การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้ แบ่งออกเป็นการขนส่งระบบราง ถนน รถโดยสาร เรือ และอากาศยานซึ่งมีให้บริการทั่วประเทศ และยัง 3 ของโลกที่ให้บริการรถไฟฟ้าพลังแม่เหล็ก
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันทันสมัย เริ่มต้นขึ้นในแผนพัฒนาห้าปีระยะแรก (ค.ศ. 1962–66) ซึ่งประกอบด้วยโครงการสร้างทางรถไฟ 275 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดินสายเล็ก ๆ การก่อสร้าง ทางด่วนคย็องปู ซึ่งเชื่อมระหว่างโซลกับปูซานนั้น เสร็จสิ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1970
คริสต์ทศวรรษ 1970 มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น แผนพัฒนาห้าปีระยะที่ 3 (ค.ศ. 1972–76) ได้แก่ โครงการท่าอากาศยาน, ท่าเรือ มีการสร้างรถไฟใต้ดินในโซล โครงข่ายทางหลวงได้ขยายเพิ่มขึ้น 487 กิโลเมตร มีเมืองท่าที่สำคัญได้แก่ โพฮัง, อุลซัน, มาซัน, อินช็อน และปูซาน
โครงข่ายรถไฟพัฒนามากขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งมีการติดตั้งการรับไฟฟ้า โดยรถไฟในเส้นทางหลักจะมีความเร็วมากกว่าเส้นทางอื่น ๆ แม้ว่ารถไฟในสมัยนั้นจะมีประโยชน์ขนส่งสินค้ามากกว่า แต่จำนวนผู้โดยสารยังคงมากขึ้น ส่วนโครงข่ายในปี ค.ศ. 1988 มีระยะทางรวม 51,000 กิโลเมตร และทางด่วนที่เชื่อมระหว่างนครใหญ่ ๆ มีระยะทางรวม 1,539 กิโลเมตร
ผู้ดำเนินการรถไฟที่ใหญ่ที่สุดคือ โคเรล โครงข่ายรถไฟจัดการบริการโดย หน่วยบริหารโครงข่ายรถไฟเกาหลี
รถไฟด่วนเกาหลี (รถไฟความเร็วสูงขบวนแรกของเกาหลีใต้) เริ่มต้นการให้บริการในเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 รถไฟระหว่างเมือง แบ่งเป็นสองประเภทคือ รถไฟเซมวล กับรถไฟมูกุงฮวา โดยรถไฟเซมวลจะจอดสถานีน้อยและมีความสะดวกสบายมากกว่ารถไฟมูกุงฮวา รถไฟท็องกึน ซึ่งเป็นรถไฟชานเมือง จะให้บริการเฉพาะสาย โดยจะหยุดทุก ๆ สถานี และไม่มีการสำรองที่นั่ง
รถไฟที่เปิดในปีถัด ๆ มา คือ รถไฟนุริโร วิ่งระหว่าง สถานีรถไฟโซล–สถานีรถไฟซินจาง ให้บริการแบบรถไฟชานเมืองรอบ ๆ โซล ใช้เวลาในการเดินทางน้อยกว่ารถไฟใต้ดิน ในปัจจุบัน โคเรลยังคงขยายเส้นทางรถไฟเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ ยังมีแผนจะเปิดรถไฟไอทีเอ็กซ์เซมวล ซึ่งจะวิ่งแทนรถไฟเซมวลเก่า
รถไฟฟ้ามหานครโซล เป็นระบบรถไฟฟ้าที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ สายแรกที่เปิดคือ สาย 1 ระหว่าง สถานีรถไฟโซล – สถานีรถไฟช็องนยังงิ เปิดในปี ค.ศ. 1974
รถรางสายแรกในโซล วิ่งระหว่างเขตซอแดมุน กับเขตช็องนยังงิ เปิดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1898 โครงข่ายรถรางได้ถูกขยายจนครอบคลุมพื้นที่ใจกลางนครทั้งหมด โดยวิ่งไปถึงเขตช็องนยังงิทางตะวันออก เขตมาโพทางตะวันตก เขตนอรยังจินทางหนือ และข้ามแม่น้ำฮันไปทางใต้
โครงข่ายได้พัฒนาถึงขั้นสูงสุดในปี ค.ศ. 1941 และได้ปิดตัวลงในปี ค.ศ. 1968 ด้วยการแทนที่ของรถไฟใต้ดินโซล สาย 1 และสาย 2
แทบทุกเมืองในเกาหลีใต้ จะมีรถโดยสารระหว่างเมือง เส้นทางระหว่างเมืองแยกประเภทได้แก่ รถคอซ็อก (????, "รถด่วน") กับ รถซิออ (????, "รถชานเมือง") ซึ่งรถคอซ็อกจะมีระยะทางมากกว่า และจอดน้อยกว่า ส่วนรถซิออจะให้บริการระยะทางสั้นกว่า จอดมากกว่า
ภายในเมืองหลาย ๆ เมือง จะมีรถโดยสารสองประเภทคือ จวาซ็อก (??) และ โทซิฮย็อง (???) (หรือ อิพซ็อก (??)) รถทั้งประเภท ส่วนใหญ่วิ่งเส้นทางเดียวกัน จอดใกล้เคียงกัน และมีความถี่ในการเดินรถไล่เลี่ยกัน แต่รถจวาซ็อกจะมีราคาแพง และมีความสะดวกสบายมากกว่า ขณะที่รถโทซิฮย็องจะมีราคาถูก แต่สะดวกสบายน้อยกว่า แต่ในเมืองเล็ก ๆ จะไม่มีรถจวาซ็อก แต่จะมีรถโดยสารที่เรียกว่า น็อนกีช็อน (???) ก่อน
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งมีรถโดยสารสำหรับลูกค้า แต่เนื่องจากคำตัดสินของศาลในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2001 ส่งผลให้รถโดยสารเหล่านี้ถูกยกเลิก อย่างไรก็ตาม โบสถ์ ศาสนสถาน สถานศึกษาหลายแห่ง ยังคงให้บริการรถโดยสารเหมือนเดิม
ทางหลวงแผ่นดินในเกาหลีใต้ แบ่งเป็นทางด่วน ทางหลวงทั่วไป และอีกมายมาย โดยทางด่วนส่วนใหญ่จะอยู่ในการกำกับดูแลของ บริษัททางด่วนเกาหลี (KEC)
เส้นทางทางด่วนที่สำคัญ อาทิเช่น ทางด่วนน็อนซัน-ชอนัน, ทางด่วนแทกู-ปูซาน, ทางด่วนท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน, ทางด่วนโซล-ชุนช็อน และ ทางด่วนวงแหวนโซล
ถนนในเกาหลีใต้มีระยะทางรวม 86,989 กิโลเมตรในปี ค.ศ. 1998 เป็นทางด่วน 1,996 กิโลเมตร (และได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 กิโลเมตรในปี ค.ศ. 2009) และอีก 12,447 กิโลเมตรเป็นทางหลวงแผ่นดิน
ประเทศเกาหลีใต้ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอุตสาหกรรมการต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีระบบขนส่งทางเรือที่ดีอีกด้วย เกาหลีใต้ให้บริการเรือขนส่งสินค้าระหว่าง ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง โดยผู้ให้บริการเรือขนส่งสินค้า จะเป็นกลุ่มใหญ่ ต่างจากเรืออื่น ๆ ที่ผู้ให้บริการจะเป็นบริษัทเอกชนขนาดเล็ก
ชายฝั่งทางตอนใต้และตะวันตกของประเทศ มีเรือข้ามฟากให้บริการไปยังเกาะต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเกาะเชจู และเกาะอัลลึง ศูนย์กลางเรือข้ามฟากจะอยู่ที่ อินช็อน, ม็อกโพ, โพฮัง และปูซาน
โคเรียนแอร์ ก่อตั้งโดยรัฐบาลในปี ค.ศ. 1962 เพื่อแทนที่ โคเรียนเนชันนอลแอร์ไลน์ สถิติปี ค.ศ. 2008 โคเรียนแอร์มียอดผู้โดยสารรวม 2,164 ล้านคน เป็นผู้โดยสารต่างชาติ 1,249 ล้านคน
สายการบินที่สอง เอเชียนาแอร์ไลน์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1988 จุดหมายปลายทางเริ่มแรกได้แก่ โซล, เชจูซิตี, ปูซาน, กรุงเทพมหานคร, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น และ ลอสแอนเจลิส ในปี ค.ศ. 2006 มีจุดหมายปลายทางในประเทศ 12 ที่หมาย ระหว่างประเทศ 66 ที่หมายใน 20 ประเทศ (เฉพาะสินค้า 24 ที่หมายใน 17 ประเทศ)
สายการบินของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน มีจำนวนเส้นทางระหว่างประเทศรวม 297 เส้นทาง นอกจากนี้ยังสายการบินย่อย ได้แก่ แอร์ปูซาน, จินแอร์, อีสเตอร์เจ็ต และเชจูแอร์ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ
ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2001 เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 สถิติปี ค.ศ. 2007 มีผู้โดยสารกว่า 30 ล้านคนต่อปี ได้รับคัดเลือกเป็น "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005-2008
ท่าอากาศยานอีกแห่งหนึ่งในโซล คือ ท่าอากาศยานกิมโป โดยส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินในประเทศ ขณะที่เที่ยวบินระหว่างประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ท่าอากาศยานอื่น ๆ อาทิเช่น ท่าอากาศยานกิมเฮ และท่าอากาศยานเชจู
ท่าอากาศยานมีทางวิ่งลาดยาง:รวมทั้งหมด: 67 แห่งตั้งแต่ 3,047 เมตรขึ้นไป: 1 แห่งตั้งแต่ 2,438 ถึง 3,047 เมตร: 18 แห่งตั้งแต่ 1,524 ถึง 2,437 เมตร: 15 แห่งตั้งแต่ 914 ถึง 1,523 เมตร: 13 แห่งน้อยกว่า 914 เมตร: 20 แห่ง
ท่าอากาศยานมีทางวิ่งไม่ลาดยาง:ทั้งหมด: 36 แห่งตั้งแต่ 3,047 เมตรขึ้นไป: 1 แห่งตั้งแต่ 914 ถึง 1,523 เมตร: 3 แห่งน้อยกว่า 914 เมตร: 32 แห่ง
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การคมนาคมในประเทศเกาหลีใต้