การขนส่งระบบรางในประเทศไทย คือ การขนส่งระบบรางที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ทั้งรถไฟทางไกลและรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง กรุงเทพ - รังสิต ระยะทาง 31 กิโลเมตร และเป็นทางสามช่วง รังสิต - ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 59 กิโลเมตร โดยมีเส้นทาง ดังนี้
และการรถไฟฯ ยังได้เปิดเดินเส้นทางรถไฟฟ้าจำนวน 1 เส้นทาง ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร โดยให้บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด (SRT Electrified Train Co., Ltd. หรือ SRTET) ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจาก Deutsche Bahn AG ประเทศเยอรมนี เป็นผู้ดำเนินการในการเดินรถ โดยเส้นทางดังกล่าวคือ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นอกจากนั้นยังมีการสร้างทางอีกหลายเส้นทาง อาทิ สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า - สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี - สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย - สถานีรถไฟศรีราชา - สถานีรถไฟแหลมฉบัง - สถานีรถไฟชุมทางเขาชีจรรย์ - สถานีรถไฟมาบตาพุด และโครงการรถไฟฟ้าอีกสองเส้นทางคือ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา - หัวหมาก) และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต - มหาชัย) หรือเรียกรวมๆ ได้ว่า โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงรางที่สำคัญมากๆพัฒนารางคือ ขยาย ทางให้เป็นทางคู่เพื่อให้สามารถทำความเร็วได้มากขึ้นลดเวลาการเดินทาง จุโบกี้สินค้าได้มากขึ้น จุผู้โดยสารได้มาก และประหยัดพลังงานมากขึ้นเนื่องจาก การขนส่ง เที่ยวหนึ่ง สามารถจุคนสินค้าได้มากกว่ารถยนต์ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการพัฒนาปรับปรุงการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพและดีขึ้นซึ่งปัจจุบันรางเดี่ยวไม่เหมาะที่จะขนส่งอีกต่อไป ซึ่งทางเดี่ยวจะเสียต้นทุนมาก โครงการที่สำคัญๆ ที่จะสร้าง คือ ชุมทางสระบุรีไป ปากนำโพ 118กม นครปฐมไปหัวหิน 165 กม มาบกะเบา ไป ชุมทางถนนจิระ132 กม และ จิระไปขอนแก่น 185กม ประจวบ คีรีขันธ์ไปชุมพร 167กม โครงการเฟสแรกรวม 767 กม
ขบวนรถด่วนพิเศษ (Special Express) เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญ ๆ เท่านั้น ปัจจุบันมีชนิดรถให้บริการ ดังนี้
ขบวนรถด่วน (Express) เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญ ๆ เท่านั้น แต่มีการให้บริการของชนิดรถพ่วงมากกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ แบ่งชนิดรถที่ให้บริการ ดังนี้
ขบวนรถเร็ว (Rapid) เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกลหยุดมากกว่ารถด่วนพิเศษและรถด่วน รถพ่วงส่วนใหญ่จะเป็นรถนั่งชั้น 3 คิดค่าธรรมเนียมขบวนรถ ตามระยะทาง แบ่งชนิดรถที่ให้บริการ ดังนี้
ขบวนรถธรรมดา (Ordinary) เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสาร จากกรุงเทพไปยังจังหวัดสำคัญๆ ในแต่ละภูมิภาค โดยมีระยะทางระหว่าง 151 - 600 กม. หยุดรับส่งทุกป้ายหยุด ที่หยุด และสถานี แบ่งชนิดรถที่ให้บริการ ดังนี้
ขบวนรถชานเมือง ( Bangkok Commuter) เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รัศมีไม่เกิน 160 กม. เพื่อใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขาย หยุดทุก ๆ สถานี ป้ายหยุดรถ ที่หยุดรถ
ขบวนรถท้องถิ่น (Rural Commuter) เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารระหว่างจังหวัด หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ รถพ่วงจะเป็นรถโดยสารนั่งชั้น 3 ตลอดทั้งขบวน แบ่งชนิดรถที่ให้บริการ ดังนี้
ขบวนรถรวม เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารระหว่างจังหวัด หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ และมีรถสินค้าพ่วงในขบวนด้วย เพื่อรับ -ส่งสินค้า ปัจจุบันมีการเดินรถในเส้นทางสายใต้ จำนวน 2 ขบวน คือ
ขบวนรถนำเที่ยว (Excursion) เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และ วันหยุดราชการ จะหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น
ขบวนรถสินค้า คือขบวนรถไฟที่ประกอบด้วยรถสินค้าเท่านั้น ให้บริการด้านการขนส่งสินค้า "ประเภทเหมาคัน" ทั้งภายในประเทศ และเพื่อส่งออกประเทศมาเลเซีย ที่สถานีปลายทางสุไหงโก-ลก และสถานีปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นสถานีรถไฟชายแดน
รถไฟฟ้า (Electrified Train) คือขบวนรถไฟที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน โดยใช้การจ่ายไฟฟ้าโดยสายส่งเหนือหัวซึ่งแปลงไฟฟ้ามาจากไฟฟ้ากระแสตรงของการไฟฟ้านครหลวงอีกที โดยจะวิ่งบนรางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถไฟประเภทนี้จะสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบกับระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อให้ตัวระบบคอมพิวเตอร์ที่รถไฟฟ้าทำงาน ทำให้หน้าที่ของพนักงานขับรถมีเพียงอย่างเดียวคือ เปิด-ปิด ประตู แต่ในกรณีที่ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้อง พนักงานขับรถก็ต้องทำการขับรถไฟด้วยตนเอง รถไฟประเภทนี้จะไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อเพลิง เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด จึงสามารถให้บริการได้ดีกว่า แต่ยกเว้นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วกรุงเทพนั้น รถไฟจะปรับไปใช้ระบบไฟฟ้าสำรองในตัว และตัดการทำงานที่ไม่จำเป็น เพื่อทำการส่งผู้โดยสารให้เร็วที่สุด รถไฟประเภทนี้ให้บริการในโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งหมด
การสำรองรถไฟฟ้าในที่นี้กล่าวคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่รถไฟฟ้าไม่สามารถวิ่งได้ตามปกติ จะมีการส่งรถสำรองจากศูนย์ซ่อมบำรุงออกไปยังจุดที่เกิดปัญหา เพื่อรับผู้โดยสารไปส่งยังสถานีปลายทาง
รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในเส้นทางหมอชิต - อ่อนนุชและสนามกีฬาแห่งชาติ - สะพานตากสิน โดยในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 4 สาย 63 สถานี ครอบคลุมระยะทางกว่า 100.52 กิโลเมตร
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การขนส่งระบบรางในประเทศไทย