กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น มีประวัติมายาวนาน ในช่วง ศตวรรษที่ 20 จนถึง กลางศตวรรษ กำลังทางเรือญี่ปุ่นมีความก้าวหน้ามาก กองทัพเรือญี่ปุ่นในช่วงนั้นถือได้ว่าเป็นมหาอำนาจชาติหนึ่ง แต่ว่าเมื่อแพ้สงครามโลก กองทัพเรือญี่ปุ่นได้ถึงจุดตกต่ำสุด เมื่อปี ค.ศ. 1954 รัฐบาลญี่ปุ่น ได้จัดตั้งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลและอากาศขึ้น
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลก็ค่อย ๆ เติบโตบวกกับประสบการณ์การสร้างเรือรบมาตลอดของญี่ปุ่นทำให้วันนี้กองทัพเรือญี่ปุ่นหรือกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล เป็นกองทัพเรือที่ทันสมัยอย่างมากและมีเรือรบที่เพียงพอต่อยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นเป็นหมู่เกาะ มีเกาะขนาดใหญ่มาก ๆ ถึง 4 เกาะและเกาะเล็ก ๆ อีกสามพันกว่า ๆ มีทะเลล้อมรอบทั้งทะเลญี่ปุ่นที่ใกล้ทวีปเอเซีย และทางมหาสมุทรแปซิฟิค ที่เป็นทะเลเปิด เพราะฉะนั้น กองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) จึงต้องจัดวางกำลังและขีดความสามารถในการป้องกันตนเองให้มากที่สุดกองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) มีกำลังพลประมาณ 45,800 นาย
กองเรือภาคที่ 1 มีฐานทัพเรืออยู่ที่ โยโกซูกะ ซึ่งรับผิดชอบด้านตะวันออกและตอนกลางของเกาะญี่ปุ่นที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิค
กองเรือภาคที่ 2 มีฐานทัพเรืออยู่ที่ ซาเซโบะ รับผิดชอบทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะญี่ปุ่นหรือทะเลญี่ปุ่นตอนล่าง
กองเรือภาคที่ 3 มีฐานทัพเรืออยู่ 2 แห่งคือที่ มาอิซุรุ และ โอมินาโตะ มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ตอนกลางของญี่ปุ่นที่ติดทางฝั่งทะเลญี่ปุ่นและตอนเหนือของญี่ปุ่นคือรอบ ๆ เกาะฮกไกโด
กองเรือภาคที่ 4 มีฐานทัพเรืออยู่ที่ คุเระ มีพื้นที่รับผิดชอบตอนกลางช่วงล่างของญี่ปุ่นและพื้นที่โดยรอบเกาะชิโกกุ ที่ติดกับฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค
กองเรือหลักป้องกันตนเอง ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 กองเรือหลัก ในแต่ละกองเรือหลักจะมีอยู่ 2 หมวดเรือ ซึ่งจะกระจายไปในกองเรือภาคและฐานทัพเรือประจำภาคต่าง ๆ มีหน้าที่หลักโดยตรงก็คือป้องกันตนเอง รักษาดูแลน่านน้ำรอบ ๆ เกาะญี่ปุ่น ปกป้องผละประโยชน์และทรัพยาการทางทะเลเหมือนกับกองทัพเรือของทุกประเทศนั่น การจัดกำลังหมวดเรือจะมี เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ (DDH) , เรือพิฆาต (หนัก) ติดอาวุธปล่อยนำวิถี (DDG), เรือพิฆาต (DD) รวมถึงเรือพิฆาตเบาหรือจัดอยู่ประเภทเรือฟริเกต (DE) ในอัตราหมวดละ 3-4 ลำ กองเรือประจำภูมิภาค ซึ่งอาจจะคล้าย ๆ กับภารกิจกองเรือตรวจอ่าวของบ้านเรา กองเรือประจำภูมิภาคจะมีอยู่ 5 หมวดเรือซึ่งประจำการอยู่ในภูมิภาคและฐานทัพเรือทั้ง 5 ฐานทัพเรือและรับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ จากภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะ ซึ่งจะมีหน้าที่ลาดตระเวนตรวจการณ์หรืออาจร่วมกับกองเรือหลักป้องกันตนเองเพราะฉะนั้นจึงต้องใช้เรือที่มีขนาดใหญ่และมี เช่น เรือพิฆาต (DD) และ เรือพิฆาตเบาหรือจัดอยู่ประเภทเรือฟริเกต (DE) ในอัตราหมวดละ 3-4 ลำ เป็นกองกำลัง
กองเรือดำน้ำ ของกองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) จะมีอยู่ 2 กองเรือดำน้ำคือกองเรือดำน้ำที่1 (หมวด 1, 3 และ5) กับกองเรือดำน้ำที่ 2 (หมวด 2 และ 4) หมวดละ 3-4 ลำ ซึ่งกองเรือดำน้ำญี่ปุ่นมีเรือดำน้ำประจำการอยู่ทั้งหมด 17 ลำ (อนาคตเพิ่มอีก 3 ลำ) ซึ่งถือว่ามากพอสมควรนะครับ มีฐานทัพอยู่ 2 แห่งคือ โยโกซูกะ ที่กองเรือดำน้ำที่ 2 ใช้เป็นฐานทัพและ คิเระ ที่มีกองเรือดำน้ำที่ 1 ประจำการอยู่และอย่างที่ทราบเรือดำน้ำทุกลำผลิตเองใช้งานในประเทศ
กองเรือกวาดทุ่นระเบิด ถือว่าเป็นกองเรือที่มีความจำเป็นต่อทุกกองทัพเรือนอกเหนือจากเรือรบหลัก เพราะสงครามทุ่นระเบิดก็มีผลมากถ้าถูกปิดล้อมโดยวางทุ่นระเบิด ถึงแม้รอบ ๆ เกาะญี่ปุ่นจะเป็นทะเลเปิดแต่ก็มีบางพื้นที่ถ้าถูกปิดอย่างทะเลญี่ปุ่นก็จะส่งผลเดินทางทางทะเล กองเรือกวาดทุ่นระบิดของของกองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) มีเรือพี่เลี้ยงและสนับสนุนเรือกวาดทุ่นระเบิด, เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่งและเรือกวาดทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง รวม ๆ กันประมาณ 30 ลำซึ่งกองเรือกวาดทุ่นระเบิดจะมีฐานทัพอยู่ที่โยโกซูกะ และ คิเระ เหมือนกับกองเรือดำน้ำ
กองเรือยกพลขึ้นบกและลำเลียง จะเป็นกองเรือที่ให้การสนับสนุนการรบยกพลขึ้นบกทั้งทหารราบและรถถัง ยานเกราะขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งมีเรือสงครามสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกขนาดใหญ่ (LST) จำนวน 3 ลำสามารถบรรทุก ยาน LCAC รถถังและยานเกราะ รวมถึงเฮลิคอปเตอร์, เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ (LSU), เรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง (LCU) อย่างละ 2 ลำ, เรือระบายพลขนาดต่าง ๆ (LCM) รวมถึงยานสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก (LCAC) อีก 6 ลำ ซึ่งกองเรือยกพลจะมีฐานทัพหลักอยู่ที่ โยโกซูกะ และบางส่วนก็กระจายไปตามอีก 4 ฐานทัพเรือที่เหลือ
กองเรือสนับสนุน จะเป็นกองเรือสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เช่น เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ (AMS) , เรือเติมน้ำมันขนาดใหญ่ (AOE) ซึ่งเรือทั้งสองประเภทสามารถส่งเสบียงและเติมน้ำมันได้ในกลางทะเล มีไม่กี่ประเทศที่สามารถทำภารกิจแบบนี้ได้ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งที่มีศักยภาพด้านนี้นะครับ นอกจากนี้ก็ยังมี เรือตัดน้ำแข็ง (AGB), เรือสำรวจทะเลลึกและเรืออุทกศาสตร์ (AGS-ASE), เรือกู้ภัยช่วยเหลือโดยใช้เรือดำน้ำและเรือกู้ภัยเรือดำน้ำ (ASR-AS) และเรือประเภทต่าง ๆ สำหรับใช้งานในการสนับสนุน ซึ่งกองเรือสนับสนุนนี้จะมีฐานทัพหลักอยู่ที่ โยโกซูกะและฐานทัพเรืออื่น ๆ ตามภารกิจ
กองเรือฝึก จะมีหน้าที่สำหรับฝึกฝึกนักเรียนนายเรือและกำลังพลโดยเฉพาะ ซึ่งทางกองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) มีเรือที่ออกแบบมาเป็นเรือฝึกโดยตรงอยู่ 1 ลำ และก็ได้ทำการปรับปรุงเรือพิฆาตชั้น ฮัทซูยุกิ และ อซากิริ อย่างละ 2 ลำมาปรับปรุงเป็นเรือฝึก ซึ่งกำลังพลหรือนักเรียนนายเรือ สามารถทำการฝึกฝนได้เหมือนจริง เพราะระบบอาวุธและระบบต่าง ๆ ก็ไม่แตกต่างจากเรือรบหลักที่ประจำการเท่าไหร่ รวมไปถึงการปรับปรุงเรือดำน้ำชั้น ฮารุชิโอะ 2 ลำให้เป็นเรือดำน้ำฝึกด้วย เพื่อสร้างศักยภาพให้กำลังพลเรือดำน้ำ นอกจากนี้ ยังกองบัญชาการฝึกทางเรือและทางอากาศ และหน่วยงานด้านอื่น ๆ
เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 4 เครื่อง ของ Rolsl-Royce Spey และ Rolsl-Royce Olympus อย่างละ 2 เครื่องมีเพลาใบจักร 2 เพลา ขนาด 54,000 KW ทำความเร็วได้ถึง 30 นอต
ขับเคลื่อนด้วยระบบ เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 4 เครื่อง เครื่องมีเพลาใบจักร 2 เพลา ขนาด 54,000 KW ทำความเร็วได้ถึง 30 นอต
Hayabusa ถูกสร้างตั้งแต่ปี 2000 ถึงปี 2004 โดยทาง JMSDF ตั้งใจจะเอามาทดแทน PG 1 Go ที่ไม่เหมาะกับทะเลเปิดขนาดใหญ่แบบญ๊ปุ่น (PG 1 Go ที่ไดแบบมาจาก Sparviero-class ของอิตาลีนั้น เหมาะกับทะเลปิดมากกว่าโดยตัวเรือนั้น ถูกต่อขึ้นที่อู่ ชิโมโนะเซกิ(Shimonoseki) ซึ่งเป็นอู่เอกชนขนาดเล็ก (แต่เป็นคนละอู่กับที่สร้าง เรือเร็วโจมตีขีปนาวุธ PG 1 Go) โดยเริ่มต้นวางกระดูกงู ในเดือน พฤศจิกายน ปี2000 และทยอยต่อเข้าประจำการ จนครบ 6 ลำในเดือน มีนาคม ปี2004เพื่อลบข้อด้อยของ PG 1 Go ที่มีขนาดเล็ก ทางผู้ออกแบบจึงได้ขยายแบบเรือ ให้ใหญ่ขึ้น 4 เท่าติดอาวุธให้หนักขึ้น และใช้เครืองยนต์ที่มีกำลังสูงขึ้น โดยได้นำระบบ Water Jet ที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ใหม่มากๆ ในสมัยนั้นมาใช้ จึงทำให้ Hayabusa เป็นเรือเร็วโจมตี ติดอาวุธปล่อยนำวิถี ที่ทำความเร็วสูงและมีอาวุธที่หนักมากในยุคนั้น
มีระบบอาวุธปล่อยพื้น-สู่-พื้น แบบท่อคู่ SSM 1 B (Type 90 ship-to-ship missile) ซึ่งมีช่วงหมัดยาวถึง 200km แต่มีน้ำหนักเพียง 260kg เท่านั้น สำหรับทำลายเรือรบ, ปืนใหญ่ขนาด 76 มม.Otobreda รุ่น super rapid จำนวน 1 กระบอก และปืนกลขนาด12.7 มม จำนวน 2 กระบอก
เรือชั้น Hayabusa มีระวางขับน้ำสูงสุด 240 ตัน มีความยาว 50.1 เมตรและกว้าง 8.4 เมตร ขับเคลื่อนด้วยระบบ General electric LM 500-G07 Gas-turbine จำนวน 3 เครื่อง สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 46 นอต(ประมาณ 85 กม.ต่อชั่วโมง) มีพลประจำเรือ 21 นาย เรือชั้นนี้ถูกสร้างขึ้นมา จำนวนทั้งสิ้น 6 ลำคือ PG 824 Hayabusa,PG 825 Wakataka,PG 826 Otaka,PG 827 Kumataka,PG 828 Umitaka และ PG 829 Shirataka
เรือสนับสนุนการกวาดทุ่นระเบิด (MST-MCL) 4 ลำ (ชั้น Uraga มี 2 ลำ, ชั้น Nijima มี 1 ลำ, ชั้น Ieshima มี 1 ลำ) เรือดำน้ำ (SS) 17 ลำ (ชั้น Soiyu 4 ลำ, ชั้น Harushio 2 ลำ, ชั้น Oyashio 11 ลำ)
เรือสำรวจอุทกศาสตร์ (AGS) 4 ลำ เรือสำรวจทางทะเล (ASE) 2 ลำ เรือตัดน้ำแข็ง (AGB) 1 ลำ เรือสำหรับวางเคเบิลใต้น้ำ (ARC) 1 ลำ เรือกู้ภัยเรือดำน้ำ (ASR) 1 ลำ เรือสนับสนุนกู้ภัยเรือดำน้ำ (AS) 1 ลำ
นอกจากกำลังทางเรือแล้วก็ยังมีกำลังทางอากาศกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น หรือเรียกกันเข้าใจง่าย ๆ ว่า กองบินนาวี ซึ่งมีสำนักงานหรือกองบัญชาการตั้งอยู่ที่ อัทซูกิ และมีฐานบินอยู่ถึง 7 แห่ง คือ อัทซูกิ, เคโนยะ, ฮาชิโนเฮะ, นาฮา, ทาเทะยะมะ, โอมูระ และอิวาคูนิ ซึ่งส่วนใหญ่มีภารกิจตรวจการณ์ทางทะเล ค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัย ลำเลียงทางยุทธวิธี ปราบเรือดำน้ำอย่างเช่น เครื่องบิน P 3 C Orion ที่มีประจำการถึง 80 เครื่อง (ประเทศไทยมีใช้งานตั้ง 3 เครื่อง) หรือ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ SH 60 J/K Seahawk ที่มีประจำการแค่ 130 เครื่องกองบินนาวีของญี่ปุ่นถือว่าเป็นกองบินนาวีที่มีขนาดใหญ่ประเทศหนึ่งของโลกซึ่งแบ่งออกเป็น
Kawasaki P-1 ได้เปิดตัวครั้งแรกในฐานอากาศกิฟูเมือวันที่28 กันยายน ปี2007 เป็นเครื่องบินปราบเรือดำน้ำของญี่ปุ่นที่ญี่ปุ่นสร้างเองมีความทันสมัยมากคาดว่าจะผลิตเพื่อทดแทนเครื่องบินP-3C