การถ่ายภาพเคอร์เลียน (Kirlian photography) คือ ชุดของเทคนิคการถ่ายภาพที่ใช้ในการจับภาพของปรากฏการณ์โคโรนา หรือ การปล่อยประจุแบบโคโรน่าทางไฟฟ้า มันเป็นชื่อนามสกุลคำหลังของนาย เซมยอน เคอร์เลียน (Semyon Kirlian) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ค้นพบวิธีการนี้โดยบังเอิญในปี ค.ศ. 1939 โดยเขาพบว่าถ้าวัตถุที่วางอยู่บนแผ่นเพลตสำหรับถ่ายภาพถูกเชื่อมต่อกับแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้าแรงสูง, ภาพของวัตถุจะถูกถ่ายภาพออกมาได้บนแผ่นเพลตสำหรับถ่ายภาพ เป็นเทคนิควิธีการที่รู้จักกันหลากหลายลักษณะต่าง ๆ กันมากมายที่มีชื่อเรียกกัน เช่น "ภาพถ่ายทางไฟฟ้า" (electrography), "เทคนิคการถ่ายภาพด้วยไฟฟ้า" (electrophotography), "เทคนิคการถ่ายภาพการปล่อยประจุแบบโคโรน่า" (corona discharge photography) (CDP), "การถ่ายภาพทางไฟฟ้าชีวะ" (bioelectrography), "การสร้างภาพการปล่อยประจุก๊าซ" (gas discharge visualization) (GDV), "การสร้างภาพทางไฟฟ้าเชิงแสง" (electrophotonic imaging) (EPI), และ, ในวรรณกรรมรัสเซีย, "ภาพถ่ายเคอร์เลียน" เป็นต้น
การถ่ายภาพเคอร์เลียน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประเด็นหัวข้อเรื่องของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์กระแสหลัก, การวิจัยทางด้านปรจิตวิทยา (parapsychology) (ตามความรู้สึกของคนไทยเรา มันมักจะหมายถึงเรื่อง "พลังจิต") และทางด้านศิลปะ
การถ่ายภาพเคอร์เลียนเป็นเทคนิคการสร้างภาพถ่ายของวัตถุโดยใช้ไฟฟ้าแรงสูงส่งผ่านแผ่นฟิล์มที่อยู่เหนือแผ่นเหล็กสำหรับการคายประจุและอยู่ติดกับวัตถุที่ถูกถ่ายภาพ กระแสไฟฟ้าแรงสูงจะถูกจ่ายเป็นระยะเวลาสั้นๆไปยังแผ่นเหล็ก ทำให้เกิดภาพที่เกิดจากการปรากฏการณ์โคโรนาระหว่างวัตถุกับแผ่นเหล็กถูกถ่ายทอดลงฟิล์มที่อยู่ระหว่างกลางกลายเป็นภาพถ่ายเคอร์เลียน
โดยปกติ ฟิล์มถ่ายภาพสีจะถูกปรับไว้ให้ได้ภาพที่สมจริงในสภาวะแสงปกติ ปรากฏการณ์โคโรนาจะมีปฏิสัมพันธ์ชั่วขณะกับแต่ละชั้นแผ่นแม่สีของฟิล์มที่แตกต่างกันไป อันจะทำให้สีที่ได้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการคายประจุ ทั้งฟิล์มและเทคนิคการถ่ายภาพแบบดิจิตอลล้วนบันทึกภาพจากโฟตอนที่ถูกปล่อยออกมาจากปรากฏการณ์โคโรนา(โปรดดู กลศาสตร์ของปรากฏการณ์โคโร).
ภาพถ่ายจากสิ่งไม่มีชีวิตเช่นเหรียญ กุญแจ หรือใบไม้ สามารถสร้างภาพอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยต่อทางไฟฟ้ากับสายดินลงพื้นดิน ในท่อน้ำเย็นหรือขั้วตรงข้ามของแหล่งไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายให้วัตถุ อันจะทำให้ปรากฏการณ์โคโรนารุนแรงยิ่งขึ้น
การถ่ายภาพเคอร์เลียนไม่จำเป็นต้องใช้กล้องหรือเลนส์เพราะแผ่นรับภาพสัมผัสกับวัตถุโดยตรง จึงสามารถใช้แผ่นตัวนำโปร่งแสงวางคั่นกลางระหว่างวัตถุกับแผ่นเหล็กเพื่อให้สามารถบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูปหรือกล้องวิดิโอได้
นักศิลปะการถ่ายภาพเช่น Robert Buelteman, Ted Hiebert, และ Dick Lane เคยถ่ายภาพเคอร์เลียนเพื่อสร้างภาพถ่ายทางศิลปะของวัตถุหลากหลายชนิด นักถ่ายภาพเคอร์เลียน Mark D. Roberts ผู้ทำงานกับภาพถ่ายเคอร์เลียนมานานกว่า 40 ปี ได้เผยแพร่ชุดผลงานของภาพถ่ายพืชโดยใช้ชื่อว่า "Vita occulta plantarum" หรือ "ความลับแห่งชีวิตของพืช" ซึ่งจัดแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2012 ที่พิพิธภัณฑ์แบ็คเค็นในมินเนทาโพลิส
การถ่ายภาพเคอร์เลียน ได้ถูกจัดให้เป็นหัวใจหลักในเรื่องของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์, การวิจัยทางด้านจิตศาสตร์ซึ่งมีสาขาเฉพาะทางที่เรียกว่าวิชา "ปรจิตวิทยา" ซึ่งพวกเราคนไทยรู้จักกันดีในชื่อว่า "พลังจิต" (parapsychology research) และการกล่าวอ้างเกี่ยวกับเรื่องราวของ วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscientific) ส่วนใหญ่ของการวิจัยทางด้านนี้ ได้ถูกริเริ่มดำเนินการขึ้นเมื่อราวประมาณกลางศตวรรษที่ 20 ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยอดีตของโลกทางฝ่ายกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) ก่อนการสิ้นสุดลงของสงครามเย็น (cold war) และยังไม่ได้ถูกยกระดับขึ้นเพื่อการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวดของโลกฝ่ายตะวันตก[ต้องการอ้างอิง]
จากผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1976 ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพเคอร์เลียนของเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิต (จากปลายนิ้วของมนุษย์) พบว่าส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงในความยาวของลำแสงของการปล่อยแบบโคโรนา, ความหนาแน่น, ความโค้งงอ และ สี สามารถถูกพิจารณาได้โดยสภาพความชื้นบนพื้นผิวและภายในของเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่เหล่านั้น