักษา

การบำรุงรักษา (maintenance) เป็นการซ่อมแซมหรือบำรุงเครื่องจักรหรือเครื่องมือ ที่หมดอายุการใช้งานหรือชำรุด

ความเสียหายในระบบอุตสาหกรรมมีกระทบสำคัญในด้านธุรกิจกำไร เครื่องจักรที่ถูกเพิกเฉยปล่อยนิ่งไว้จะทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ การทำงานไม่ได้ถูกทำให้ดีที่สุด (optimized) ทำให้สัดส่วนของค่าใช้จ่ายไปสู่ผลผลิตติดลบ การซ่อมแซมอย่างรวดเร็วในอุปกรณ์เครื่องจักรเป็นสิ่งสำคัญในการประสบความสำเร็จทางธุรกิจ โดยเฉพาะในสภาวการณ์ปัจจุบันที่มีการแข่งขันของมากขึ้น การลงทุนในเครื่องจักรที่สูงขึ้น จึงจำเป็นที่เราต้องทำการบำรุงรักษาให้เครื่องจักรให้มีความพร้อมในการใช้งานอยู่เสมอและมีอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้นานที่สุด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตให้ได้ และจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึง กลยุทธ์ในงานบำรุงรักษา เพื่อจะได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรแต่ละประเภท กระบวนการซ่อมแซมเครื่องจักรหลังจากเกิดความเสียหายแล้วเรียกว่า การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective Maintenance) ซึ่งมีอยู่ในทุกแห่งในกลุ่มอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามเมื่ออุปกรณ์เสียหาย นอกเหนือจากค่าใช้จ่าย ช่วงเวลาที่บำรุงรักษาก็เป็นสิ่งสำคัญ บ่อยครั้งที่กระบวนการผลิตไม่ต้องการให้เครื่องจักรมีปัญหา ทั้งในแง่ของผลิตภัณฑ์และความเสียหายของเครื่องจักร เพราะจะเกิดผลเสียผลิตตามมา ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนหยุดเครื่องเพื่อตรวจสอบเพื่อป้องกันความเสียหาย จึงส่งผลให้ธุรกิจได้เห็นถึงความสำคัญในกระบวนการซ่อมบำรุงรักษาเพื่อป้องกันความเสียหาย หรือที่เรียกว่า การบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน (Preventative Maintenance) เครื่องจักรที่เข้าสู่ PM จะถูกตรวจสอบเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น การตรวจสอบนั้น ๆ จะมีช่วงตารางเวลาที่แน่นอนขึ้นกับพฤติกรรมอุปกรณ์นั้น ๆ รวมทั้งข้อมูลที่เก็บไว้เป็นประวัติซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบได้ โดยถ้ามีค่าในเชิงลบขึ้นมาก็ให้สังเกตว่าอุปกรณ์เริ่มจะมีปัญญาแล้ว ปัจจุบัน CM และ PM ได้ถูกนำมาใช้เป็นทศวรรษ ซึ่งมีส่วนสำคัญดังจะกล่าวต่อไป

(Corrective Maintenance: CM) การบำรุงรักษาแบบแก้ไข ? หรือบ้างก็เรียกว่า Breakdown Maintenance หรือ Run to Failure เป็นวิธีการธรรมดาที่สุดและมีข้อจำกัดที่เห็นได้ชัด และในทุก ๆ อุตสาหกรรมยังใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษาแบบนี้อยู่ โดยจะดำเนินการก็ต่อเมื่ออุปกรณ์เสียหายจนทำให้ต้องหยุดเครื่องหรือหยุดทำ การผลิต หรือเกิดข้อขัดข้องเสียหายในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงานอยู่โดยไม่รู้มาก่อนว่าจะเกิดการเสียหายขึ้นและเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียโดย ส่วนใหญ่จะใช้กับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ไม่มีผลกระทบกับสายการผลิตถ้าหากเกิดการเสียหายขึ้น เช่น หลอดไฟแสงสว่าง อุปกรณ์สำนักงาน ข้อดีของการบำรุงรักษาแบบแก้ไขคือ ได้ใช้ประโยชน์จากอายุการใช้งานของเครื่องจักรอย่างคุ้มค่า ไม่ต้องเสียกำลังคนและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา แต่เราไม่สามารถวางแผนและกำหนดเวลาในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนได้บางครั้งจำเป็นต้องรีบทำจึงทำให้คุณภาพของงานออกมาไม่ค่อยดีและเมื่อเกิดการเสียหายแล้วมักค่อนข้างรุนแรงการซ่อมแซมจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า อย่างไรก็ตาม CM จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น บางครั้งถ้าอุปกรณ์บางส่วนต้องทำการซ่อมแซม ค่าใช้จ่ายสำหรับการเปลี่ยนอะไหล่อย่างเดียวก็มีมากมายแล้ว ยังไม่รวมถึงประเด็นด้าน ความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม (Safety Health and Environment: SHE) อันสืบเนื่องจากอุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ

(Preventive Maintenance: PM) การบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจาก CM ได้มีความพยายามที่จะดูแลรักษาอุปกรณ์ก่อนที่จะเสียหาย โดยทำเช่นนี้ก็เพื่อวางเป้าหมายไม่ให้เกิดความเสียหายอันอาจจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและความเสี่ยง ซึ่งก็คือการบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน บ้างก็เรียกว่า การบำรุงรักษาตามแผน (Planned maintenance Calendar-based maintenance หรือ Historical maintenance) PM เป็นการวางแผนโดยกำหนดระยะเวลาการตรวจสอบและการบำรุงรักษาเครื่องจักรรวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันความเสียหาย หรือวางแผนป้องกันไว้ล่วงหน้าซึ่งจะไม่ทำให้ขบวนการผลิตต้องหยุดฉุกเฉิน สิ่งที่สำคัญของการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันคือการประเมินอายุการใช้งานของเครื่องจักรและทำการบำรุงรักษาก่อนเครื่องจักรเสียหาย โดยทั่วไประยะเวลาทำ PM ดังกล่าวสามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้จากคู่มือของเครื่องจักรจากผู้ผลิตหรือจากประวัติของเครื่องจักรที่ผ่านมา เช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง, ไส้กรองในรถยนต์ เราเปลี่ยนตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนดตัวอย่างนี้ถือว่าเป็นการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันทว่าในทางปฏิบัติเราไม่สามารถที่จะดูแลอุปกรณ์ทุกชนิดตลอดเวลาได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนและตัดสินใจว่าอุปกรณ์ชนิดใดที่ควรจะทำ PM โดยมากมักจะทำการตรวจสอบตามรอบ (interval) ที่ค่อนข้างจะมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ทว่าปัจจัยอื่น ๆ ก็สามารถนำมาใช้ร่วมพิจารณาในการวางแผน PM ได้ เช่น พฤติการการทำงานของเครื่องจักร ประโยชน์ของการบำรุงรักษาแบบวิธีนี้คือเราสามารถกำหนดระยะเวลาในการบำรุงรักษาได้สามารถวางแผนกำลังคนได้เตรียมชิ้นส่วนเครื่องจักรได้และลดการเสียหายของเครื่องจักรลงแต่ข้อเสียคือเราต้องเสียค้าใช้จ่ายในการจัดเก็บชิ้นส่วนเครื่องจักรนอกจากนี้บางครั้งยังเกิดการเสียหายของเครื่องจักรโดยที่ไม่ได้คาดการณ์เกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ผลของการทำ PM ก็ยังไม่เป็นที่รับประกันแน่นอนว่าอุปกรณ์เครื่องจักรจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะทำตามแผนการบำรุงรักษาแล้ว จึงทำให้มีกลยุทธ์การบำรุงรักษาตามสภาพขึ้น

การบำรุงรักษาตามสภาพ หรือบ้างก็เรียกว่า Predictive Maintenance เป็นวิธีบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องจักรอย่างเหมาะสมตามสภาพและเวลา กลยุทธ์การบำรุงรักษาตามสภาพจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานอยู่ที่ข้อมูลปัจจุบันและอดีตย้อนหลังเพื่อกำหนดความสำคัญในการบำรุงรักษาให้ดีที่สุด โดยอาศัยสัญญาณเตือนจากเครื่องจักรซึ่งโดยทั่วไปเครื่องจักรจะให้สัญญาณเตือนก่อนที่เครื่องจักรจะเสียหายเช่น ความร้อน, เสียง, การสั่นสะเทือน เศษผงโลหะต่าง ๆ ถ้าหากเราสามารถตรวจสอบสันญาณเตือนจากเครื่องจักรได้เราก็สามารถที่จะกำหนดการบำรุงรักษาที่จำเป็นก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดความเสียหายได้ทำให้เราลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้เช่นการเปลี่ยนยางรถยนต์โดยดูตามสภาพของดอกยางว่าสึกมากน้อยแค่ไหนแล้วจึงค่อยตัดสินใจเปลี่ยน สิ่งที่สำคัญของการบำรุงรักษาแบบตามสภาพคือเราต้องเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับชนิดของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ และต้องกำหนดความถี่ในการตรวจสอบให้เพียงพอที่จะสามารถตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นได้ การตรวจสภาพรวมของเครื่องจักรจะใช้ระบบตรวจวัดซึ่งไว้ประเมินหาสภาพปัจจุบันของเครื่องจักรและใช้เพื่อทำการวางแผนการบำรุงรักษาเท่าที่จำเป็นเป็น ดังนั้นกลยุทธ์ CBM จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดรวมทั้งเครื่องมือพิเศษสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อไว้ใช้สำหรับพนักงานบำรุงรักษาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์และอะไหล่สำรองน้อยที่สุด เวลาลงเครื่องและเวลาที่ใช้สำหรับบำรุงรักษาดีที่สุด อย่างไรก็ตาม CBM ก็ยังมีประเด็นที่ท้าทายบางประการ อย่างแรกที่สำคัญที่สุด ในการเริ่มใช้กลยุทธ์ CBM ค่อนข้างที่จะมีรายจ่ายสูง เพราะต้อง

การอุปกรณ์ตรวจวัดเพิ่มพิเศษสำหรับเครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเครื่องจักรที่มีความซับซ้อน ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนว่าอุปกรณ์ชนิดใดที่มีความสำคัญที่จะลงทุนติดตั้งเครื่องมือตรวจวัด บางองค์กร กลยุทธ์ CBM ในขั้นแรกได้พุ่งเป้าไปที่การตรวจวัดความสั่นสะเทือน (vibration) สำหรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่หมุนด้วยความเร็วสูงเท่านั้น ขั้นที่สอง การนำ CBM มาประยุกต์ใช้จะส่งผลเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอย่างมาก อาจจะครอบคลุมทั้งองค์กรบำรุงรักษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเช่นนี้ค่อนข้างจะกระทำลำบาก รวมไปถึงประเด็นด้านเทคนิคบางประการ แม้ว่าอุปกรณ์บางชนิดสามารถตรวจวัดค่าต่าง ๆ ออกมา อาทิเช่น ค่าความสั่นสะเทือน อุณหภูมิ หรือ ความดัน แต่ค่าเหล่านี้ถ้าหากจะนำมาแปลผลออกมาเป็นสภาพเครื่องก็ไม่ใช่ง่ายนักประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากกลยุทธ์ CBM คือลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ลดการเสียหายของเครื่องจักรลง ใช้ประโยชน์อายุการใช้งานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์มากขึ้นเมื่อเทียบกับการบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรแต่เราจำเป็นที่จะต้องลงทุนในการจัดหาเครื่องมือหรือจ้างผู้รับเหมาจากภายนอกเข้ามาตรวจสอบซึ่งเครื่องมือบางตัวค่าใช้จ่ายจะค่อนขางสูงมากอาจไม่คุ้มลงทุนอาจต้องจ้างผู้รับเหมาภายนอกเข้ามาตรวจสอบเป็นครั้งคราว จะทำให้เราไม่ต้องแบกรับภาระเรื่องต้นทุนคงที่ นอกจากนี้หลังจากซื้อเครื่องมือมาแล้วเราอาจต้องลงทุนเกี่ยวกับการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อให้มีความสามารถในการใช้เครื่องมือซึ่งค่าใช้จ่ายอาจอยู่ที่ประมาณ 30% ของเครื่องมือเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสภาพเครื่องจักรมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดผู้เขียนจะขอกล่าวถึงบางกลุ่มที่ใช้กันค่อนข้างแพร่หลายในบ้านเราเท่านั้นการตรวจสภาพเครื่องจักรจากการสั่นสะเทือน ด้วยการใช้ Vibration Analysis การตรวจสอบสภาพเครื่องจักรจากการสั่นสะเทือนเป็น การตรวจสอบความผิดปกติ และความเสียหายของเครื่องจักรเชิงกล เป็นส่วนใหญ่โดยมีเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน (Vibration Analyzer) เป็นตัวเก็บข้อมูลและแปลงเป็นข้อมูลทางความถี่ซึ่งเราสามารถ ทราบถึงปัญหาของเครื่องจักรได้จากความถี่ที่เราเก็บได้ดั้งนั้นคนที่ จะสามารถอ่านข้อมูลทางความถี่และประเมินผลได้ต้อง มีความเข้าใจเรื่องของการวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน ถึงจะสามารถประเมินผลระดับความรุนแรงของการเสียหายและหาสาเหตุของการเสียหายได้เพื่อจะนำข้อมูลไปวางแผนการซ่อมและจัด เตรียมอะไหล่ต่อไปการตรวจสภาพเครื่องจักรจากอุณหภูมิ ด้วยการใช้ Infrared Thermography กล้องถ่ายภาพทางความร้อนเป็นเทคโนโลยีที่ใช้บอกสภาพ ของอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและทางกลโดยไม่ต้องสัมผัสเครื่องจักรที่ทำ ให้เราเห็นสภาพของเครื่องจักร ระบุปัญหาโดยตรวจสอบ ความผิดปกติของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงทำให้เราสามารถ แก้ไขปัญหาได้ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้จะมีประโยชน์มากในการนำ ไปตรวจสอบอุปกรณ์ทางไฟฟ้าในปัจจุบันนี้มีการนำไป ใช้งานอย่างแพร่หลายมากในหลาย ๆ อุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมอาหาร, ปิโตรเคมีคอล, ยานยนต์การตรวจสภาพเครื่องจักรด้วยสายตา ด้วยการใช้ Stroboscope เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสภาพเครื่องจักรจากการมองเห็นขณะเครื่องจักรทำงานโดยอาศัยการปล่อยแสงที่เท่ากับความเร็วรอบของเครื่อง จักรจึงทำให้เราสามารถมองเห็นภาพสะเหมือนหยุดนิ่งเราจึงสามารถตรวจสอบสภาพเครื่องจักรหรือชิ้นส่วนหมุนได้ในขณะทำงาน ใช้ในการตรวจสอบสภาพสายพาน, ใบพัดลม, คับปลิ้ง และชิ้นส่วนหมุนอื่น ๆ อีกจุดประสงค์หนึ่งของ Stroboscope คือใช้ในการวัดความ เร็วรอบของเครื่องจักรการตรวจสภาพเครื่องจักรจากการฟัง ด้วยการใช้ Ultrasonic ใช้ในการตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาการรั่วซึมตามข้อต่อ, ท่อ, วาล์ว และใช้ในการบอก สภาพของเครื่องจักรหมุนที่เกิดปัญหาจากการเสียดสีของโลหะได้ ซึ่งในขณะนี้ต้นทุนของพลังงานมีค่าสูงขึ้นเราจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของพลังงานการตรวจสภาพเครื่องจักรจากสารหล่อลื่น ด้วยการใช้ Oil Analysis การวิเคราะห์น้ำมัน (Oil Analysis) สามารถบอกถึงสมรรถนะหรือสภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์จาก การตรวจสอบสภาพการสึกหรอ, การเสื่อมสภาพของ น้ำมันหล่อลื่นและสิ่งสกปรกปนเปื้อนต่าง ๆ โดยจะทำการเก็บตัวอย่างของน้ำมันที่จะตรวจสอบไปตรวจสอบหาคุณสมบัติของสารหล่อลื่นและจะทำการวิเคราะห์เศษโลหะ เพื่อดูหาสาเหตุของการเสียหายและระดับความรุนแรงประโยชน์ที่ได้รับคือเราเปลี่ยนน้ำมันตามสภาพของน้ำมันใช้น้ำมันได้อย่างคุ้มค่าและมีผลทำให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานมากขึ้น

โดยสรุปแล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรในปัจจุบันมีหลายเทคโนโลยีคงเป็นไปไม่ได้ที่มีเพียงเทคโนโลยีเดียวที่จะสามารถตรวจสอบปัญหาของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ได้ทั้งหมดแนวโน้มในอนาคตจะนำหลาย ๆ เทคโนโลยีเข้ามาช่วยกันในการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบปัญหาและเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจว่าจะบำรุงรักษาเครื่องจักรในช่วงใดเพื่อความเหมาะสมที่สุด

การบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) บ้างก็เรียกว่า Design out Maintenance หรือ Precision Maintenance คือการแก้ปัญหาที่สาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องจักรเสียหาย เราทำการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าเพื่อลดโอกาสการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรซึ่งจะทำให้เครื่องจักรมีอายุยาวนานขึ้นเมื่อถูกนำไปใช้งาน อีกการบำรุงรักษาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งสามวิธีไม่สามารถทำให้อายุการใช้งานของเครื่องจักรเพิ่มขึ้นเพียงแต่หามาตรการมาใช้เพื่อให้ เครื่องจักรใช้งานได้นานที่สุดตามที่ผู้ผลิตได้ออกแบบไว้ ข้อดีของการบำรุงรักษาแบบเชิงรุก อายุการณ์ใช้งานของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น, ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงลดการเสียหายของเครื่องจักรแต่เราต้องเสียกำลังคนในการรวบรวมข้อมูลและทำการแก้ไข ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตที่เก็บข้อมูลจากลูกค้าและทำการปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ เช่นเมาส์ที่เราใช้กับคอมพิวเตอร์แต่ก่อนจะเสียหายที่ลูกกลิ้งบ่อยมากปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาไปใช้เป็นแบบใช้แสง (Optical) ซึ่งอายุการใช้งานนานขึ้นเราไม่ต้องเสียเวลามาทำความสะอาดที่ลูกกลิ้งอีกปัจจัยที่เราต้องนำมาพิจารณาในการตัดสินใจการเลือกกลยุทธ์การบำรุงรักษาคือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งเมื่อเครื่องจักรหยุด, ไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าทันเวลาได้, ระยะเวลาที่สูญเสียไป ในการซ่อมแซมและรอคอยชิ้นส่วนที่จะใช้ ในกรณีที่ไม่มีของในสโตร์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าแรงคนงาน, ราคาของชิ้นส่วน เราต้องนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาและตัดสินใจในการเลือกใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษา จากที่กล่าวถึงกลยุทธ์ในงานบำรุงรักษามาทั้งหมดคงไม่มีกลยุทธ์ใดดีที่สุดแต่สิ่งที่สำคัญคือการเลือกใช้ให้เหมาะกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์แต่ละชนิดและโอกาส นั้นคือการวางแผนการบำรุงรักษา (Maintenance Plan) ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการกำหนดกลยุทธ์ในงานบำรุงรักษา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406