ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

กัมพูชาประชาธิปไตย

กัมพูชาประชาธิปไตย (ฝรั่งเศส: Kampuchea d?mocratique, เขมร: ???????????????????? ก็อมปูเจียประเจียทิปะเต็ย ) คือชื่อของประเทศกัมพูชาระหว่างปี พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2522 ซึ่งเกิดจากการโค่นล้มรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรของนายพลลอลนอล และได้จัดปกครองในรูปแบบรัฐคอมมิวนิสต์โดยพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาหรือเขมรแดง ในสมัยนี้องค์กรของรัฐบาลจะถูกอ้างถึงในชื่อ "อังการ์เลอ" (องฺคการเลี - องค์การบน หรือ หน่วยเหนือ) ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชานั้น แกนนำของพรรคให้เรียกชื่อว่า "อังการ์ปะเดะวัด" (องฺคการปฏิวัตฺติ - องค์การปฏิวัติ) โดยผู้นำสูงสุดของประเทศที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดคือนายพล พต ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของเขมรแดงด้วย

ในปี พ.ศ. 2522 กองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาภายใต้การนำของเฮง สัมริน และกองทัพเวียดนามได้รุกเข้ามาทางชายแดนตอนใต้ของกัมพูชาและสามารถโค่นล้มรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยได้สำเร็จ พร้อมทั้งได้จัดการปกครองประเทศใหม่ในชื่อ สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา กองทัพเขมรแดงจึงได้ถอยร่นไปตั้งมั่นในทางภาคเหนือของประเทศและยังคงจัดรูปแบบการปกครองตามระบบของกัมพูชาประชาธิปไตยเดิมต่อไป

ด้วยการสนับสนุนของชาวกัมพูชาในชนบท เขมรแดงจึงสามารถเข้าสู่กรุงพนมเปญได้เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 พวกเขายังให้พระนโรดม สีหนุเป็นผู้นำประเทศแต่ในนามจนถึง 2 เมษายน พ.ศ. 2519 หลังจากนั้น สีหนุถูกกักบริเวณในพนมเปญ จนกระทั่งเกิดสงครามกับเวียดนาม พระองค์จึงลี้ภัยไปจีน

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาได้ประกาศรัฐธรรมนูญของกัมพูชาประชาธิปไตยโดยกำหนดให้มีสภาตัวแทนประชาชนกัมพูชา การเลือกตั้งและการแต่งตั้งประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี สภานี้มีการประชุมเพียงครั้งเดียวในเดือนเมษายน พ.ศ. 2519 สมาชิกของสภานี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้งของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ อำนาจของรัฐที่แท้จริงแล้วยังเป็นของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาซึ่งนำโดยเลขาธิการพรรคและนายกรัฐมนตรี คือ พล พต รองเลาขาธิการพรรคคือนวน เจีย และคนอื่นๆอีก 7 คน สำนักงานตั้งอยู่ที่ สำนักงาน 870 ในกรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนั้นว่า ศูนย์กลาง, องค์กร, หรืออังการ์

เขมรแดงได้ทำลายระบบกฎหมายและระบบศาลของสาธารณรัฐเขมร ไม่มีศาล ผู้พิพากษาหรือกฎหมายใดๆ ในกัมพูชาประชาธิปไตย ศาลประชาชนที่มีระบุในหมวดที่ 9 ของรัฐธรรมนูญไม่เคยถูกตั้งขึ้น เจ้าหน้าที่ในระบบศาลเดิมถูกส่งตัวเข้าค่ายสัมมนาและสอบสวน ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐและผู้สนับสนุนรัฐบาลเดิมถูกกักขังและประหารชีวิต

ทันทีที่พนมเปญแตก เขมรแดงสั่งให้อพยพประชาชนจำนวนมากออกจากเมืองโดยกล่าวอ้างว่าสหรัฐอเมริกาจะมาทิ้งระเบิด การอพยพประชาชนเช่นนี้เกิดขึ้นในเมืองอื่นด้วยเช่น พระตะบอง กำปงจาม เสียมราฐ กำปงธม เขมรแดงจัดให้ประชาชนเหล่านี้ออกมาอยู่ในนิคมในชนบท ให้อาหารแต่เพียงพอรับประทาน ไม่มีการขนส่ง บังคับให้ประชาชนทำการเกษตรเพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอ เขมรแดงต้องการเปลี่ยนประเทศไปสู่ความบริสุทธิ์ที่ไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและปรสิตในสังคมเมือง นิคมที่สร้างขึ้นบังคับให้ทั้งชายหญิงและเด็กออกไปทำงานในทุ่งนา ทำลายชีวิตครอบครัวดั้งเดิมซึ่งเขมรแดงกล่าวว่าเป็นการปลดแอกผู้หญิง

หลังจากได้ชัยชนะในสงครามกลางเมืองไม่นาน เกิดการปะทะระหว่างทหารเวียดนามกับทหารเขมรแดงเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 อีกไม่กี่เดือนต่อมา พล พตและเอียง ซารี เดินทางไปฮานอยทำให้ความขัดแย้งสงบลง ในขณะที่เขมรแดงครองอำนาจในกัมพูชา ผู้นำเวียดนามตัดสินใจสนับสนุนกลุ่มต่อต้านพล พตในกัมพูชาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2521 ทำให้กัมพูชาตะวันออกเป็นเขตที่ได้รับการสนับสนุนจากเวียดนาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2521 เกิดการลุกฮือในกัมพูชาตะวันออกนำโดยโส พิม ทำให้มีการฆ่าชาวเวียดนามในกัมพูชาตะวันออกเป็นจำนวนมาก สถานีวิทยุพนมเปญประกาศว่าถ้าทหารกัมพูชา 1 คน ฆ่าทหารเวียดนามได้ 30 คน กำลังทหารเพียง 2 ล้านคนจะเพียงพอในการฆ่าชาวเวียดนาม 50 ล้านคน และยังแสดงความต้องการจะยึดดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมาเป็นของกัมพูชา ในเดือนพฤศจิกายน วอน เว็ต ก่อรัฐประหารแต่ล้มเหลว ทำให้มีชาวเวียดนามและชาวกัมพูชานับหมื่นคนอพยพเข้าสู่เวียดนาม ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2521 วิทยุฮานอยประกาศจัดตั้งแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของกลุ่มต่อต้านพล พตทั้งที่นิยมและไม่นิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีกองทัพเวียดนามหนุนหลัง เวียดนามเริ่มรุกรานกัมพูชาเพื่อโค่นล้มเขมรแดงตั้งแต่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 และสามารถเข้าสู่กรุงพนมเปญ ขับไล่เขมรแดงออกไปได้เมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2522 จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาขึ้นแทน

สหประชาชาติยังคงให้กัมพูชาประชาธิปไตยมีที่นั่งในสหประชาชาติโดยตัวแทนคือเทือน ประสิทธิ์ และเอียง ซารีโดยใช้ชื่อกัมพูชาประชาธิปไตยจนถึง พ.ศ. 2525 จากนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยจนถึง พ.ศ. 2536 จีนและสหรัฐอเมริการวมทั้งชาติตะวันตกอื่นๆ ต่อต้านการขยายตัวของเวียดนามและโซเวียตเข้าไปในกัมพูชาและการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา โดยกล่าวอ้างว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนาม จีนสนับสนุนเขมรแดงจนถึง พ.ศ. 2532 ส่วนสหรัฐสนับสนุนกลุ่มที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ในการต่อต้านรัฐบาลที่มีเวียดนามหนุนหลัง โดยให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มของซอน ซานและสีหนุ ในทางปฏิบัติ ความเข้มแข็งของกองทหารของกลุ่มที่ไม่ใช่เขมรแดงมีน้อยแม้จะได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนมากกว่า ในที่สุด ทั้งสามกลุ่มจึงรวมเป็นแนวร่วมเขมรสามฝ่ายหรือรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยใย พ.ศ. 2525

จากการพยายามเจรจาสันติภาพเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา ฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชายินดีเข้าร่วมแต่เขมรแดงปฏิเสธทำให้ถูกตัดออกไป เขมรแดงจึงเป็นกลุ่มเดียวในเขมรสามฝ่ายที่ยังคงสู้รบอยู่ กลุ่มของซอน ซานและสีหนุเข้าร่วมในแผนการสันติภาพและการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2536 ต่อมาใน พ.ศ. 2540 พล พต สั่งฆ่าซอน เซน นายทหารคนสนิทในข้อหาพยายามเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลกัมพูชา ใน พ.ศ. 2541 พล พต เสียชีวิต เขียว สัมพัน เอียง ซารียอมมอบตัวกับทางรัฐบาล ตา มกยังคงหลบหนีจนถูกจับได้ใน พ.ศ. 2542 กลุ่มเขมรแดงจึงสิ้นสุดลง

กัมพูชาประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดดับประเทศจีนและเกาหลีเหนือ นอกจากสองประเทศนี้แล้ว ประเทศอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชาประชาธิปไตยคือ อียิปต์ แอลเบเนีย คิวบา ลาว เวียดนาม (จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2520)โรมาเนีย และยูโกสลาเวีย

ทหารประมาณ 68,000 คนของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนกัมพูชาได้กลายมาเป็นกองทัพของกัมพูชาประชาธิปไตยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 และเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพปฏิวัติกัมพูชา รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมคือ ซอน เซน

ใน พ.ศ. 2518 รัฐบาลเขมรแดงได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองภายในประเทศโดยได้แบ่งตามเขตภูมิศาสตร์แทนการแบ่งเป็นจังหวัด ซึ่งได้มาจากการแบ่งหน่วยของเขมรแดงในการต่อสู้กับสาธารณรัฐเขมรโดยแบ่งเป็น 7 เขต ได้แก่ เขตเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ และเขตกลาง และมีเขตพิเศษอีกสองเขตคือเขตพิเศษกระแจะหมายเลข 505 และเขตพิเศษเสียมราฐหมายเลข 106 (ก่อนกลงปี พ.ศ. 2520) แต่ละเขตแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นตำบล ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลข ภายในหมู่บ้านแบ่งย่อยเป็นกลุ่มหรือกรม ประกอบด้วย 15 – 20 หลังคาเรือน โดยมีผู้นำเรียกแม่กรม รูปแบบการปกครองแบบนี้ ยังใช้อยู่หลังการรุกรานกัมพูชาของเวียดนามแต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

หลังจากได้ชัยชนะในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 พล พตและผู้ใกล้ชิดได้ขึ้นสู่ตำแหน่งที่สำคัญของประเทศ เขียว ธีริทได้เป็นผู้ควบคุมกองกำลังเยาวชนของพรรค อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้นำยังไม่สมบูรณ์เพราะยังมีส่วนย่อยของพรรคในภาคตะวันออก กลุ่มผู้นิยมเวียดนามและกลุ่มอดีตผู้นำเขมรอิสระยังเป็นเอกเทศภายในพรรค ตลอดที่ครองอำนาจ ได้เกิดความขัดแย้งภายในพรรคจนเกิดการกวาดล้างครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2520 และ 2521 ทำให้มีประชาชนและผู้นำพรรคถูกสังหารเป็นจำนวนมาก

แม้ว่าในมาตรา 20 ของรัฐธรรมนูญกัมพูชาประชาธิปไตยรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ก็มีการประกาศห้ามการนับถือศาสนาทุกศาสนา ประชากรประมาณร้อยละ 85 นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีพระภิกษุ 40,000 - 60,000 รูป พระภิกษุถูกกล่าวหาว่าเป็นปรสิตของสังคมถูกบังคับให้สึกและออกไปใช้แรงงาน พระภิกษุที่ไม่ยอมสึกถูกประหารชีวิต วัดถูกเปลี่ยนเป็นยุ้งฉาง พระพุทธรูปถูกทำลายและนำไปทิ้งน้ำ ประชาชนที่สวดมนต์หรือปฏิบัติศาสนกิจถูกฆ่า

ผู้นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนิยมตะวันตก โบสถ์นิกายโรมันคาทอลิกในพนมเปญถูกสั่งปิด ชาวมุสลิมถูกบังคับให้รับประทานหมูที่เป็นหะรอม ผู้ไม่ทำตามถูกฆ่า บาทหลวงและอิหม่ามถูกนำไปตัวไปประหารชีวิต

เขมรแดงต้องการลดจำนวนชาวจีน ชาวเวียดนามและชาวจามในกัมพูชา รวมทั้งชนกลุ่มน้อยๆอื่นๆอีกกว่าสิบเผ่าซึ่งคิดเป็นประชากรร้อยละ 15 ของกัมพูชา ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ถูกฆ่า ที่เหลือรอดมาได้คือผู้ที่อพยพเข้าสู่เวียดนาม ชาวจามซึ่งเป็นมุสลิมที่เหลือรอดหลังการล่มสลายของอาณาจักรจามปาถูกบังคับให้พูดภาษาเขมร ให้แต่งกายตามแบบของชาวเขมร หมู่บ้านของพวกเขาที่อยู่ต่างหากจากชาวเขมรถูกทำลาย เฉพาะชาวจามในจังหวัดกำปงจามถูกฆ่าไปราวสี่หมื่นคน ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยตามแนวชายแดนไทยได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย

ชาวจีนในกัมพูชาเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกเขมรแดงสังหาร ชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนที่เป็นพ่อค้าถูกเขมรแดงสังหารไปเป็นจำนวนมาก ชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนเมื่อสิ้นสุดสมัยสาธารณรัฐเขมรมีประมาณ 425,000 คน แต่เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2522 เหลืออยู่เพียงประมาณ 200,000 คน

สำหรับนโยบายของเขมรแดงต่อชนเผ่าต่างๆทางตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาที่เรียกว่าชาวเขมรบนหรือขะแมร์เลอนั้นมีน้อยมาก พล พตเคยอาศัยพื้นที่ของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดรัตนคีรีเป็นที่ตั้งมาก่อน และมีสมาชิกพรรคหลายคน แต่งงานกับหญิงชาวเขมรบนเหล่านี้

นโยบายเศรษฐกิจของกัมพูชาประชาธิปไตยเป็นเช่นเดียวกับนโยบายการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของจีนเมื่อ พ.ศ. 2501 ในช่วงแรก เขมรแดงได้จัดระบบเศรษฐกิจแบบนารวมในพื้นที่ยึดครองของตน หลัง พ.ศ. 2516 ได้มีการจัดตั้งความร่วมมือในระดับต่ำ คือ เอกชนยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ และความร่วมมือระดับสูงที่เอกชนเป็นเจ้าของที่ดินไม่ได้ที่เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้แพร่หลายไปทั่วประเทศเมื่อ พ.ศ. 2519

เขมรแดงพยายามสร้างเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ยกเลิกระบบเงินตราและการค้าขาย ข้าวกลายเป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนที่สำคัญ การค้าขายกับต่างประเทศถูกระงับไปโดยสมบูรณ์ แต่ก็รื้อฟื้นขึ้นใหม่ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2519 ถึงต้นปี พ.ศ. 2520โดยเป็นการค้าขขายกับจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ก็มีการค้าขายกับฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐบ้างโดยผ่านทางฮ่องกง ภายในประเทศไม่ได้รับอิทธิพลทางเศรษฐกิจจากประเทศอื่น ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ของเขมรแดงล้มเหลวดังที่เคยเกิดขึ้นในประเทศจีน

ครูจำนวนมากที่สอนในกัมพูชาก่อน พ.ศ. 2518 ถูกจับและประหารชีวิต ไม่มีการสอนทักษะพื้นฐาน คณิตศาสตร์และการอ่านออกเขียนได้ แต่จะสอนเกี่ยวกับทฤษฎีปฏิวัติให้กับเยาวชน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนวัยหนุ่มสาวกับวัยผู้ใหญ่ มีการจัดตั้งพันธมิตรเยาวชนคอมมิวนิสต์กัมพูชา ซึ่งพล พตเชื่อมั่นว่าเป็นกลุ่มที่จงรักภักดีต่อเขา เขียว ธีริต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจกรรมสังคมเป็นผู้ควบคุมขบวนการเยาวชน

การดูแลสุขภาพของประชาชนในช่วง พ.ศ. 2518 – 2521 อยู่ในสภาพแย่ แพทย์ส่วนใหญ่ถูกประหารชีวิตมิเช่นนั้นก็ไม่แสดงตน เฉพาะคนในพรรคและทหารที่ได้รับการรักษาแบบตะวันตก ประชาชนส่วนใหญ่ต้องใช้หมอพื้นบ้านและสมุนไพร


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406