ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การทัพนอร์เวย์

การทัพนอร์เวย์ (9 เมษายน - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940) นั้นเป็นการเผชิญหน้ากันอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี

เยอรมนีนั้นต้องการที่จะครอบครองนอร์เวย์เพื่อเหล็กและโลหะจากสวีเดนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งขนส่งทางเรือจากเมืองท่านาร์วิก ด้วยการยึดครองเมืองท่าอย่างสมบูรณ์ ก็จะทำให้การขนส่งทรัพยากรดังกล่าวเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าจะถูกขัดขวางด้วยการปิดล้อมทางทะเลจากอังกฤษ นอกจากนั้นแล้ว มันยังทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรและเยอรมนีสามารถรบกันได้ด้วยการรบแบบสนามเพลาะซึ่งทั้งสองฝ่ายหวาดกลัว ต่อมาเมื่อยุทธนาวีมหาสมุทรแอตแลนติกขยายออกไป สนามบินของนอร์เวย์ เช่น สนามบินโซลา ในเมืองสตาแวนเจอร์ ซึ่งเครื่องบินสำรวจเยอรมันใช้เพื่อออกปฏิบัติการในภาคพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก

ทั้งสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสต่างก็ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือทางทหารกับโปแลนด์ และอีกสองวันหลังจากการรุกรานโปแลนด์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ทั้งสองประเทศก็ได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ทั้งสองก็มิได้เปิดแนวรบด้านตะวันตก และมิได้เกิดการรบกันครั้งสำคัญใด ๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลายเดือนที่เรียกกันว่า สงครามลวง

ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายกำลังมองหาแนวรบที่สอง สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร ฝรั่งเศสนั้นมีความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการรบแบบสนามเพลาะอีกครั้งแบบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สำหรับฝ่ายเยอรมนี นายทหารระดับสูงนั้นมีความเห็นว่าเยอรมนีนั้นยังมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะทำการรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในขณะนี้ ดังนั้นจึงควรโจมตีนอร์เวย์ก่อนจึงจะสามารถแผ่อิทธิพลออกไปในภายหลัง

นอร์เวย์ซึ่งยังคงวางตัวเป็นกลาง นั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายโดยมีสองสาเหตุ อย่างแรกคือความสำคัญของเมืองท่านาร์วิก ซึ่งสามารถขนส่งเหล็กและโลหะจากสวีเดน ซึ่งเยอรมนีต้องการมาก เส้นทางเดินเรือดังกล่าวยังเป็นเส้นทางสำคัญมากเป็นพิเศษในช่วงที่ทะเลบอลติกนั้นได้กลายเป็นน้ำแข็ง นาร์วิกยังได้มีความสำคัญมากขึ้นต่ออังกฤษ เมื่ออังกฤษทราบว่าโครงการแคทเธอรีนของอังกฤษที่จะครอบครองทะเลบอลติกนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ อย่างที่สอง เมืองท่าของนอร์เวย์ยังเป็นช่องว่างของการปิดล้อมเยอรมนี ซึ่งเรือรบเยอรมันสามารถแล่นออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกได้

นอร์เวย์ยังถูกมองจากพรรคนาซีว่าเป็นแหล่งกำเนิดของชนชาตินอร์ดิก-อารยันตามคำกล่าวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งพรรคนาซี

การยึดครองนอร์เวย์ยังมีผลสำคัญยิ่งต่อความสามารถในการใช้อำนาจทางทะเลเพื่อต่อกรกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร เมื่อนอร์เวย์ยังคงดำรงตนเป็นกลาง โดยไม่ถูกยึดครองโดยคู่สงครามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอร์เวย์ก็จะยังคงไม่เป็นพิษภัย แต่ความอ่อนแอในการป้องกันชายฝั่งของนอร์เวย์ และความไร้ความสามารถของกองทัพบกที่จะต่อกรกับศัตรูที่เข้มแข็งกว่า นายพลเรือรีดเดอร์ได้ชี้ให้เห็นหลายครั้งถึงความเป็นอันตรายของนอร์เวย์ที่จะมีแก่เยอรมนีโดยอังกฤษ เมื่ออังกฤษฉวยโอกาสที่จะรุกรานนอร์เวย์ ถ้ากองเรืออังกฤษยึดเมืองท่าเบอร์เกน นาร์วิกและทรอนด์แฮมได้ เยอรมนีจะถูกปิดล้อมทางทะเลเหนือโดยสิ้นเชิง และกองทัพเรือเยอรมันที่ประจำอยู่ในทะเลบอลติกจะตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง

สหภาพโซเวียตรุกรานฟินแลนด์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1939 ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นได้ร่วมมือกับเดนมาร์กและสวีเดนที่จะช่วยเหลือสวีเดนจากผู้รุกราน

เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นโอกาสสำหรับฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งได้มอบความเห็นใจอย่างจริงใจต่อฟินแลนด์ และยังเห็นโอกาสที่จะอ้างที่จะส่งกองกำลังของตนเขาไปยึดครองแหล่งแร่ในสวีเดนและเมืองท่าในนอร์เวย์ แผนการเริ่มต้นนั้นกำหนดให้มีกองพลทหารราบ 2 กองพลซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนทหารเป็น 150,000 นาย เพื่อทำการรบในสวีเดนตอนกลาง

การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลแก่เยอรมนี สนธิสัญญาเมโลตอฟ-ริบเบนทรอฟนั้นได้ทำให้ฟินแลนด์กลายเป็นเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต และข้างเยอรมนีก็ได้วางตัวเป็นกลางในความขัดแย้งดังกล่าว นโยบายนี้ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านเยอรมนีขึ้นในประชาชนแถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่มีความเชื่อกันว่าเยอรมนีนั้นเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต ความกลัวเยอรมนีนั้นทำให้นายทหารระดับสูงของเยอรมนีทำนายว่านอร์เวย์และสวีเดนอาจรับเอาความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตร

แต่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้น เนื่องจากนอร์เวย์และสวีเดนได้เพิ่มความระมัดระวังหลังเฝ้าจับตามอง "การทรยศโดยชาติตะวันตก" ของโปแลนด์เมื่อโปแลนด์ถูกรุกรานในเดือนกันายายน ทั้งสองประเทศนั้นไม่ต้องการที่จะทำลายความเป็นกลางของตนและเข้าไปพัวพันกับสงครามโดยให้ทหารชาวต่างชาติเดินผ่านเข้ามาตามแนวชายแดน ด้วยสนธิสัญญาสันติภาพมอสโกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1940 ทำให้แผนการต่างๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรมีอันต้องล้มเลิกไป

นายทหารระดับสูงของเยอรมนีนั้นเพ่งความสนใจไปยังความเป็นกลางของนอร์เวย์มาก ตราบเท่าที่เรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรยังไม่แล่นเข้าสู่น่านน้ำของทะเลนอร์เวย์ เรือขนส่งสินค้าของเยอรมนีก็ยังคงปลอดภัยที่จะแล่นไปตามชายฝั่งของนอร์เวย์และขนส่งโลหะจากสวีเดนซึ่งเยอรมนีนำเข้าอยู่

จอมพลเรืออิริช เรดเดอร์ ได้โต้แย้งต่อแผนการการโจมตี เขานั้นเชื่อว่าเมืองท่าของนอร์เวย์นั้นเป็นที่ที่สะดวกที่สุดที่เรืออูของเยอรมันใช้สำหรับการปิดล้อมหมู่เกาะอังกฤษ และยังคงมีความเป็นไปได้ที่กองทัพสัมพันธมิตรอาจจะยกพลขึ้นบกที่สแกนดิเนเวีย

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 1939 ฮิตเลอร์และเรดเดอร์ได้เดินทางไปพบกับวิดคัน ควิสลิง (ต่อมาเขาก็ได้รับฉายาว่าเป็น "ผู้ทรยศระหว่างโลก" เลยทีเดียว) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลนิยมนาซีมาก่อนในนอร์เวย์ เขาได้บอกกับฮิตเลอร์และเรดเดอร์ถึงภัยคุกคามขนาดใหญ่ที่อังกฤษอาจจะโจมตีนอร์เวย์และรัฐบาลนอร์เวย์จะสนับสนุนการยึดครองของเยอรมนีอย่างเป็นความลับ (ข้อความในตอนหลังนั้นไม่เป็นความจริง) เขายังบอกกับอีกสองคนด้วยว่าเขาอยู่ในตำแหน่งที่รับประกันจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่กองทัพเยอรมัน รวมไปถึงการลดปริมาณยามฝั่งของนอร์เวย์และช่วยอำนวยความสะดวกที่จะสร้างฐานทัพให้แก่เยอรมนี อีกสามวันต่อมา ฮิตเลอร์เรียกประชุมเพื่อวางแผนการรุกรานนอร์เวย์

ระหว่างการประชุมครั้งที่สองกับนายควิสเซลลิงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ฮิตเลอร์ย้ำถึงความปรารถนาของเขาที่จะให้นอร์เวย์คงความเป็นกลางแต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะขยายขอบเขตของสงครามมายังนอร์เวย์หรือไม่ ถ้าใช่ เขาก็จะดำเนินการตอบโต้ทันที ข้อพิรุธนั้นเกิดขึ้นเมื่อนายควิสเซลลิ่งได้พูดเกินความเป็นจริง ฮิตเลอร์จึงยกเลิกแผนการต่างๆ ที่จะร่วมมือกับเขาในอนาคต

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1940 เรือบรรทุกเยอรมัน อัลท์มาร์ค (เยอรมัน: Altmark) ได้บรรทุกเชลยสงครามชาวอังกฤษจำนวน 303 คน ได้รับอนุญาตให้แล่นผ่นน่านน้ำของนอร์เวย์ได้ ตามกฎหมายนานาชาติอนุญาตให้เรือพลเรือนจากประเทศสงครามสามารถจอดพักได้เป็นบางครั้งในน่านน้ำของประเทศเป็นกลางหากได้รับอนุญาตจากประเทศนั้นๆ กลุ่มของเรือรบอังกฤษได้ปรากฏตัวขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ขณะที่เรืออัลท์มาร์คยังคงจอดอยู่ที่ริมฝั่งของนอร์เวย์ เรือรบอังกฤษได้ฝ่าฝืนกฎหมายนานาชาติและความเป็นกลางของนอร์เวย์ เรือเอชเอมเอสคอร์แซกได้เข้าโจมตีเรืออัลท์มาร์ค สังหารทหารเยอรมันไปเจ็ดนายและปลดปล่อยนักโทษทั้งหมด การละเมิดความเป็นกลางได้ก่อให้เกิดความโกรธในความรู้สึกของชาวนอร์เวย์ และมีปากเสียงกันระหว่างสองประเทศ

ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะทำให้นอร์เวย์ตัดขาดการติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรและเกือบจะทิ้งแผนไปแล้ว แต่ว่าแผนการดังกล่าวก็ถูกเลื่อนออกไปด้วยความหวังว่านอร์เวย์อาจจะยังคงเห็นด้วยที่จะให้ทการสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่นั่น

สำหรับฝ่ายเยอรมนี เหตุการณ์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่านอร์เวย์นั้นไม่มีความสามารถที่จะรักษาความเป็นกลางไว้ได้ และอังกฤษเองก็มิได้ยินยอมวางตัวเป็นกลางของนอร์เวย์ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้เร่งแผนการรุกรานให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด แผนการคือนำเอานอร์เวย์เข้าสู่สงครามและเข้ายึดเมืองท่านาร์วิกที่สำคัญ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายพลนิโคเลาส์ ฟอน ฟัลเก็นโฮสต์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการการโจมตีดังกล่าว

หลังสิ้นสุดสงครามฤดูหนาว ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตัดสินใจว่าการที่ปล่อยให้นอร์เวย์หรือสวีเดนถูกยึดครองนั้นจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี และมีโอกาสทำให้กลุ่มประเทศเป็นกลางเข้าเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสคนใหม่ คือ ปอล เรย์โนด์ นั้นได้มีท่าทีรุนแรงกว่านายกรัฐมนตรีคนก่อนและต้องการดำเนินการกับเยอรมนี เชอร์ชิลล์นั้นได้พยายามอย่างยิ่งที่จะโจมตีและยึดครองนอร์เวย์ เนื่องจากเขาก็มีความต้องการที่จะย้ายการสู้รบไปจากแผ่นดินของอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลาย

แผนการของเชอร์ชิลล์ในการวางทุ่นระเบิด ปฏิบัติการวิลเฟรด ได้ถูกนำออกมาใช้ แผนการดังกล่าวมีแนวคิดที่จะทำให้เรือบรรทุกขนส่งจำเป็นต้องแล่นเข้าสู่น่านน้ำสากลซึ่งเรือรบอังกฤษสามารถทำลายทิ้งได้ ประกอบด้วยแผน อาร์ 4 ซึ่งอังกฤษจะตอบโต้ในทันทีที่เยอรมนีเข้าขัดขวาง ยึดเมืองทรอนเฮล์มและเบอร์เก้นจากนั้นก็ทำลายสนามบินโซลา

ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นไม่เห็นด้วยกับการใช้ปฏิบัติการเรือหลวงอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้จะเป็นการวางทุ่นระเบิดตามแนวแม่น้ำไรน์ ฝ่ายอังกฤษสนับสนุน แต่ว่าฝรั่งเศสคัดค้าน เนื่องจากประชาชนชาวฝรั่งเศสไว้ใจในแนวป้องกันตามแม่น้ำไรน์และหวาดกลัวกับการแก้แค้นของเยอรมนี จากความล่าช้านี้ ปฏิบัติการวิลเฟรดจึงต้องเลื่อนจากวันที่ 5 เมษายนไปเป็นวันที่ 8 เมษายนเมื่ออังกฤษตกลงใจที่จะวางทุ่นระเบิดในน่านน้ำนอร์เวย์โดยไม่สนใจกับฝรั่งเศสอีก

ฝ่ายเยอรมนีได้เตรียมการสำหรับการรุกรานนอร์เวย์ไว้แล้ว พบกับความเร่งด่วนหลังเหตุการณ์แอลทมาร์ก เป้าหมายหลักของการรุกราน คือ รักษาเมืองท่าและแหล่งโลหะในนอร์เวย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เมืองท่านาร์วิก และจากนั้นก็เข้ายึดครองประเทศทั้งหมดเพื่อป้องกันมิให้นอร์เวย์ร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ว่าจะถูกแสดงให้เหมือนว่าเยอรมนีจะมาช่วยธำรงความเป็นกลางของนอร์เวย์

มีเรื่องหนึ่งที่นักการทหารเยอรมันโต้เถียงกันก็คือว่า มีความจำเป็นมากพอที่จะเข้ายึดเดนมาร์กหรือไม่ เนื่องจากเดนมาร์กเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขั้นต่อไป เดนมาร์กนั้นเป็นทำเลที่จะสามารถทำให้เยอรมนีสามารถครอบครองทั้งน่านน้ำและน่านฟ้าได้อย่างดีเยี่ยมในพื้นที่ ขณะที่บางส่วนแย้งว่าไม่มีความจำป็นต้องทำเช่นนั้น และให้นิ่งเฉย เป็นการง่ายขึ้นสำหรับแผนการถ้าหากเดนมาร์กถูกยึดครองโดยกองกำลัง

อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้แผนการต้องมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งก็คือการเตรียมการรุกรานฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ซึ่งอาจต้องการกองทัพเยอรมันปริมาณมาก กองทัพเยอรมันจำเป็นต้องรบทั้งสองด้าน การรุกรานนอร์เวย์ไม่อาจเกิดขึ้นได้พร้อมกับการรุกรานฝรั่งเศส แผนการจึงกำหนดให้การรบเริ่มต้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน (Wesertag) และเวลา 4.00-5.00 น. จะเป็นชั่วโมงแห่งการยกพลขึ้นบก (Weserzeit)

เป้าหมายของแผนการก็คือ การยกพลขึ้นบกตามจุดสำคัญหกแห่งในนอร์เวย์ ได้แก่ กรุงออสโล คริสเตียนแซนด์ Egersund เบอร์เก้น Trondheim และเมืองท่านาร์วิก ทำการสนับสนุนด้วยพลร่มที่จะต้องทำการยึดเอาจุดยุทธศาสตร์ อย่างเช่น สนามบินใน Fornebu และสนามบินโซลา ในสกาแวนเจอร์ แผนการได้ถูกร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำการรบจำเป็นต้องทำให้นอร์เวย์ไม่รู้ตัวและไม่อาจเตรียมการตั้งรับอย่างเหนียวแน่นได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

นอกจากนั้นยังมีเรือรบลาดตระเวน Scharnhorst และ Gneisenau ซึ่งจะไปพร้อมกับสายที่หนึ่งและสายที่สอง ซึ่งจะทำให้สามารถบรรทุกกองกำลัง นำมันและยุทโธปกรณเพิ่มเติมได้

ด้านเดนมาร์ก เยอรมนีจะนำเอากองพลน้อยยานเกราะ 2 กองพลน้อยออกมาใช้เพื่อเข้ายึดสะพานและกองกำลัง ลุควาฟเฟิลจะถูกส่งไปยึดโคเปนเฮเกน และทหารพลร่มจะถูกส่งไปยึดสนามบินทางตอนเหนือของประเทศ และยังมีกองทหารอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก การกระจายกำลังดังกล่าวนั้น เยอรมนีไม่ต้องการให้เกิดการประจันหน้ากันกับประชากรท้องถิ่นของทั้งสองประเทศ และทหารเหล่านั้นจะได้รับคำสั่งให้ยิงก็แต่เมื่อพวกเขาถูกโจมตีเท่านั้น

เยอรมนีเริ่มต้นการบุกในวันที่ 3 เมษายน 1940 เมื่อเรือขนเสบียงได้ออกจากฝั่งเพื่อการรุกของกองกำลังหลัก ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มต้นแผนการในวันต่อมา เรือดำน้ำฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวนสิบหกลำได้รับคำสั่งให้ไปประจำยังเมือง Skagerrak และ Kattegat เพือใช้ตรวจการและแจ้งเตือนกองทัพเยอรมันในการเตรียมตัวเข้าสู่แผนปฏิบัติการวิลเฟรด ซึ่งได้ออกตามมาหลังจากนั้นอีกหนึ่งวัน โดยมีเรือรบอังกฤษสิบสามลำ

ในวันที่เจ็ดเมษายน อากาศในภูมิภาคก็เริ่มเลวร้ายลง ทำให้เกิดหมอกหนาทึบและการเดินเรือประสบความยากลำบากอย่างหนัก กองกำลังอังกฤษที่ถูกส่งออกไปนั้นต้องหยุดชะงักในพายุหิมะขนาดใหญ่ สภาพอากาศเช่นนี้ได้อำนวยความสะดวกให้แก่กองทัพเรือเยอรมัน และในตอนเช้าของวันนี้ กองเรือสายที่หนึ่งและสองเริ่มออกเดินทาง

ในที่สุด กองเรือสายที่หนึ่ง (ประกอบด้วยเรือพิฆาตตอร์ปิโดจำนวนสิบลำ) ก็เดินทางถึงเมืองท่านาร์วิก โดยปราศจากการขัดขวางจากราชนาวีอังกฤษอีก และเข้าสู่พื้นที่โดยไม่ถูกต่อต้าน

กองทัพเรือเยอรมันเข้าโจมตีนอร์เวย์เมื่อเวลาประมาณ 4.15 น. ของวันที่ 9 เมษายน ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กองทัพบกเยอรมันก็ยกพลขึ้นบกที่ท่าเรือ Langelinie ในเมืองหลวงของเดนมาร์ก กรุงโคเปนเฮเกน และเริ่มทำการยึดครอง นอกจากนั้นพลร่มเยอรมันยังได้เข้ายึดสนามบิน Aalborg ได้ หลังจากนั้นไม่นาน เยอรมนีก็ส่งคำขาดผ่านทางเอกอัครราชทูตถวายแด่พระเจ้าคริสเตียนที่สิบ ซึ่งก่อนหน้านี้เยอรมนีเคยส่งคำขาดนี้ให้แก่รัฐบาลของเดนมาร์กมาไม่กี่วันก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ถูกปฏิเสธ กองทัพเดนมาร์กนั้นมีขนาดเล็ก ขาดการเตรียมพร้อมและมียุทโธปกรณ์ที่ล้าสมัย แต่ว่าก็ต้านทานกองทัพเยอรมันอย่างหนักในหลายส่วนของพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทหารรักษาพระองค์ในวังหลวง Amalienborg ในกรุงโคเปนเฮเกน เมื่อถึงเวลา 6.30 น. พระเจ้าคริสเตียนที่สิบได้ปรึกษากับนายกรัฐมนตรีแห่งเดนมาร์ก Thorvald Stauning มีความเห็นว่าการต้านทานกองทัพเยอรมันต่อไปนั้นจะก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตอย่างเปล่าประโยชน์ จึงยอมจำนนต่อกองทัพเยอรมัน มหาชนชาวเดนมาร์กประหลาดใจมากกับการตัดสินใจดังกล่าวและรัฐบาลก็ให้ชาวเดนมาร์กทุกคนยอมร่วมมือกับเยอรมนี เป็นอันว่าเดนมาร์กถูกยึดครองอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 1940

การรุกรานของเยอรมนีในเกือบทุกส่วนนั้นประสบความสำเร็จในการเปิดศึกหลายด้านพร้อมกัน และยังสามารถปลดอาวุธกองทัพนอร์เวย์อีกด้วย และถึงแม้ว่ารัฐบาลนอร์เวย์ขจะประกาศระดมพลแต่ก็ช่วยเหลือสถานการณ์ได้เพียงเล็กน้อย จากการที่กองทัพเรือสายที่ห้าของเยอรมนีเพลี่ยงพล้ำนั้นก็ได้เปิดโอกาสให้กองทัพเรือสามารถอพยพเอาราชวงศ์ของนอร์เวย์และคณะรัฐบาลไปยังอังกฤษ

เมื่อเยอรมนีเริ่มการบุก กองทัพอังกฤษก็ได้เริ่มวางแผนการโจมตีโต้ทันที ความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการการโจมตีโต้กลับนั้นเกิดความขัดแย้งกัน กองทัพอังกฤษนั้นต้องการที่จะยึดเมือง Trondheim ในนอร์เวย์ตอนกลาง ขณะที่นายเชอร์ชิลล์นั้นต้องการที่จะยึดเมืองท่านาร์วิกคืน ดังนั้นจึงได้ประนีประนอมกันด้วยการส่งทหารไปทั้งสองตำแหน่ง

กองทัพสัมพันธมิตรถอนตัวออกจากนอร์เวย์ กองทัพนอร์เวย์ยอมจำนนแก่กองทัพเยอรมัน เยอรมนีก็เริ่มการยึดครอง ระหว่างการยึดครอง ก็ได้มีขบวนการกู้ชาติของนอร์เวย์ปรากฏขึ้น ในการกระทำของกองเรือพาณิชย์นอร์เวย์ ประชาชนผู้ต่อต้านและทหารอาสาสมัครนอร์เวย์ในกองทัพอังกฤษ กษัตริย์นอร์เวย์และผู้นำทางการเมืองได้ลี้ภัยไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้ชี้แนวทางให้แก่ขบวนการกู้ชาติในนอร์เวย์ซึ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาของการยึดครอง

กองทัพเรือและกองทัพอากาศนอร์เวย์ได้ลงหลักปักฐานใหม่ในอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เหลือจากการทัพนอร์เวย์ ไม่นานหลังจากนั้น กองกำลังเหล่านี้ก็เข้าไปมีส่วนในการรบแบบขบวนเรือในมหาสมุทรแอตแลนติกและสงครามทางอากาศเหนือทวีปยุโรป จำนวนทหารนั้นเพิ่มขึ้นจากการเข้ามาอย่างต่อเนื่องของผู้ลี้ถัยชาวนอร์เวย์ และได้รับยุทโธปกรณ์เป็นเรือและเครื่องบินจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และยังได้ออกปฏิบัติการร่วมกับกองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรด้วย

กองทัพบกนอร์เวย์นั้นก็ได้ย้ายไปตั้งอยู่ในสกอตแลนด์ แต่ว่ามีบทบาทน้อยมากจนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม นอกจากหน่วยรบพิเศษจำนวนน้อยนิดเท่านั้น กองทัพบกนอร์เวย์ในสกอตแลนด์นั้นได้มีส่วนร่วมในการปลดปล่อยฟินมาร์ค ระหว่างฤดูหนาวปี 1944-1945 หลังจากที่กองทัพเยอรมันถอนกำลังออกไปหลังจากการเผาทำลายพื้นที่เนื่องจากคาดว่ากองทัพแดงจะทำการรุก ในการรบนั้นก็ได้มีการรบประปรายกับทหารยามฝั่งของเยอรมนี

ด้านประเทศสวีเดนซึ่งเป็นกลางนั้นก็มีการเตรียมตัวของกองทัพนอร์เวย์อยู่ในช่วงเวลาสองปีสุดท้ายของสงคราม กองกำลังเหล่านี้เรียกว่า "กองกำลังตำรวจ" ได้ก่อตั้งขึ้นด้วยการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจของสวีเดน กองกำลังเหล่านี้ทำหน้าที่ฝึกทหาร จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง นับทหารที่ฝึกได้กว่า 10,000 นาย

ปฏิบัติการครั้งนี้นับว่าเป็นชัยชนะขั้นเด็ดขาดของเยอรมนี ทั้งเดนมาร์กและนอร์เวย์ได้ถูกยึดครองโดยที่มีความสูญเสียเพียงเล็กน้อย ทหารเยอรมันเสียชีวิตประมาณ 3,800 นายและบาดเจ็บอีก 1,600 นาย การโจมตีได้ก่อให้เกิดความประหลาดใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เดนมาร์ก และมีเพียงการรบในพื้นที่แถบเมืองท่านาร์วิกเท่านั้นที่เป็นปัญหา ทำให้สูญเสียเครื่องบินรบลุควาฟเฟิลไปกว่า 100 ลำ ซึ่งคิดเป็น 10% ของกองทัพอากาศเยอรมันที่ถูกส่งออกไปปฏิบัติการ

อย่างไรก็ตาม การรบในทะเลประสบความล้มเหลว การรณรงค์กดังกล่าวได้ทำให้กองทัพเรือเยอรมันสูญเสียอย่างมากจนถึงขั้นเป็นอัมพาต เรือลาดตระเวนหนัก 2 ลำ ถูกจมไป 1 ลำ เรือลาดตระเวนเบา 6 ลำ ถูกทำลายไป 2 ลำ เรือพิฆาตตอร์ปิโดจาก 20 ลำ เหลือเพียง 10 ลำ รวมไปถึงเรืออูอีก 6 ลำ นอกจากนั้นยังมีเรือที่ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ส่วนที่เหลือของกองทัพเรืออ่อนแอตลอดช่วงฤดูร้อน ส่งผลให้การรุกรานองักฤษในปฏิบัติการสิงโตทะเลไม่อาจเป็นความจริงได้

บนบก เยอรมนีจำเป็นต้องรักษากองกำลังรุกรานส่วนมากเพื่อการยึดครอง ซึ่งอยู่ห่างไกลจากแนวหน้า ผลจากการรบครั้งนี้ได้สร้างประโยชน์ให้แก่เยอรมนีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ด้านกองทัพเรืออังกฤษก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน อังกฤษเสียเรือบรรทุกเครื่องบินไปหนึ่งลำ เรือลาดตระเวน 2 ลำ เรือพิฆาตตอร์ปิโด 7 ลำ และเรือดำน้ำ 1 ลำ แต่เนื่องจากกองทัพเรือของอังกฤษมีขนาดใหญ่กว่ากองทัพเรือเยอรมัน ความสูญเสียเมื่อเทียบกันแล้ว เยอรมนีจึงสูญเสียหนักกว่า อังกฤษยังได้การควบคุมกองเรือขนส่งนอร์เวย์ ซึ่งเป็นกองเรือหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

กองทัพเรือฝรั่งเศสได้สูญเสียเรือประจัญบานตอร์ปิโดขนาดใหญ่ไปหนึ่งลำ และกองทัพเรือนอร์เวย์ก็สูญเสียเรือพิฆาตตอร์ปิโดไปหนึ่งลำ ส่วนเรือป้องกันฝั่ง 2 ลำและเรือดำน้ำอีก 3 ลำสามารถหลบหนีไปได้ อังกฤษนั้นประสบความสำเร็จเป็นบางส่วนที่เมืองท่านาร์วิก การขนส่งกับเมืองท่าดังกล่าวต้องหยุดชะงักไปเป็นเวลากว่าหกเดือน

การยึดครองนอร์เวย์ของเยอรมนีนั้นได้สร้างความยุ่งยากให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรไปเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากมีสนามบินระยะไกลในนอร์เวย์ ทำให้ฝูงบินอังกฤษจำนวนมากต้องถูกเก็บรักษาไว้ทางตอนเหนือของอังกฤษระหว่างยุทธภูมิบริเตน และเครื่องบินทิ้งระเบิดเยอรมันสามารถใช้นอร์เวย์เป็นฐานและบินออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแอตแลนติกได้อย่างปลอดภัย หลังจากเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 ฐานบินในนอร์เวย์ได้ถูกใช้เพื่อให้เครื่องบินไปจมขบวนเรือพาณิชย์ของฝ่ายสัมพันธมิตร และได้ก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล

นอกจากนั้น การยึดครองนอร์เวย์ยังเป็นภาระหนักสำหรับเยอรมนี แนวชายหาดขนาดใหญ่ของนอร์เวย์นั้นเป็นโอกาสสำหรับหน่วยคอมมานโดในปลายปีนั้น การยึดครองนอร์เวย์จำเป็นต้องมีกองกำลังขนาดใหญ่กำกับดูแล ในปี 1944 มีทหารเยอรมันในนอร์เวย์กว่า 400,000 นาย และไม่สามารถถูกย้ายไปสู้รบในฝรั่งเศสหลังปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด หรือถูกดึงไปสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกซึ่งเยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301