การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย เป็นปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทรัพย์สินของประชาชนและของทางราชการ ทำให้เสียทัศนียภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว อีกทั้งยังทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพยากรชายฝั่งอีกด้วย โดยอัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยและด้านอันดามันเฉลี่ยมากกว่า 5.0 เมตรต่อปี แต่การกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอันดามันเกิดขึ้นน้อยกว่าชายฝั่งด้านอ่าวไทย[ต้องการอ้างอิง]
ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยมีความยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร และมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 11 ล้านคน ทั้งนี้สามารถแบ่งได้เป็น
บริเวณชายฝั่งทะเลมีความสำคัญในด้านการเป็นที่อยู่อาศัย เป็นพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมและในเชิงพาณิชย์ การท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นพื้นที่อนุรักษ์และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์อีกด้วย
ในปัจจุบันชายฝั่งทะเลของประเทศไทยประสบกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในระดับรุนแรง ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทรัพย์สินของประชาชนและของทางราชการ ทำให้เสียทัศนียภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว อีกทั้งยังทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพยากรชายฝั่งอีกด้วย
การกัดเซาะชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่มีแนวโน้มจะมีความถี่มากขึ้นและยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี
มีอัตราการกัดเซาะรุนแรง คือเฉลี่ยมากกว่า 5.0 เมตรต่อปี (ถือเป็นพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เร่งด่วน) เกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งระยะทางรวม 180.9 กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9 ของแนวชายฝั่งอ่าวไทย ทั้งนี้ชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและเกิดการกัดเซาะที่รุนแรงที่สุด โดยบางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี
เกิดขึ้นน้อยกว่าชายฝั่งด้านอ่าวไทยโดยมีการกัดเซาะรุนแรงในอัตราเฉลี่ยมากกว่า 5.0 เมตรต่อปี (พื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เร่งด่วน) รวมระยะทาง 23.0 กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 2.4 ของแนวชายฝั่งอันดามัน อีกทั้งพบว่าโดยทั่วไปการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอันดามันมักเกิดในพื้นที่หาดทรายมากกว่าบริเวณอื่นๆ
เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 สาเหตุหลักคือ เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ และเกิดจากการกระทำของมนุษย์
ที่นิยมใช้และได้ดำเนินการในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่ผ่านมา ประกอบด้วย 2 วิธี คือ มาตรการโครงสร้างแบบแข็ง (Hard Solution) และมาตรการโครงสร้างแบบอ่อน (Soft Solution)
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย