กาพย์ยานี เป็นคำประพันธ์ไทยประเภทกาพย์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด มีทั้งแต่งสลับกับคำประพันธ์ประเภทอื่นและแต่งเพียงลำพัง กาพย์ยานีบทหนึ่งมีสองบาท บาทละ 11 คำ คนทั่วไปจึงนิยมเรียกว่า กาพย์ยานี 11
กาพย์ยานี มีหลักฐานควรเชื่อว่าได้ชื่อมาจากคาถา[[ภาษาบาลี ]]ที่ยกเป็นตัวอย่างฉันท์ในจินดามณี คือ อินทรวิเชียรฉันท์ ยกตัวอย่างว่า
จึงทำให้ผู้รู้ส่วนใหญ่จัดว่ากาพย์เป็นคำประพันธ์เดียวกับฉันท์ เพียงแต่เราไม่บังคับครุและลหุ เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่มีชื่อกาพย์ยานีในตำรากาพย์สารวิลาสินีและกาพย์คันถะอันได้ชื่อว่าเป็นต้นเค้าของกาพย์ทั้งมวลเลย
หนึ่งบทมีสองบาท บาทละ 11 คำ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ บังคับสัมผัสระหว่างวรรคที่ 1, 2 และ 3 ทิ้งสัมผัสวรรคที่ 4 สัมผัสระหว่างบทส่งจากท้ายบทแรกไปยังท้ายบาทแรกของบทต่อไป ดังตัวอย่าง
กวีอาจเพิ่มความไพเราะของกาพย์ยานีด้วยการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4 ก็ได้ ดังตัวอย่าง
กาพย์ยานีในยุคแรก ๆ บังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างบาท และสัมผัสระหว่างบทเท่านั้น สัมผัสระหว่างวรรคไม่บังคับ ดังตัวอย่างจากอนิรุทธ์คำฉันท์ และสมุทรโฆษคำฉันท์
สมัยอยุธยายุคกลางและยุคปลายได้เพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคที่ 2 แล้ว ต่อมา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร กวีผู้ชำนาญเชิงกาพย์ ทรงเพิ่มสัมผัสสระในคำที่ 2 - 3 วรรคแรก และคำที่ 3 - 4 ในวรรคหลัง อย่างเป็นระบบ ทำให้จังหวะอ่านรับกันเพิ่มความไพเราะมากขึ้น และส่งอิทธิพลมาถึงกวีสมัยรัตนโกสินทร์ ตลอดถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังตัวอย่าง
สุนทรภู่ ก็เป็นอีกตำนานหนึ่งที่ประยุกต์กาพย์ยานีของกรุงศรีอยุธยา โดยให้ความสำคัญกับสัมผัสเป็นหลัก มีการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4 รวมทั้งให้ความสำคัญกับน้ำหนักคำและน้ำเสียงด้วย ดังตัวอย่าง
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงกินกาพย์ยานี โดยละทิ้งสัมผัสไปมากแต่มาเล่นน้ำหนักของคำและทรงใช้สัมผัสอักษรแทนสัมผัสระหลายครั้ง และน่าจะเป็นตัวตั้งสำหรับกาพย์ยุคหลังๆ ครั้งที่นายผี (อัศนี พลจันทร) สร้างสรรค์กาพย์ยานีรูปใหม่ ดังตัวอย่าง
ในยุคกึ่งพุทธกาล นายผี หรือ อัศนี พลจันทร ได้สั่นสะเทือนวงการกาพย์ด้วยลีลาเฉพาะตัว โดยทิ้งสัมผัสในไปมาก หันมาใช้สัมผัสอักษรแทน เน้นคำโดดอันให้จังหวะสละสลวยจนคล้ายอินทรวิเชียรฉันท์กลายๆ ดังตัวอย่าง