การจำยอมสละ
การจำยอมสละ (อังกฤษ: Appeasement) เป็นนโยบายทางการทูตที่มุ่งหลีกเลี่ยงสงครามโดยยอมให้แก่ประเทศก้าวร้าว นักประวัติศาสตร์ พอล เคนเนดี นิยามว่าเป็น "นโยบายระงับการวิวาทระหว่างประเทศโดยยอมรับและสนองความเดือดร้อนผ่านการเจรจาและการประนีประนอมอย่างมีเหตุผล ฉะนั้นจึงหลีกเลี่ยงการหันไปถึ่งการขัดกันด้วยอาวุธซึ่งจะมีราคาแพง นองเลือดและอาจอันตราย" ประเทศประชาธิปไตยยุโรป ซึ่งปรารถนาจะหลีกเลี่ยงสงครามกับเผด็จการเยอรมนีและอิตาลี ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ใช้การจำยอมสละ ด้วยนึกถึงความน่าสะพรึงของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คำนี้มักใช้กับนโยบายต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เนวิลล์ เชมเบอร์เลน ต่อนาซีเยอรมนีระหว่าง ค.ศ. 1937 ถึง 1939 นโยบายหลีกเลี่ยงสงครามกับเยอรมนีของเขาเป็นหัวข้อการถกเถียงเข้มข้นเป็นเวลาเจ็ดสิปปีในหมู่นักวิชาการ นักการเมืองและนักการทูต การประเมินของนักประวัติศาสตร์มีตั้งแต่ประณามว่าปล่อยให้เยอรมนีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เติบโตเข้มแข็งเกินไป ไปจนถึงตัดสินว่าเขาไม่มีทางเลือกอื่นและทำเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของอังกฤษ ในขณะนั้น การยอมให้เหล่านี้ถูกมองในเชิงบวกอย่างกว้างขวาง และข้อตกลงมิวนิกที่สรุปเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 โดยเยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ทำให้เชมเบอร์เลนประกาศว่าเขาได้รักษา "สันติภาพแห่งยุคของเรา"
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การจำยอมสละ
|