การบันทึกเสียงจะต้องใช้ห้องบันทึกเสียงที่มีการออกแบบเฉพาะการบันทึกเสียง โดยมีการออกแบบให้เก็บเสียงไม่ให้เสียงสะท้อน และไม่ให้เสียงจากภายนอกเล็ดลอดเข้ามาได้ เรียกว่าระบบ Acoustic คือให้มีความเป็นธรรมชาติของเสียงมากที่สุด โดยอาจจะบุผนังด้วยวัสดุซับเสียงที่มีความอ่อนนุ่ม เช่น ผนังกระดานชานอ้อย ฟองน้ำที่ออกแบบเฉพาะใช้ในการบุผนังห้องบันทึกเสียง หรือ รังใส่ใข่
ห้องบันทึกเสียงโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนควบคุมคือห้องที่รวบรวมอุปกรณ์ในการบันทึกเสียง และห้องผู้ประกาศ คือห้องที่จะมีเพียงไมโครโฟนหรือเครื่องดนตรีที่ต้องการจะบันทึกเท่านั้น โดยจะมีสายสัญญาณต่อพ่วงไปยังห้องควบคุมที่จะมีผนังกั้นแต่จะมีกระจกตรงกลางเพื่อให้มองเห็นการบันทึกเสียงของผู้ประกาศ
ฉนวน คือ ฉนวนคือ วัสดุที่เป็นตัวต้านทานหรือคั่นกลางระหว่างวัตถุร้อนหรือเย็นกับอุณหภูมิผิวด้านนอก หรือคั่นกลางระหว่างคลื่นเสียงก้บชั้นบรรยากาศ ฉนวนหรือ insulation เป็นคำที่กว้างมาก แต่สามารถสรุปได้สั้นๆว่าฉนวนคือตัวต้านทาน ________________________________________ ฉนวนกันเสียง สำคัญอย่างไร ฉนวนกันเสียง สำคัญมากสำหรับผู้อยู่อาศัยหรือผู้ใช้งานอาคาร โรงงานหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่ประสบปัญหาด้านเสียง ทั้งเรื่องเสียงดังเกินกว่ากฎหมายกำหนด เสียงก้อง และ เสียงสะท้อนภายในอาคาร เสียงจากการทำงานของเครื่องจักรในโรงงาน และเสียงรบกวนภายในห้องอัดเสียง หรือ ห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ เป็นต้น ฉนวนกันเสียงที่ดี และได้รับการออกแบบไว้อย่างถูกต้อง จะช่วยลด ปัญหาด้านมลภาวะทางเสียง ให้หมดไป หรือลดน้อยลงไปจนรู้สึกได้ ________________________________________ คู่มือการใช้งานฉนวนกันเสียง สำคัญหรือไม่ อย่างไร คู่มือการใช้งานฉนวนกันเสียง ส่วนใหญ่จะบอกกล่าวถึง วิธีการดูแลบำรุงรักษา ฉนวนกันเสียง ที่ได้ติดตั้งไปแล้วมากกว่า แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคู่มือ คือ สเป็คฉนวน และ ค่าการลดเสียง ที่ระบุไว้สำหรับฉนวนกันเสียงแต่ละประเภท ก่อนจะมีการ ติดตั้งฉนวน ควรให้ความสำคัญกับค่าการลดเสียง ของฉนวนประเภทนั้นๆมากกว่า ________________________________________ ฉนวนกันความร้อน ต่างจาก ฉนวนกันเสียง ตรงไหน การแก้ปัญหาเรื่องเสียง ในบางครั้งสามารถนำ ฉนวนกันความร้อน มาประยุกต์ใช้แทน ฉนวนกันเสียงได้ แต่ก็ไม่ทุกครั้ง หรือทุกงานไป เพราะ ฉนวนกันเสียงมีตัวแปรที่ต้องพิจารณาคือค่า NRC (Noise Reduction Coefficient) และค่า STC (Sound Transmission Class) ซึ่งสำคัญมากในการบอกว่า ฉนวนนั้นจะลดเสียงลงได้ประมาณเท่าไร แต่สำหรับฉนวนกันความร้อน ตัวแปรที่ต้องพิจารณาจะเป็นเรื่องของ Thermal Conductivity และ Density เป็นหลัก เพราะสองค่านี้สามารถนำมาคำนวณได้ว่า ความร้อนจะลดลงเหลือเท่าไรหากติดตั้งฉนวนไปแล้ว ________________________________________ ฉนวนกันเสียง ราคาต่างกันเพราะอะไร ราคาฉนวนกันเสียง ที่ต่างกันขึ้นอยู่กับสองปัจจัยหลักคือ วัตถุประสงค์หลัก และวัตถุประสงค์รองในการใช้งาน วัตถุประสงค์หลักจะเป็นเรื่องของ ประสิทธิภาพในการลดเสียงของฉนวน ตัวอย่างเช่น ฉนวน A มีความหนา 1 นิ้ว แต่สามารถลดเสียงดังลงได้เท่ากับฉนวน B ที่มีความหนา 4 นิ้ว สำหรับงานแก้ปัญหาด้านเสียง แล้วถือได้ว่าฉนวน A มีประสิทธิภาพในการลดเสียงได้ดีกว่าฉนวน B เป็นต้น ส่วนวัตถุประสงค์รอง ส่วนใหญ่ก็คือความสวยงาม ความเข้ากันได้ หรือความลงตัวระหว่างฉนวนกันเสียง กับเฟอร์นิเจอร์ในอาคาร ตัวอย่างเช่น หากแก้ปัญหาเสียงดังในโรงงาน โดยใช้ ฉนวนซับเสียง ที่ห่อด้วยผ้าสีขาวหรือผ้าสีดำ ก็คงไม่เป็นประเด็น แต่กับห้องรับแขก หรือ ห้องนั่งเล่น ผู้ใช้งานอาจจะ ต้องการให้ห้องนั้นดูมีสีสันมีชีวิตชีวา ทำให้ต้องเลือกสี หรือลวดลายของ ฉนวนซับเสียง ที่ตนเองต้องการ ทั้งสองปัจจัยที่กล่าวมาจะมีผลโดยตรงต่อ ราคาของฉนวนกันเสียง ที่เราต้องการเลือกใช้ ________________________________________ ฉนวนกันเสียง ใช้ได้ผลจริงมั๊ย เพราะอะไร หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์ว่า การเลือกฉนวนกันเสียง สำหรับ แก้ปัญหาเสียงดัง นั้น บางครั้งก็ได้ผลดี บางครั้งก็ไม่ได้ผลเลย หรือได้ผลที่น่าพอใจน้อยมากจนดูแล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ต้องขอตอบว่า ฉนวนกันเสียง ที่ออกแบบและผลิตมาจำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็น ฉนวนซับเสียง หรือฉนวนกันเสียง ที่สามารถนำมาใช้ แก้ปัญหาด้านเสียง ได้จริง แต่ข้อผิดพลาดที่ทำให้ การแก้ปัญหาด้านเสียง ไม่ได้ผล มักเกิดจาก วิธีการเลือกฉนวน หรือความไม่เข้าใจเรื่อง ปัญหาด้านเสียง ของทางเจ้าของบ้าน หรือผู้รับเหมาเอง เพราะมักจะเข้าใจกันผิดว่า การแก้ปัญหาเสียงดัง เสียงก้อง นั้น แค่ใช้ฉนวนหรือแผ่นอะไรก็ได้ที่หนาๆเอาไปบัง ปิด กั้นแนวทางการเดินของคลื่นเสียงไว้ ก็น่าจะ แก้ปัญหาเรื่องเสียงได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง และมักลงเอยด้วยการเสียเงินซ้ำซ้อน หรือเสียเงินเปล่า ในการติดตั้งฉนวนกันเสียง ________________________________________ ฉนวนป้องกันเสียงรบกวน ดูดซับเสียง ช่วยลดเสียงสะท้อน ได้อย่างไร หลักการทำงานของ ฉนวนป้องกันเสียงรบกวน จะแตกต่างกับ ฉนวนดูดซับเสียง กล่าวคือ ฉนวนป้องกันเสียง จะมีผิวเรียบแข็งเพื่อป้องกันมิให้ คลื่นเสียง เดินทางผ่านจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้ แต่ ฉนวนดูดซับเสียง จะมีรูพรุนของเส้นใย หรือไฟเบอร์ของฉนวนในการยอมให้ เสียงเดินทางผ่านเข้าไปยังฉนวน ในขณะเดียวกันก็จะ ดูดซับพลังงานเสียง เอาไว้ส่วนหนึ่ง และเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ทำให้ เสียงที่ผ่านฉนวน ออกมามีความแรง และคลื่นความถี่ที่ลดลง ส่งผลให้เสียงนั้นเบาลงไป ________________________________________ แผ่นซับเสียง , แผ่นกันเสียง , แผ่นเก็บเสียง แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร แผ่นซับเสียง (sound absorption) และ แผ่นเก็บเสียง (acoustic board) จะใช้สำหรับ แก้ปัญหาเสียงก้อง และ เสียงสะท้อน ในห้องหรือในอาคาร มีหลักการทำงานคือยอมให้เสียงผ่านเข้ามาใน ฉนวนและดูดซับพลังงานเสียง นั้นเอาไว้ส่วนหนึ่ง เปรียบเสมือนกับเราเอาฟองน้ำซับน้ำที่หกลงบนโต๊ะ แต่สำหรับ แผ่นกันเสียง (soundproof) จะมีความแตกต่างตรงที่จะไม่ยอมให้เสียงผ่านไปได้ คล้ายกับการสาดน้ำใส่แผ่นพลาสติคที่น้ำจะกระเด็นกลับมา เป็นต้น ________________________________________ แผ่นกันเสียง ราคา แตกต่างกันมั้ย แผ่นกันเสียง มีราคา แตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ทำแผ่น และ ค่าการกันเสียง ที่ผู้ผลิตออกแบบมา รวมไปถึงสีสัน หรือการเคลือบและปิดผิวหน้าของ แผ่นกันเสียง แต่ละค่ายว่า เลือกใช้วัสดุที่มีราคา หรือความหรูหราแค่ไหนด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ใช้งานก็จะมีงบประมาณในการ แก้ปัญหาเสียงดัง อยู่ในใจแล้ว การเลือกแผ่นกันเสียง จึงเป็นการเลือกในลักษณะที่ต้องการให้ราคาสอดคล้องกับงบประมาณมากกว่า ________________________________________ วัสดุดูดซับเสียง วัสดุซับเสียง วัสดุกันเสียง วัสดุเก็บเสียง มีอะไรบ้างที่นิยมกันในปัจจุบันนี้ วัสดุซับเสียง และ วัสดุกันเสียง ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภทที่เป็นไฟเบอร์ หรือเส้นใย อย่างเช่น ใยแก้ว และใยหิน ซึ่งจะมีความอ่อนนุ่มให้ตัวได้ และส่วนใหญ่จะไม่กันน้ำ กับอีกประเภทคือ วัสดุที่เป็นยาง หรือไวนิล ที่มีผิวเรียบ ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหา หากสัมผัสกับน้ำหรือของเหลว ________________________________________ ผนังกันเสียง ผนังเก็บเสียง ผนังกั้นเสียง เป็นอย่างไร ผนังกันเสียง และ ผนังกั้นเสียง เป็นผนังเดียวกัน ทำหน้าที่มิให้ คลื่นเสียงเดินทางผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้ เช่น เครื่องสับไม้ที่มีเสียงดัง 100 dBA เมื่อเครื่องทำงาน และชุมชนนอกโรงงานได้ยินเสียงดังนี้ที่ระดับ 90 dBA เมื่อมีการทำ ผนังกันเสียง ระหว่างโรงงานกับชุมชน จะทำให้ระดับเสียงที่ชุมชนนอกโรงงานได้ยินลดลงจาก 90 dBA เหลือเพียง 75-80 dBA เป็นต้น ส่วน ผนังเก็บเสียง นั้นจะหมายถึง ผนังที่ลดเสียงสะท้อน ในห้องประชุม หรือ convention hall มากกว่า ________________________________________ ผู้เชี่ยวชาญงานติดตั้งฉนวนกันเสียง สำคัญอย่างไร การแก้ปัญหาเสียงดัง ให้ได้ผลดีที่สุดด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด เป็นเป้าประสงค์หลักสำหรับเจ้าของโรงงาน หรือผู้ใช้อาคารที่มี ปัญหาด้านเสียง ทุกท่าน การเลือกใช้บริการจาก ผู้เชี่ยวชาญงานติดตั้งฉนวนกันเสียง ทั้ง การวิเคราะห์ปัญหาด้านเสียง เบื้องต้น การออกแบบ และ เลือกวิธีการแก้ปัญหาเสียงดัง ตามงบประมาณที่ลูกค้ามี รวมไปถึง การรับรองผลด้านเสียง ที่จะลดลงภายหลัง ติดตั้งฉนวนกันเสียงแล้ว หรือแม้แต่การ รับประกันผลงานการติดตั้ง หลังจากที่ได้ส่งมอบงานให้เจ้าของงานแล้ว ล้วนเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนการตัดสินใจ เลือกใช้บริการงาน ติดตั้งฉนวนกันเสียง เพราะหากเราเลือก “ใครก็ได้” มาทำงานด้านนี้ ผลสรุปด้าน การแก้ปัญหาด้านเสียง ก็อาจจะออกมาในรูป “พอใช้ได้” หรือเข้าข่าย “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” นั่นเอง แต่หากว่าเราจริงจังกับเรื่อง เสียงดัง หรือปัญหาอยู่ในระดับวิกฤต แนะนำว่าการเลือก “มืออาชีพ” เข้ามาแก้ปัญหา มักจะให้ผลลัพธ์ประเภท “ทีเดียวจบ” ไม่ต้องมาเสียเล็กเสียน้อย หรือกังวลใจกับปัญหาที่คาราคาซังอีกต่อไป สำหรับวิธีพิจารณาว่าผู้ให้บริการนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพด้านการแก้ปัญหาเสียงหรือไม่นั้น มีวิธีดูง่ายๆคือ ต้องเป็นผู้ทำงานด้านเสียงโดยเฉพาะ มีผู้เชี่ยวชาญ หรือวิศวกร ที่มีความรู้จริงด้านการแก้ปัญหามลภาวะทางเสียง มีช่างเทคนิคที่เข้าใจถึง วิธีการติดตั้งฉนวนกันเสียง เป็นอย่างดี มีเครื่องมือ เฉพาะทางด้านเสียง ที่มีการเทียบวัดให้ได้มาตรฐานเป็นประจำทุกปี รวมไปถึงการมีลูกค้าอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในประวัติการทำงานให้ตรวจสอบ เป็นต้น