กลไกป้องกันตน (อังกฤษ: defense mechanism) เป็นเทคนิคการรับมือซึ่งลดความวิตกกังวลอันเกิดจากพลังผลักดัน (impulse) ซึ่งยอมรับไม่ได้หรืออาจเป็นอันตราย กลไกป้องกันตนเป็นแบบไร้สำนึกและไม่ควรสับสนกับกลยุทธ์การรับมือแบบรู้สำนึกซิกมุนด์ ฟรอยด์เป็นผู้สนับสนุนการตีความนี้เป็นคนแรก ๆ
กลไกป้องกันตนอาจยังให้เกิดผลลัพธ์สุขภาพดีหรือสุขภาพไม่ดีได้ขึ้นอยู่กับกรณีแวดล้อมและความถี่ซึ่งมีการใช้กลไกป้องกันตน ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ กลไกป้องกันตน (เยอรมัน: Abwehrmechanismen) เป็นกลยุทธ์ทางจิตวิทยาซึ่งจิตไร้สำนึกทำให้มีอิทธิพลเพื่อจัดการ ปฏิเสธหรือบิดเบือนความเป็นจริงเพื่อป้องกันต่อความรู้สึกความวิตกกังวลและพลังผลักดันที่ยอมรับไม่ได้เพื่อรักษาโครงสร้างประสบการณ์ต่อตน (self-schema) ของผู้นั้น กระบวนการเหล่านี้ซึ่งจัดการ ปฏิเสธหรือบิดเบือนความเป็นจริงอาจรวมดังต่อไปนี้ การกดเก็บ (repression) หรือการฝังความรู้สึกหรือความคิดที่เจ็บปวดจากความตระหนักของผู้นั้นแม้ว่ามันอาจปรากฏขึ้นใหม่ในรูปสัญลักษณ์ การเลียนแบบ (identification) คือ การรับวัตถุหรือความคิดหนึ่งเข้ามาในตัว และการใช้เหตุผลเข้าข้างตน (rationalization) คือ การอ้างเหตุผลของพฤติกรรมและแรงจูงใจของผู้หนึ่งโดยแทนแรงจูงใจด้วยเหตุผลที่ยอมรับได้ "ดี" โดยทั่วไป ถือว่าการกดเก็บเป็นพื้นฐานของกลไกป้องกันตนอื่น
บุคคลสุขภาพดีปกติใช้การป้องกันต่าง ๆ ตลอดชีวิต กลไกป้องกันอัตตากลายเป็นพยาธิสภาพเมื่อการใช้กลไกซ้ำ ๆ นำไปสู่พฤติกรรมไม่เหมาะสมจนสุขภาพกายหรือจิตของปัจเจกบุคคลได้รับผลในทางลบ ความมุ่งหมายของกลไกป้องกันตนอัตตา คือ ปกป้องจิต/ตน/อัตตาจากความวิตกกังวล และ/หรือ การลงโทษทางสังคม และ/หรือ เพื่อให้ที่หลบภัยจากสุถานการณ์ซึ่งผู้นั้นยังไม่สามารถรับมือได้ในปัจจุบัน