ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

กันภัยมหิดล

กันภัยมหิดล หรือ กันภัย เป็นชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidolae Burtt et Chermsir. ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ไม้เถาชนิดนี้ เกษม จันทรประสงค์ ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานนามว่า กันภัยมหิดล ให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[ต้องการอ้างอิง] ด้วยเหตุว่า เป็นต้นไม้ที่พบในประเทศไทย ปลูกง่าย นามเป็นมงคลและพ้องกับชื่อมหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นไม้เถาแต่ก็มีลักษณะสวยงาม สามารถจัดแต่งเป็นทรงพุ่มได้หลายแบบ อายุยืน โดยเมื่อเถาแห้งไปก็สามารถงอกขึ้นใหม่ได้ ซึ่งความเป็นไม้เถาแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าและความสามารถปรับตัวให้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างดี

กันภัยมหิดลนี้ได้รับการเสนอเข้าประกวด[ที่ไหน?] โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ รศ.วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล และ ผศ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เป็นไม้เถา แตกพุ่มหนาแน่น ยาวประมาณ 15 ม. มีขนคล้ายไหมหนาแน่นเกือบทุกส่วน หูใบออกเป็นคู่ รูปเคียว เบี้ยวเล็กน้อย ยาวประมาณ 1.5 ซม. ใบประกอบแกนกลางยาว 8-18 ซม. ก้านใบยาว 2.5 ซม. หูใบย่อยรูปเส้นด้าย ยาว 5 มม. ใบย่อยมี 4-6 คู่ เรียงเกือบตรงข้าม รูปไข่หรือขอบขนาน ยาว 1.5-7.5 ซม. ปลายใบกลม มีติ่งเล็กๆ โคนใบกลมหรือรูปหัวใจตื้นๆ เส้นแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น ก้านใบย่อยยาว 2-4 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบ ยาว 10-15 ซม. ใบประดับรูปใบหอก ยาว 1.5-3 ซม. ก้านดอกยาว 0.7-1 ซม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง สีขาวอมม่วง หลอดกลีบยาว 5-7 มม. รูปปากเปิด กลีบบน 2 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 3-6 มม. กลีบล่าง 3 กลีบ ยาวไม่เท่ากัน รูปแถบหรือรูปลิ่มแคบ ยาว 0.5-1 ซม. กลีบดอกสีม่วงอ่อน กลีบกลางรูปรี ด้านในมีสีเข้ม พับงอกลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม โคนกลีบรูปหัวใจ เป็นสันนูนทั้งสองด้าน เส้นกลางกลีบเป็นร่อง มีสีเหลืองแต้มใกล้โคน ที่โคนมีเดือยรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ ยาว 3 มม. กลีบปีกรูปขอบขนาน มีสีเข้ม ยาว 1.5 ซม. กลีบคู่ล่างยาวเท่าๆ กลีบปีก เชื่อมติดกันรูปคุ่ม ฝักรูปรีหรือขอบขนาน ยาว 7-9 ซม. หนาประมาณ 3 ซม. เมล็ดมี 1-2 เมล็ด สีน้ำตาล เกือบกลม

พบครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ . ศ .2510 โดยนาย เกษม จันทรประสงค์ ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าราชการกองพืชพรรณ กรมวิชาการเกษตร ( ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย) ได้เล่าเรื่องการพบพืชชนิดนี้ว่าท่านนั่งรถไฟไปลงที่สถานีวังโพ และเดินทางขึ้นภูเขาเตี้ยๆ หลังสถานีทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามกับแม่น้ำแควน้อย เมื่อถึงเวลาเที่ยง ท่านได้หยุดพักรับประทานอาหารที่ใต้ต้นไม้ ได้พบดอกไม้ชนิดหนึ่งร่วงอยู่ที่พื้น ท่านรู้สึกคุ้นกับลักษณะดอก เพราะคล้ายถั่วแปบช้างแต่คนละสี เมื่อมองขึ้นไปและเก็บลงมาเพื่อทำตัวอย่างแห้ง

อีก 2 เดือนถัดมา คือวันที่ 15 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ท่านได้นำผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรายุพิน จันทรประสงค์ ( เจิมศิริวัฒน์ ) เดินทางกลับไปที่เดิมเพื่อเก็บฝักที่เริ่มแก่ ให้ได้ตัวอย่างที่สมบูรณ์และขุดต้นกลับมาปลูกที่กรมวิชาการเกษตร สำหรับระบุ (identify) ว่าต้นไม้นี้จะเป็นต้นไม้ชื่ออะไร เมื่อต้นไม้ต้นนี้ออกดอกที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 จึงได้เก็บตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างต้นแบบ พร้อมทั้งทำคำบรรยายเป็นภาษาละตินและวาดภาพส่งไปให้ Mr. B. L Burtt พิสูจน์ชื่อที่สหราชอาณาจักร พร้อมทั้งขอพระราชทานชื่อเพื่อเป็นเกียรติกับพระชนนีศรีสังวาลย์ ( พระยศในขณะนั้น ) โดยเสนอคำว่า ศรีสังวาลย์ หรือมหิดล Mr. Burtt ได้แนะนำว่าให้ใช้มหิดล ซึ่งเขียนเป็นภาษาละตินว่า mahidolae

ทั้งนี้ในขณะนั้นถั่วแปบช้าง ( Afgekia sericea Craib) ซึ่งเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายกันมากและอยู่ในสกุล (genus) เดียวกัน คือ สกุลแอฟกีเกีย ( Afgekia ) เป็นพืชชนิดเดียวในสกุล ด้วยลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดหลายประการ ผศ . จิรายุพิน จึงแน่ใจว่าพืชต้นนี้เป็นพืชต่างชนิดแน่นอน และจะเป็นพืชชนิดที่สองในสกุลนี้ (ปัจจุบันค้นพบอีกชนิดหนึ่งคือ Afgekia filipes (Dunn) R.Geesink ซึ่งมีดอกสีเหลือง กระจายพันธุ์ทางตอนใต้ของจีนและทางเหนือของไทย)

เมื่อผลงานการค้นพบ และตั้งชื่อพืชชนิดนี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของสวนพฤกษศาสตร์เอดินเบอเรอ ชื่อ Notes from the Botanic Garden Edinburgh Vol.31 No.1 ในเดือนกรกฎาคม พ . ศ . 2514 จึงได้ถือว่าพืชชนิดนี้มีชื่อเป็นทางการตามกฎเกณฑ์ทางพฤกษศาสตร์ ชื่อที่ได้รับคือ Afgekia mahidolae B. L. Burtt & Chermsir. แต่ไม่มีชื่อไทย ส่วนถั่วแปบช้างนั้นมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น กันภัย ศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันทน์ ผู้เชี่ยวชาญทางพฤกษศาสตร์กรมป่าไม้ จึงได้เสนอว่าควรเรียกพืชต้นนี้ว่า กันภัย หรือ กันภัยมหิดล ท่านกล่าวว่าในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนที่ย่างกุมารทองนั้น ได้ใช้เถากันภัยมัดกุมารทองไว้ และด้วยเหตุที่เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่เกิดในแถบจังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี เถากันภัยดังกล่าว จึงน่าจะเป็นพืชชนิดเดียวกับพืชที่เพิ่งค้นพบนี้

สำหรับชื่อพฤกษศาสตร์ Afgekia mahidolae นั้น มีการแก้ไขให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ภาษาละติน โดยเติม -i- หลัง -l- เป็นดังนี้ Afgekia mahidol i ae ตาม International Code of Botanical Nomenclature ฉบับแก้ไขครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นผลจากการชำระกฎการตั้งชื่อพฤกษศาสตร์เมื่อ ปี พ.ศ. 2548 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (เรียกกฎเล่มนี้ในชื่อย่อว่า Vienna Code ตีพิมพ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2549) โดยคำแนะนำข้อ 60 C .1.b ระบุว่าชื่อพฤกษศาสตร์ที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแด่บุคคล ถ้าชื่อบุคคลลงท้ายด้วยตัวสะกด ให้เติม -i- และรูปคำระบุเพศต่อท้าย เช่น ชื่อบุคคลชาย Winit เป็น winitii ชื่อบุคคลหญิง Thaithong เป็น thaithongiae เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301