ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การขนส่งในประเทศไทย

การขนส่งในประเทศไทย มีความหลากหลายและยังไม่มีความเป็นระเบียบ การขนส่งแต่ละประเภทไม่มีความโดดเด่นมากนัก ได้แก่ ระบบการขนส่งทางถนน ที่เป็นหลักของการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ การขนส่งทางรถประจำทางที่มีการขนส่งระยะไกลไปยังจังหวัดต่าง ๆ มีการใช้รถจักรยานยนต์เพื่อใช้การเดินทางระยะสั้นแทนการใช้จักรยาน การใช้รถยนต์ส่วนตัวซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีส่วนทำให้การจราจรเกิดความแออัดทั้งในกรุงเทพมหานครและเมืองสำคัญต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังมีการขนส่งระบบรางที่เชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ แต่ยังมีความล่าช้า ถึงแม้จะมีแผนขยายการให้บริการที่มีรถไฟความเร็วสูงไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศก็ตาม การขนส่งทางอากาศภายในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันยังมีสายการบินไม่มากนัก แต่ยังมีความโดนเด่นด้วยวิธีการขนส่งที่มีความแปลกใหม่จากสายตาของชาวต่างประเทศ เช่น รถตุ๊กตุ๊ก รถสองแถว เป็นต้น

การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดให้บริการเดินรถในความยาวเส้นทางทั้งสิ้น 4,070 กิโลเมตร ในรางขนาด 1 เมตร (เป็นทางคู่ 294.63 กิโลเมตร และทางสาม 106.10 กิโลเมตร)

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองเดียวที่มีระบบรถไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย 3 ระบบ คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในอนาคต อาจมีความยาวเกือบ 400 กิโลเมตร ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล นอกจากนี้ ยังมีโครงรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามหัวเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบโครงการ

ชื่อทางการคือ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เปิดบริการตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกาถึง 24 นาฬิกา

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในโอกาสที่เปิดบริการมาครบ 9 ปี ปรากฏว่า มียอดมีผู้ใช้บริการตั้งแต่เปิดให้บริการ 972,034,298 เที่ยว มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันทำการ 424,369 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.6 โดยในปี พ.ศ. 2551 นี้มีผู้ใช้บริการสูงสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จำนวน 497,390 เที่ยว และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มี?ผู้โดยสาร?ใช้?บริการ?รถไฟ?ฟ้า?เฉลี่ย?ใน?วัน?ทำ?การ?สร้าง?สถิติ?ใหม่?สูง?สุด?เท่ากับ 509,106 เที่ยว?ต่อคน

และผลดำเนินงานบริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในรอบบัญชีเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 มียอดผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 176,028,556 เที่ยวคน เพิ่มขึ้นจากงวดปีที่ผ่านมาร้อยละ 21.24 และเมื่อพิจารณาจากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันภาพรวมปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 18.26 เป็น 480,952 เที่ยวคน ซึ่งวันที่ 30 มีนาคม 2555 นับว่าเป็นวันที่ทุบสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการมา มีผู้มาใช้บริการถึง 714,575 เที่ยวคน

รถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบันได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ดำเนินการโดยบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) โดยได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ปัจจุบันมีระยะทางรวม 21 กิโลเมตร เส้นทางเริ่มต้นจากสถานีหัวลำโพง ถึงสถานีบางซื่อ มีสถานี 18 สถานี

เป็นส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมือง โดยรัฐบาลได้นำโครงการนี้มาเป็นโครงการเร่งด่วนและแยกการก่อสร้างต่างหากจากระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการก่อสร้างโดยรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด

สำหรับยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เต็มรูปแบบวันแรกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีผู้โดยสารใช้บริการในระบบซิตี้ไลน์ 26,149 คน จากเป้าที่ตั้งไว้ 15,000 คน ส่วนรถด่วนมีผู้ใช้บริการ 633 คน ทั้งนี้คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีผู้ใช้บริการประมาณ 5-7 หมื่นคน

รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทความเร็วสูง ซึ่งมีความเร็วปกติอยู่ที่ 160-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่มีความเร็วขณะเข้าประแจที่ 40-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีความเร็วขณะเข้าประแจลงศูนย์ซ่อมบำรุงที่ย่านคลองตันที่ 125 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ตรอก เป็นประเภทของถนนที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งบางครั้งยานพาหนะขนาดใหญ่อย่างรถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงได้ มักจะพบการขนส่งโดยใช้วิธีเดินเท้า จักรยาน หรือรถจักรยานยนต์ ส่วนมากแล้วจะอยู่ในเขตเมือง ส่วนซอย จะเป็นถนนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาระดับหนึ่ง บางแห่งรถยนต์สามารถเข้าได้ แต่ไม่สามารถวิ่งสวนทางกันได้ จึงมีการจัดการจราจรให้เดินรถทางเดียว หรือบางแห่งเป็นซอยที่มีขนาดใหญ่เทียบเท่าถนน สำหรับชื่อของซอย มักจะตั้งชื่อตามถนนที่ซอยนั้นแยกออกมา เช่น ซอยสุขุมวิท 55 หรือ ถนนทองหล่อ เป็นซอยที่แยกออกมาจากถนนสุขุมวิท เป็นต้น

ถนนมีทั้งถนนในเมืองและถนนที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด ถนนบำรุงรักษาโดยหน่วยงานท้องถิ่น หรือถนนในเมืองบางแห่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวง ซึ่งจะมีการกำกับรหัสหมายเลขทางหลวงนั้น ๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดที่มีการลงทุนในเรื่องโครงข่ายถนนในเมืองและในจังหวัดเป็นเงินจำนวนมาก

ทางหลวงในประเทศไทยมีหลายประเภท ได้แก่ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ทางหลวงท้องถิ่น ทางหลวงสัมปทาน ระบบทางหลวงในประเทศไทยมีความยาวรวม 64,600 กิโลเมตร ลาดยางแล้ว 62,985 กิโลเมตร และยังไม่ได้ลาดยาง 1,615 กิโลเมตร (ข้อมูลปี พ.ศ. 2539) ทางหลวงแผ่นดินสายหลักในประเทศไทย ได้แก่ ถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม ทางหลวงบางแห่งได้รับการกำหนดให้เป็นทางหลวงสายเอเชีย นอกจากนี้ยังมีทางหลวงพิเศษ ซึ่งเป็นทางหลวงประเภทหนึ่ง แต่มีการควบคุมการเข้าออก และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ทางพิเศษเป็นถนนที่มีการควบคุมการเข้าออก และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในเขตเมืองสำคัญต่าง ๆ แต่ได้ดำเนินการก่อสร้างเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น ส่วนทางพิเศษในเมืองสำคัญต่าง ๆ ยังเป็นโครงการและยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง ส่วนทางหลวงพิเศษเป็นโครงข่ายทางหลวงที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีทางหลวงพิเศษเพียง 2 สาย ได้แก่ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และถนนกาญจนาภิเษก

รถประจำทางเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่อย่างหนึ่งในไทย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพมหานคร ระบบรถเมล์ประจำทางให้บริการโดย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก) ถือเป็นระบบที่ขนส่งผู้โดยสารระบบหนึ่ง รถโดยสารระหว่างจังหวัดให้บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และบริษัทเอกชนอีกหลายบริษัท โดยมีสถานีรถโดยสารในกรุงเทพมหานคร สามแห่ง คือ หมอชิต2 สถานีขนส่งสายใต้ และสถานีขนส่งเอกมัย นอกจากนั้นยังมีรถประจำทางด่วนพิเศษบริการเฉพาะกรุงเทพและปริมณฑลได้แก่ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและรถ ปรับอากาศพิเศษ (ปอ.พ)บริการในกรุงเทพมหานครของ บริษัท พรีเมียร์ เมโทรบัส

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองเดียวที่มีรถรางชมเมือง ซึ่งประกอบด้วย 2 เส้นทางคือ รถรางสายรอบกรุงรัตนโกสินทร์ และรถรางเยาวราช(ปิดบริการชั่วคราว) โดยความจริงแล้วในภาษาอังกฤษรถราง Tram หมายถึงรถที่ใช้ระบบไฟฟ้าเท่านั้น แต่ในประเทศไทย ได้นำคำนี้มาใช้กับบริการรถเมล์ทัวร์รอบเมืองจึงถือเป็น ระบบถนนไม่ใช่ระบบราง

รถรับจ้างมีหลายประเภท เช่น รถแท็กซี่ ระบบมิเตอร์บริการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น ชลบุรี ภูเก็ต หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี และเชียงใหม่ รวมทั้งมอเตอร์ไซค์รับจ้างตามหน้าปากซอยและสถานที่สำคัญ ตุ๊กตุ๊กและรถสามล้อ มีให้บริการเช่นกัน

ท่าอากาศยาน มีจำนวนทั้งสิ้น 106 แห่ง (ข้อมูลปี พ.ศ. 2542) ท่าอากาศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและรองรับผู้โดยสารได้มากที่สุดในประเทศไทย คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ ยังมีท่าเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 17 แห่ง (ข้อมูลปี พ.ศ. 2550)

ในประเทศไทยมีสายการบินจำนวนมาก โดยมีการบินไทยเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติ

เส้นทางน้ำสายสำคัญ 3,999 กม. 3,701 กม. เป็นเส้นทางที่มีน้ำลึกไม่ต่ำกว่า 0.9 เมตรตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเล็กๆ อีกจำนวนมาก ที่ใช้เรือขนาดเล็กเช่นเรือหางยาวในการเดินเรือ

แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่ใช้ในการเดินทางขนส่งก็ว่าได้ มีเรือโดยสารให้บริการในเส้นทางต่างๆ จำนวนมากมายหลายบริษัท เช่น เรือด่วนเจ้าพระยา หรือเรือหางยาวต่างๆ นอกจากนี้ยังมี เรือโดยสารคลองแสนแสบ ให้บริการในคลองแสนแสบ ซึ่งสามารถเข้าถึงใจกลางเมืองกรุงเทพได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

เรือเดินสมุทรมีทั้งหมด 299 ลำ (ขนาดใหญ่เกิน 1,000 ตันกรอส) หรือคิดเป็นขนาด 1,834,809 ตันกรอส หรือ 2,949,558 DWT (ข้อมูลปี พ.ศ. 2542) แบ่งออกเป็น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406