ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การขัดขืนอย่างสงบ

การดื้อแพ่ง หรือ การขัดขืนอย่างสงบ (อังกฤษ: civil disobedience) หรือ "อารยะขัดขืน" เป็นรูปแบบการต่อต้านทางการเมืองอย่างสงบเพื่อกดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางการเมืองที่เป็นอยู่ ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอังกฤษในประเทศอินเดีย ในการต่อสู้กับการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และในยุโรป รวมถึงประเทศแถบสแกนดิเนเวียในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดยเฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบทาสและสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน

เพื่อแสดงออกถึงดื้อแพ่ง ผู้ขัดขืนอาจเลือกที่จะฝ่าฝืนกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ เช่น กีดขวางทางสัญจรอย่างสงบ หรือเข้ายึดครองสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงกระทำการจลาจลอย่างสันติเหล่านี้ โดยคาดหวังว่าพวกตนจะถูกจับกุม หรือกระทั่งถูกทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่. ผู้ประท้วงมักจะได้รับการนัดแนะล่วงหน้า ว่าควรจะตอบสนองการจับกุมหรือทำร้ายร่างกายอย่างไร และจะขัดขืนอย่างเงียบ ๆ หรือไม่รุนแรง โดยไม่คุกคามเจ้าหน้าที่

มหาตมะ คานธี ผู้นำการเคลื่อนไหวดื้อแพ่ง เพื่อต่อต้านอังกฤษในประเทศอินเดีย เรียกแนวทางของตนว่า "สัตยาเคราะห์" (Satyagraha) หมายถึง การต่อสู้บนรากฐานของความจริงหรือสัจจะ

ในสมัยนั้นในประเทศอินเดียมีกฎหมายบังคับให้การผลิตและขายเกลือกระทำได้โดยรัฐบาลอังกฤษเท่านั้น การผูกขาดเกลือเป็นรายได้ที่สำคัญ ถึงแม้ว่าคนอินเดียที่อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเลจะสามารถผลิตเกลือเพื่อบริโภคเองได้ ก็จำเป็นต้องซื้อจากอังกฤษ หากผู้ใดฝ่าฝืนก็มีโทษถึงจำคุกทีเดียว

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1930 มหาตมะ คานธี พร้อมกับผู้ร่วมเดินทางจำนวน 78 คน เริ่มเดินเท้าจากเมือง Sabarmati ไปยังเมือง Dansi เมืองชายฝั่งทะเลที่อยู่ห่างออกไป 240 ไมล์ เมื่อขบวนเดินผ่านเมืองใดก็จะมีชาวเมืองนับพันเข้ามาร่วมเดิน จนขบวนยาวหลายไมล์ มหาตมะ คานธี เดินเท้าใช้เวลา 23 วันก็ถึงที่หมาย เมื่อถึงแล้วก็เริ่มการกระทำ "ดื้อแพ่ง" โดยขุดดินที่เต็มไปด้วยเกลือ ต้มในน้ำทะเลเพื่อผลิตเกลือ บรรดาผู้ร่วมเดินทางก็ทำตาม ช่วยกันผลิตเกลือท้าทายกฎหมาย

การกระทำของคานธีกลายเป็นข่าวไปทั่วโลก ในขณะที่ชาวอินเดียพากันเลียนแบบ ผลิตและขายเกลือกันอย่างไม่กลัวกฎหมาย ในที่สุดมหาตมะคานธีก็ถูกจับพร้อมกับประชาชนนับหมื่นคน มหาตมะ คานธี ให้การต่อศาลว่า

เหตุการณ์ดื้อแพ่งของมหาตมะ คานธี ครั้งนั้นมีชื่อเรียกว่า "The Salt March" เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์อินเดีย หลังจากคานธีได้รับการปล่อยตัวออกมา ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้คนอินเดียร่วมกันต่อสู้จนได้รับอิสรภาพใน ค.ศ. 1947 ในที่สุด

ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1955-1968 ในสหรัฐอเมริกามีการต่อสู้เพื่อสิทธิความเท่าเทียมกันของคนผิวดำ ที่เรียกว่า ขบวนการสิทธิพลเมือง (Civil Rights Movement) ซึ่งก่อนหน้านี้คนผิวดำและผิวขาวต้องแยกใช้ห้องน้ำ ร้านอาหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ย่านที่อยู่อาศัย รถประจำทาง โดยเฉพาะในรัฐทางใต้จะใช้งานร่วมกันไม่ได้

ในปี ค.ศ. 1955 โรซา พาร์กส์ (Rosa Parks) ปฏิเสธที่จะลุกให้ที่นั่งแก่คนผิวขาวบนรถประจำทางตามที่คนขับรถสั่ง ทั้งที่กฎหมายท้องถิ่นระบุว่าเมื่อโดยสารรถร่วมกัน เธอจะต้องสละที่ให้คนผิวขาวนั่ง เธอถูกจับขึ้นศาลและถูกตัดสินจำคุก จากนั้นกลุ่มคนผิวดำจึงพากันประท้วง จนกระทั่งรัฐบาลท้องถิ่นต้องยกเลิกกฎหมายนี้ กรณีประท้วงนี้มีชื่อเรียกว่า การคว่ำบาตรรถประจำทางมอนต์โกเมอรี (Montgomery Bus Boycott)

มีร้านอาหารหลาย ๆ แห่งในรัฐทางใต้ ปฏิเสธที่จะให้บริการแก่คนผิวดำ จึงมีการดื้อแพ่งโดยใช้วิธี "ซิทอิน" (sit in) คือเข้าไปนั่งเฉย ๆ โดยนักศึกษาผิวดำพากันแต่งตัวเรียบร้อย ใส่สูทผูกไทเข้าไปนั่งในร้านอาหารที่ปฏิเสธคนผิวดำ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าไปนั่งในทุกที่นั่ง จนไม่มีที่ว่างเหลือ จนกระทั่งร้านนั้นไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ มีการกระทำเลียนแบบไปทั่วทุกรัฐทางใต้ โดยมีคนผิวขาวส่วนหนึ่งที่เห็นใจคนผิวดำร่วมขบวนการด้วย มีการใช้วิธีซิทอินกับสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ทั้งสวนสาธารณะ ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่จับนักศึกษาเหล่านี้ก็ไม่ยอมประกันตัว ต้องการติดคุกเพื่อให้เป็นข่าว และให้เป็นภาระกับเจ้าหน้าที่

การต่อสู้เหล่านี้เพื่อกดดันรัฐบาลกลาง จนนำมาสู่การออกกฎหมายสิทธิเลือกตั้ง (Voting Rights Act) ค.ศ. 1965 และกฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) ค.ศ. 1968 ที่ให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำ

แนวคิดดื้อแพ่งในทางการเมือง หรือที่นิยมใช้คำว่า "อารยะขัดขืน" นั้น เริ่มแพร่หลายในภาษาไทย ในบริบทของการประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 อย่างไรก็ตาม คำว่า "อารยะขัดขืน" นั้นถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เมื่อกล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยชัยวัฒน์อธิบายว่า

ก่อนหน้านี้ ช่วงปี พ.ศ. 2543 สมชาย ปรีชาศิลปกุล ใช้คำว่า "สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย" เพื่ออธิบายแนวคิดเดียวกันนี้ ในหนังสือชื่อเดียวกัน โดยเสนอว่า

ในวันที่ 2 เม.ย. พ.ศ. 2549 ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ฉีกบัตรเลือกตั้งของตนทิ้งให้สื่อมวลชนดูหลังจากที่ใช้สิทธิลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดแล้ว โดยเขายอมรับว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและพร้อมสู้คดีในทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามไชยันต์ยืนยันสิทธิของตนตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญว่าบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวไปสอบสวน (อ้าง และ ) หลังจากนั้น รัฐเอกราช ราษฎร์ภักดีรัช ได้ร่วมฉีกบัตรเลือกตั้งเช่นเดียวกัน โดยรัฐเอกราชได้กล่าวว่า ตนเห็นว่าการวางตำแหน่งของคูหาเลือกตั้งนั้นไม่ถูกต้อง จึงได้แต่งชุดดำประท้วงและฉีกบัตรเลือกตั้ง รัฐเอกราชกล่าวว่าตนมีอุดมการณ์เดียวกับไชยันต์ด้วย (อ้าง ) หลังจากเหตุการณ์นั้นศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยืนยันว่าจะช่วยเหลือไชยันต์ในทางกฎหมาย (อ้าง ) นอกจากนั้น ในวันเดียวกัน ยศศักดิ์ โกศยากานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ยังได้ใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มนิ้วชี้ตนเองและใช้เลือดในการกากบาทในช่องลงคะแนนของบัตรเลือกตั้ง โดยเขายืนยันว่าได้ศึกษาข้อกฎหมายแล้วไม่ได้เป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด แม้ว่ายศศักดิ์จะกล่าวว่าเขาประท้วงตามแนวทางอารยะขัดขืน ถ้าพิจารณาในแง่ที่ว่าการกระทำดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายของยศศักดิ์จึงไม่น่าจัดว่าเป็นอารยะขัดขืนหรือดื้อแพ่ง แต่เป็นการประท้วงแบบสันติวิธี

ชัยวัฒน์ได้อธิบายไว้ว่า ได้เลี่ยงที่จะใช้คำว่า "สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย" อย่างที่สมชายใช้ เนื่องจากคำว่า "ดื้อแพ่ง" ในภาษาไทยนั้นมีความหมายในนัยไม่สู้ดี และเสนอคำว่า "อารยะขัดขืน" ซึ่งเป็นคำที่มีอคติทางลบแฝงอยู่น้อยกว่า ขณะเดียวกัน ยังเป็นคำกิริยาที่คงคุณลักษณะความเป็นคำในเชิงปฏิบัติเอาไว้

"สุดสงวน" คอลัมนิสต์ประจำนิตยสารสกุลไทย ให้ความเห็นว่า การนำ "อารยะ" ซึ่งเป็นคำสันสกฤต มาสมาสหรือสนธิกับ "ขัดขืน" ซึ่งเป็นคำไทยนั้น ไม่เข้าหลักเกณฑ์ทางภาษา แต่ขณะเดียวกันก็นึกไม่ออกว่าจะหาคำใดมาใช้แทนคำที่ชัยวัฒน์ใช้ได้

แก้วสรร อติโพธิ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้คำว่า อารยะ ว่าแท้จริงแล้วคำว่า civil น่าจะหมายถึงคำว่าพลเมือง และเสนอว่าน่าจะแปลเป็นไทยว่า "การแข็งข้อไม่ยอมเป็นพลเมือง"

ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ ? ปรัชญาการศึกษา ? ปรัชญาประวัติศาสตร์ ? นิติศาสตร์ ? ปรัชญาสังคมศาสตร์ ? ปรัชญาความรัก

สังคม ? สงคราม ? กฎหมาย ? ความยุติธรรม ? สันติภาพ ? สิทธิมนุษยชน ? การปฏิวัติ ? การดื้อแพ่ง ? ประชาธิปไตย ? สัญญาประชาคม

อนาธิปไตย ? อำนาจนิยม ? อนุรักษนิยม ? เสรีนิยม ? อิสรนิยม ? ชาตินิยม ? สังคมนิยม ? ประโยชน์นิยม ? ทฤษฎีความขัดแย้ง ? ทฤษฎีความเห็นหมู่

เพลโต ? โสกราตีส ? อริสโตเติล ? ขงจื๊อ ? นักบุญออกัสติน ? นักบุญโทมัส อควีนาส ? มาเกียเวลลี ? ฮอบส์ ? ล็อก ? รูโซ ? มงแต็สกีเยอ ? วอลแตร์ ? อดัม สมิธ ? โรเบิร์ต พีล ? เอ็ดมันด์ เบิรก์ ? มิล ? แฟรงคลิน ? ไลบ์นิซ ? คานท์ ? ทอโร ? มหาตมา คานธี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406