การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง เป็นหลักการถอดตัวอักษรไทยเป็นอักษรโรมันอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถาน ใช้ในสำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ของรัฐบาล และป้ายชื่อถนนต่างๆ ในประเทศไทย รูปแบบใหม่ประกาศใช้เมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2542
การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน มีจุดประสงค์เขียนไว้ในประกาศว่า เพื่อให้อ่านคำไทยในตัวอักษรโรมันได้ใกล้เคียงกับคำเดิม แต่ก็ได้รับการวิพากษ์ว่ายังไม่ดีเพียงพอสำหรับชาวต่างชาติในการอ่านภาษาไทย[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจาก
นอกจากนี้ ถึงแม้ระบบของราชบัณฑิตยสถานจะที่ใช้ในเอกสารราชการเกือบทั้งหมด แต่ก็มีการเขียนคำทับศัพท์ในรูปแบบอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงที่เพี้ยนไปจากเสียงภาษาไทย และเลี่ยงความหมายที่ไม่ดีในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น เช่นคำว่า "ธง" หรือ "ทอง" เมื่อทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตทั้งสองคำจะสะกดได้คำว่า "thong" ซึ่งในภาษาอังกฤษหมายถึง ธอง (กางเกงชั้นในประเภทหนึ่ง) จึงเลี่ยงไปใช้คำว่า "tong" แทน
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน