กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ.,อังกฤษ: Royal Thai Air Force : RTAF) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน
แนวความคิดที่ให้มีเครื่องบินใช้ในราชการ ได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อชาวเบลเยี่ยมชื่อ Van Den Born ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลไรท์มาแสดงการบินในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ สนามม้าสระปทุม เพื่อเป็นการแสดงการบินสู่สายตาประชาชนชาวไทยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1911) จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกทรงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก อยู่ที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม) อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน จเรทหารช่าง และส่งนายทหารไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 3 นายประกอบด้วย
หลังจากท่านทั้งสามสำเร็จวิชาการบิน ก็ได้ซื้อเครื่องบิน 2 แบบ 8 ลำ คือ Nieuport และ Breguet แบบละ 4 ลำ โดยระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบิน แต่ด้วยปัญหาบางประการทำให้สนามม้าสระปทุมไม่สามารถรองรับกิจการการบินที่เติบโตขึ้นได้ จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบิน มาที่ตำบลดอนเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 และทรงยกฐานะแผนกการบิน เป็น"กองบินทหารบก" ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 ต่อมากระทรวงกลาโหมได้ยึดถือวันนี้เป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"
หลังจากนั้นกิจการการบินได้เติบโตเรื่อยมา โดยกองบินทหารบกได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร กองบินทหารบกจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก" หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2464 ด้วยการเติบโตของกำลังทางอากาศ จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมทหารอากาศ" และวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กองทัพอากาศ" มียศและเครื่องแต่งกายเป็นของตนเอง โดยนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก จึงถือเอาวันนี้เป็น "วันกองทัพอากาศ" และยกย่องถวายพระเกียรติจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ว่าเป็น "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" และยกย่องนายทหาร 3 ท่าน ที่ไปเรียนวิชาการบินรุ่นแรกว่าเป็น "บุพการีทหารอากาศ"
กองทัพอากาศได้สร้างวีรกรรมและยุทธเวหาไว้มากมาย โดยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอินโดจีน สามารถสร้างความพรั่นพรึงให้กับอริราชศัตรูของชาติได้อย่างมาก
ปัจจุบัน กองทัพอากาศมีกำลังทางอากาศทั้งสิ้น 11 กองบิน กับ 1โรงเรียนการบิน โดยมีอากาศยานรวมเกือบ 320 ลำ
นอกจากนี้ กองทัพอากาศดอนเมือง ยังเคยเป็นสถานที่แข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 3 อีกด้วย
กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพอากาศตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
หมายเหตุ
(*) = ฐานบินปฏิบัติการส่วนหน้า ไม่มีอากาศยานบรรจุถาวร
(**) = ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามและสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศ
(***) = ฝูงบินอิสระปฏิบัติภารกิจพิเศษและหน่วยบินเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ
เครื่องบินขับไล่แบบ F-5E ของกองทัพอากาศไทย ขณะนำเครื่องบินขับไล่แบบ F-15 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่ฐานทัพอากาศ คลากส์ ในการฝึก คอร์ป ธันเดอร์ ในปี 2527
ส่วนลอตที่สองอีก6 ลำ เป็นงบประมาณผูกพันตั้งแต่ปี 2556-2560 เป็นจำนวนเงิน 15,400 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 12 ลำ เป็นจำนวนเงิน 34,400 ล้านบาท โดยเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้จะนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ 5 ที่ประจำการอยู่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งจะปลดประจำการในปี 2552-2554 แหล่งข่าวกองทัพอากาศเปิดเผยว่า กองทัพอากาศมีแผนในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่เพื่อมาทดแทนเครื่องบินแบบเอฟ 5 มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดย พล.อ.อ.ชลิต ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเพื่อคัดเลือกแบบ โดยกองทัพอากาศให้ความสนใจในเครื่องบิน 3 รุ่น คือ เครื่องบินเอฟ 16 ซีดีของสหรัฐอเมริกา เครื่องบินซู 30 ของรัสเซีย และเครื่องบินกริพเพนของสวีเดน ก่อนจะมีการคัดเลือกในที่สุด
ในวันที่ 8 มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินรบจำนวน 6 ลำ ดังมีการแถลงข่าวดังนี้
ประเด็นที่ 1 กระทรวงกลาโหมพิจารณาเห็นว่ากองทัพอากาศดำเนินการอันเป็นประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการภายใต้มติ ครม. ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม และกรอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ ตามข้อ 2 โดยจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินประจำการ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการโครงการเรียบร้อย ได้มีข้อเสนอ ดังนี้
1. ให้กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพอากาศ ดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินกริปเปน จีอาร์ไอพีอีเอ็น 39 ซี/ดี จำนวน 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการ เป็นเงิน 19,000 ล้านบาท โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล (จี2จี) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสวีเดน
2. ให้ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้รับมอบอำนาจลงนามในข้อตกลงการซื้อขายเครื่องบิน ในนามรัฐบาลไทย รวมทั้งแก้ไขข้อตกลงการซื้อขายเครื่องบินโดยวงเงินรวมไม่เปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ มีการอธิบายจาก พล.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว มีเงื่อนไขพิเศษที่รัฐบาลสวีเดนจะจัดให้ เป็นข้อที่ 3 คือ ทางรัฐบาลสวีเดน ในการเจรจากับคณะกรรมการ จะมีการจัดเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ ติดตั้งอุปกรณ์เรดาร์แบบอีรีอาย 1 เครื่อง หรือ 1 ลำ กับเครื่องบินลำเลียงแบบ SAAB-340 จำนวน 1 เครื่อง พร้อมทั้งทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 92 ทุน และระบบดาต้าลิงก์ สำหรับการป้องกันทางอากาศในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภาคใต้ เพราะฉะนั้นเครื่องบินที่มีการตกลงนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วน ลักษณะประเภทเครื่องบิน คือ 1 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ และ 2 ที่นั่ง จำนวน 4 ลำ รวม 6 ลำ เฉพาะค่าจัดซื้อเครื่องบินพร้อมอุปกรณ์อะไหล่ และการฝึกอบรม 18,284 ล้านบาท
ส่วนเรื่องการปรับปรุงอาคารสถานที่และการบริหารโครงการ ในส่วนกองทัพอากาศรับผิดชอบ ซึ่งต้องดำเนินการก่อนและหลังการรับมอบเครื่องบิน เป็นเงิน 716 ล้านบาท ทั้งหมดมี 3 ประเด็นด้วยกัน
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "comments" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="comments"/> ที่สอดคล้องกัน หรือไม่มีการปิด </ref>