กรุสมบัติ (อังกฤษ: Treasure trove) อาจจะมีความหมายอย่างกว้างๆ ว่าเป็นก้อนสมบัติที่รวมทั้งทอง, เงิน, อัญมณี, เงินตรา หรือสิ่งของมีค่าอื่นๆ ที่ฝังเอาไว้ใต้ดิน หรือ ห้องใต้หลังคา หรือ ห้องใต้ดิน ที่ต่อมามาขุดพบ สมบัติที่อยู่ในข่ายนี้สรุปว่าเป็นสมบัติเก่าแก่ที่เจ้าของเดิมเสียชีวิตไปแล้วและไม่อาจจะหาทายาทได้ แต่กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “กรุสมบัติ” และวิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่พบแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเทศ และ แล้วแต่ยุคสมัย
นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้เป็นคำอุปมาอีกด้วย เช่นงานเขียนรวบรวมเรื่องต่างๆ ก็อาจจะใช้ชื่อคำว่า “กรุสมบัติ” นำหน้าเช่น “กรุสมบัติแห่งวิทยาศาสตร์” นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่นิยมกันในการตั้งชื่อวรรณกรรมสำหรับเยาวชนเมื่อต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20
กรุสมบัติแปลตรงตามตัวอักษรว่า “สมบัติที่พบ” คำนี้ในภาษาอังกฤษแผลงมาจากคำว่า “tresor trov?” ของภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส ที่เทียบเท่ากับคำในภาษากฎหมายของภาษาละตินว่า “thesaurus inventus” ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ของอังกฤษคำภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศสได้รับการแปลว่า “treasure found” (สมบัติที่พบ) แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็เริ่มมีการพ่วงด้วยคำภาษาฝรั่งเศสว่า “trov?” ที่แผลงเป็นภาษาอังกฤษเป็น “trovey”, “trouve” หรือ “trove”
ความหมายอีกความหมายหนึ่งของคำว่า “กรุสมบัติ” เป็นการใช้อย่างเป็นอุปมาที่แปลว่า “สิ่งของที่มีค่าที่พบ” ฉะนั้นก็เท่ากับเป็นแหล่งของมีค่า หรือ ที่เก็บรักษาสิ่งของมีค่า
ในกฎหมายโรมันกรุสมบัติเรียกว่า “thesaurus” ที่แปลว่าสมบัติ และนิยามโดยนักกฎมายโรมันจูเลียส พอลลัส พรูเดนทิสซิมัสว่าเป็น “vetus qu?dam depositio pecuni?, cujus non extat memoria, ut jam dominum non habeat” (ที่บรรจุโบราณของเงินที่ไม่อยู่ในความทรงจำของผู้ใด ซึ่งเท่ากับไม่มีเจ้าของในปัจจุบัน อาร์. ดับเบิลยู. ลีออกความเห็นใน “The Elements of Roman Law” (ฉบับที่ 4 ค.ศ. 1956) ให้ความเห็นว่าคำนิยามนี้เป็นคำนิยามที่ “ไม่เป็นที่น่าพอใจ” เพราะสมบัติมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะเงินตราเท่านั้น หรือเป็นสิ่งที่ทิ้งโดยเจ้าของ ภายใต้กฎหมายโรมัน ถ้าผู้ใดพบสมบัติในบริเวณที่ดินของตนเอง หรือ บนที่ดินที่เป็นเทวสถาน ผู้พบสมบัติดังว่าก็มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของ แต่ถ้าเป็นสมบัติที่พบโดยบังเอิญ และ โดยมิได้จงใจที่จะหาในที่ดินของผู้พบ กึ่งหนึ่งของสมบัติก็จะเป็นของผู้พบ และอีกกึ่งหนึ่งจะตกไปเป็นของเจ้าของที่ดินที่อาจจะเป็นพระมหาจักรพรรดิ, เจ้าหน้าที่การคลัง, เมือง หรือเจ้าของกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความเห็นของนักกฎหมายดัตช์ฮูโก โกรเทียส (ค.ศ. 1583–ค.ศ. 1645) กล่าวว่าเมื่อระบบศักดินาแพร่ขยายไปทั่วยุโรป เจ้านายก็ถือกันว่าเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด สิทธิในการเป็นเจ้าของกรุสมบัติจึงกลายเป็น “jus commune et quasi gentium” (สิทธิสามัญและกึ่งสากล) ในอังกฤษ, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, สเปน และ เดนมาร์ก
เป็นที่กล่าวกันว่าความคิดเกี่ยวกับกรุสมบัติในกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษมีมาตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ (ราว ค.ศ. 1003/1004 – ค.ศ. 1066) ภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษกรุสมบัติหมายถึงทองหรือเงินในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ, จาน หรือเครื่องช้อนส้อม หรือแท่งเงิน หรือแท่งทอง ที่ถูกซ่อนและมาพบในภายหลัง และไม่อาจที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ ถ้าต่อมาพบผู้เป็นเจ้าของ กรุสมบัติก็จะตกไปเป็นของเจ้าของ หรือผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้าของเดิม การที่จะถือว่าเป็นกรุสมบัติ สิ่งของในกรุต้องมีจำนวนพอสมควร ที่ประกอบด้วยทองหรือเงินจำนวนกึ่งหนึ่ง
กรุสมบัติต้องเป็นสิ่งที่ซ่อนโดยมีวัตถุประสงค์ “animus revocandi” ที่หมายความว่าตั้งใจที่จะให้มาขุดคืนต่อมา ถ้าสิ่งของเพียงแต่หายหรือถูกทิ้งขว้างเช่นสิ่งของที่พบเกลื่อนกลาดบนพื้นดิน หรือ ในทะเล สิ่งของเหล่านั้นก็จะเป็นของบุคคลแรกที่พบ หรือของเจ้าของที่ดินตามสมบัติที่สูญหาย, คลาดเคลื่อน และ ทิ้งขว้าง (Lost, mislaid, and abandoned property) ซึ่งเป็นพื้นฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการพบสิ่งของ ฉะนั้นสิ่งของที่พบในปี ค.ศ. 1939 ที่ซัททันฮูจึงไม่ถือว่าเป็นกรุสมบัติ เพราะสมบัติที่พบเป็นส่วนหนึ่งของการฝังศพในเรือ ซึ่งผู้ที่ทำการฝังไม่มีวัตถุประสงค์ที่มาขุดคืนต่อมาสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งเครือจักรภพมีพระราชอภิสิทธิ์ในกรุสมบัติที่พบ และถ้าสถานการณ์เกี่ยวกับการพบสมบัติเป็นสิ่งที่สรุปได้ว่าเป็นที่ถูกซ่อน สมบัตินั้นก็จะตกไปเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากจะมีผู้สามารถแสดงโฉนดหลักฐาน สถาบันพระมหากษัตริย์สามารถมอบสิทธิของกรุให้แก่ผู้ใดก็ได้ในรูปของอภิสิทธิ์โดยทุนสนับสนุนของรัฐบาล (government-granted monopoly)
ผู้พบกรุหรือผู้รู้เบาะแสเกี่ยวกับกรุมีหน้าที่ที่จะต้องรายงานการพบสิ่งที่อาจจะเป็นกรุสมบัติต่อเจ้าหน้าที่ชันสูตรของตำบล การปิดบังการพบกรุถือว่ามีความผิดทางอาญา ที่อาจจะได้รับการถูกลงโทษโดยปรับหรือจำคุก เจ้าหน้าที่ชันสูตรมีหน้าที่จัดการไต่สวนโดยเจ้าหน้าที่เพื่อระบุว่าผู้ใดคือผู้พบ หรือ ผู้ใดที่สงสัยว่าเป็นผู้พบ ถ้าปรากฏว่ามีการปิดบัง คณะผู้ไต่สวนก็สามารถทำการสืบสวนว่าสมบัติที่พบถูกซ่อนเร้นจากเจ้าของโดยชอบธรรมอย่างใด แต่ผลของการไต่สวนก็มักจะไม่เป็นที่สรุปได้ เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ไต่สวนมักจะไม่มีอำนาจในการสืบถามเกี่ยวกับโฉนดของสมบัติระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และผู้อ้างผู้อื่น ถ้าผู้ใดต้องการที่จะเสนอโฉนดต่อพระคลังผู้นั้นก็จะต้องดำเนินเรื่องเป็นกรณีทางศาลต่างหาก
เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งสหราชอาณาจักรมีหน้าที่เงินทดแทนให้แก่ผู้พบที่รายงานการพบอย่างรวดเร็วและส่งสมบัติต่อไปยังองค์การที่เหมาะสม เพื่อทำการวิเคราะห์ถึงคุณค่าทางโบราณคดีของสิ่งของดังกล่าว ที่ได้ทำการเก็บรักษาไว้สำหรับสถาบันแห่งชาติหรืออื่นๆ เช่นพิพิธภัณฑ์ สิ่งของที่มิได้ทำการเก็บรักษาเอาไว้ก็จะคืนให้แก่ผู้พบ
ภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีของกฎหมายสกอตแลนด์ บทที่เกี่ยวกับกรุสมบัติของสกอตแลนด์ยังคงถือว่าเป็นกรณีพิเศษในหัวข้อของกฎหมายทั่วไปในมาตราที่เกี่ยวกับ “ทรัพย์ปลอดพันธะ” (bona vacantia) ซึ่งหมายถึงสิ่งของที่สูญหาย, หลงลืม หรือ ทิ้งขว้าง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ระบุว่า “quod nullius esfit domini regis” คือไม่เป็นของผู้ใดที่กลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สถาบันกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์มีอภิสิทธิ์ในกรุสมบัติ เพราะถือว่ากรุสมบัติคือ “regalia minora” หรือ “สมบัติย่อยของพระมหากษัตริย์” ซึ่งหมายถึงสิทธิในเรื่องทรัพย์สมบัติที่สถาบันพระมหากษัตริย์กษัตริย์มีสิทธิที่จะทำเช่นใดก็ได้กับสมบัติดังกล่าวที่รวมทั้งการมอบให้แก่ผู้อื่นด้วย
รัฐหลายรัฐในสหรัฐอเมริกาอนุมัติการใช้กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษเป็นระบบกฎหมายของรัฐ ตัวอย่างเช่นในปี ค.ศ. 1863 สภานิติบัญญัติแห่งไอดาโฮอนุมัติกฎหมายที่ทำให้ “กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ...เป็นกฎของการตัดสินโดยศาลทุกศาล” ของรัฐ แต่พื้นฐานของกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษในข้อที่เกี่ยวกับกรุสมบัติไม่มีผลในสหรัฐอเมริกา ในกรณีนี้ศาลใช้กฎที่เกี่ยวกับการพบสิ่งของที่สูญหายหรือไม่มีเจ้าของแทนที่
กฎที่เกี่ยวกับกรุสมบัติได้รับการพิจารณากันอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกโดยศาลฎีกาแห่งรัฐออริกอนในปี ค.ศ. 1904 ในกรณีที่เกี่ยวกับเด็กชายผู้พบเหรียญทองที่มีมูลค่าหลายพันดอลลาร์สหรัฐที่ซ่อนไว้ในกล่องโลหะขณะที่ทำความสะอาดเล้าไก่ ศาลเข้าใจผิดว่ากฎที่ใช้ในการตัดสินเป็นกฎเดียวกันกับกฎที่ใช้ก่อนหน้านั้นในการระบุความเป็นเจ้าของแก่ผู้พบสิ่งของที่สูญหายและหาเจ้าของไม่ได้ การที่ศาลตัดสินว่าสิ่งที่พบเป็นของเด็กผู้พบก็เท่ากับเป็นนัยยะว่าผู้พบมีสิทธิในสิ่งของที่ถูกฝังเอาไว้ และละเลยสิทธิของผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่พบสมบัติ
ในปีต่อๆ มานโยบายทางกฎหมายก็ยิ่งเพิ่มความคลุมเคลือจากกรณีของอังกฤษและอเมริกันที่เกิดขึ้นที่ตัดสินว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีสิทธิในสมบัติมีค่าที่พบในที่ดินศาลฎีกาแห่งรัฐเมนทำการพิจารณากรณีที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1908 ใหม่ซึ่งเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างชายสามคนขุดพบเหรียญขณะที่ขุดดินในที่ดินที่เป็นของนายจ้าง ศาลตัดสินตามแนวของคดีที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1904 ในไอดาโฮ และตัดสินว่าสมบัติที่ขุดพบเป็นของผู้พบ ในช่วง 30 ปีต่อมาศาลในรัฐต่างๆ ที่รวมทั้ง จอร์เจีย, อินดีแอนา, ไอโอวา, โอไฮโอ และ วิสคอนซิน ต่างก็ใช้กฎที่ดัดแปลงเกี่ยวกับ “treasure trove” ที่ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1948 แต่ตั้งแต่นั้นมาแนวการตัดสินคดีดังกล่าวก็หมดความนิยมลง หนังสือตำราทางกฎหมายสมัยใหม่ถือว่าเป็น “การตัดสินยอมรับ ถ้าไม่ควบคุม” แต่ก็มีผู้ออกความเห็นว่าเป็น “การตัดสินของกลุ่มน้อยที่มีที่มาอันเคลือบแคลง ที่ใช้กันอย่างเข้าใจผิด และไม่ถูกต้องในรัฐต่างๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1904 จนถึงปี ค.ศ. 1948”
ในอดีตที่ผ่านมา เกษตรกร, นักโบราณคดี และ นักล่าสมบัติต่างก็มีโอกาสขุดพบสมบัติอันสำคัญที่มีคุณค่าอันใหญ่หลวงทางประวัติศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และทางคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ แต่ความจำกัดของกฎหมายทำให้สิ่งที่ค้นพบได้รับการตัดสินว่าไม่อยู่ในข่ายที่เรียกว่า “กรุสมบัติ” ซึ่งเป็นการเสี่ยงถูกนำไปขายยังต่างประเทศ หรือ รอดมาได้ด้วยการซื้อขายในราคาสูงเพื่อรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวอย่างเช่นสิ่งของที่เป็นของซัททันฮูที่ไม่ถือว่าเป็นกรุสมบัติเพราเป็นสมบัติที่ฝังไว้กับผู้ตาย ซึ่งไม่ใช่เป็นการฝังสมบัติที่มีวัตถุประสงค์ในการซ่อนเพื่อมาขุดพบใหม่ต่อมา ต่อมาอีดิธ เมย์ พริททีผู้เป็นเจ้าของอุทิศสมบัตินี้ให้แก่ชาติในพินัยกรรมในปี ค.ศ. 1942
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1973 ก็ได้มีผู้พบกรุเหรียญกษาปณ์โรมัน ราว 7,811 เหรียญที่ฝังไว้ในทุ่งในลิงคอล์นเชอร์ ที่ประกอบด้วยเหรียญที่เชื่อกันว่าตีราวระหว่าง ค.ศ. 253 ถึง ค.ศ. 281 ศาลตัดสินว่าไม่ใช่กรุสมบัติเพราะเหรียญมีส่วนประกอบที่เป็นเงินต่ำ ฉะนั้นจึงเป็นสมบัติของเจ้าของทุ่งที่พบ และ ไม่เป็นอาจจะนำมาเป็นของพิพิธภัณฑ์บริติชได้
ในการแก้ปัญหาดังกล่าวพระราชบัญญัติว่าด้วยสมบัติที่ขุดพบ ค.ศ. 1996 จึงได้แจงรายละเอียดใหม่ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1997 ที่ว่าสมบัติใดที่พบเมื่อหรือหลังวันดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการฝังด้วยวัตถุประสงค์ใด หรือแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่สูญหาย หรือ ทิ้งเอาไว้โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะมาขุดคืน จะเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นอยู่กับความสนใจ และ สิทธิขององค์กรของสถาบันพระมหากษัตริย์ก่อนหน้านั้น รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม, การสื่อสาร และการกีฬาอาจจะมีหน้าที่ในการโยกย้าย หรือ กำจัด หรือในการจัดการสิทธิที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของของสถาบันพระมหากษัตริย์
พระราชบัญญัติใช้คำว่า “สมบัติ” แทนคำว่า “กรุสมบัติ” คำหลังในปัจจุบันจำกัดใช้เฉพาะสำหรับสิ่งที่ค้นพบก่อนนหน้าที่จะมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ สิ่งที่อยู่ในข่าย “สมบัติ” ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ได้แก่
สมบัติไม่รวมสิ่งของธรรมชาติที่ไม่ได้รับประดิษฐ์ หรือ โลหะที่หลอมจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือ หรือ สิ่งที่ได้รับการระบุว่าไม่เป็นสมบัติ โดยโดยรัฐมนตรีแห่งรัฐ สิ่งของที่ตกอยู่ในข่ายสิ่งของจากเรือแตก ก็ไม่ถือว่าเป็นสมบัติ
ผู้ตรวจสอบยังคงมีอำนาจทางกฎหมายในการสืบถามเกี่ยวสมบัติที่พบในดิสตริคท์ของตนเอง และเกี่ยวกับผู้สงสัยว่าจะเป็นผู้พบ ผู้ใดก็ตามที่พบสิ่งของไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงที่สงสัยว่าสิ่งที่พบอาจจะเป็นสมบัติต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ในดิสตริคท์ที่พบสิ่งของภายใน 14 วันเริ่มตั้งแต่วันหลังจากวันที่พบ ถ้าต่อมาก็คือวันที่ผู้พบเชื่ออย่างมีเหตุผลว่าสิ่งที่พบคือสมบัติ Not doing so is an offence. การสืบสวนจัดขึ้นโดยไม่มีคณะผู้พิจารณานอกจากว่าผู้ตรวจสอบจะระบุ ผู้ตรวจสอบต้องรายงานต่อพิพิธภัณฑ์บริติชถ้าดิสตริคท์ตั้งอยู่ในอังกฤษ, กระทรวงสิ่งแวดล้อมถ้าในไอร์แลนด์เหนือ หรือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งเวลส์ เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินตามขั้นตอนอันเหมาะสมในการแจ้งผู้ใดก็ตามที่ดูเหมือนจะเป็นผู้พบสมบัติ, ผู้ใดก็ตามที่เมื่อพบสมบัติเป็นอยู่ในที่ดินที่พบสมบัติ และผู้ใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพบ หรือ ผู้มีผลประโยชน์ในที่ดินที่พบสมบัติในขณะนั้น แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่มีอำนาจในการตัดสินทางกฎหมายว่าผู้พบ, เจ้าของที่ดิน หรือ ผู้อาศัยอยู่ในที่ดินมีลิขสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งที่พบ ศาลเท่านั้นที่จะมีสิทธิในการต้ดสินดังกล่าว และอาจจะตรวจสอบรายงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับสมบัติที่พบ
ในกรณีที่สมบัติเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์และต้องส่งต่อไปยังพิพิธภัณฑ์ รัฐมนตรีแห่งรัฐก็จะต้องระบุว่าทางพิพิธภัณฑ์ควรจะให้รางวัลอย่างใดหรือไม่ก่อนที่จะทำการโยกย้าย แก่ผู้พบ, ผู้เกี่ยวข้อง, ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ดิน หรือผู้มีผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในที่ดินในช่วงเวลาที่พบสมบัติ ถ้ารัฐมนตรีแห่งรัฐเห็นควรว่าควรจะจ่ายรางวัล ก็จะต้องระบุราคาตลาดของสมบัติดังกล่าวโดยความช่วยเหลือของคณะกรรมการประเมินราคาสมบัติผู้มีหน้าที่ในด้านนี้, จำนวนเงินรางวัล (ที่ไม่เกินราคาตลาด) และ ผู้ควรได้รับรางวัล และ ถ้ามีผู้รับเกินกว่าหนึ่งคนแต่ละคนควรจะได้คนละเท่าใด
ในอังกฤษและเวลส์ผู้พบสิ่งของที่มิได้ถือว่าเป็น “สมบัติ” หรือ “กรุสมบัติ” ได้รับการสนับสนุนให้รายงานเกี่ยวกับพบโดยความสมัครใจภายใต้ “โครงการสมบัติโบราณที่เคลื่อนย้ายได้” (Portable Antiquities Scheme) ต่อเจ้าหน้าที่บริหารหรือพิพิธภัณฑ์ส่วนท้องถิ่น ตามโครงการนี้ที่เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1997 เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบสิ่งที่พบและรายงานข้อมูลแก่ผู้พบ นอกจากนั้นแล้วก็จะทำการบันทึกสิ่งของที่พบ, ประโยชน์การใช้สอย, เวลาที่สร้าง, วัสดุ และ ตำแหน่งที่พบ และ เก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ข้อมูลเกี่ยวกับจุดที่พบอาจจะใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับบริเวณที่พบต่อมา สิ่งของที่มิได้ถือว่าเป็น “สมบัติ” เป็นของผู้พบหรือเจ้าของที่ดินผู้มีสิทธิทำอย่างใดก็ได้ต่อสิ่งของที่พบตามความประสงค์
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 ก็มีการพบสมบัติแองโกล-แซ็กซอนจำนวนมากที่สุดตั้งแต่เคยพบมา ที่ประกอบด้วยสิ่งของที่ทำด้วยทองและโลหะมีค่าจำนวนกว่า 1,500 ชิ้น ที่รวมทั้งดาบตกแต่ง และ หมวกเกราะที่สร้างมาตั้งแต่ ค.ศ. 600 ถึง ค.ศ. 800 เทอร์รี เฮอร์เบิร์ตผู้พบสิ่งของดังกล่าวที่สตาฟฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษรายงานการพบต่อเจ้าหน้าที่ “โครงการสมบัติโบราณที่เคลื่อนย้ายได้” และเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2009 สิ่งของที่พบก็ได้รับการประกาศว่าเป็น “สมบัติ” โดยเจ้าหน้าที่ของเซาธ์สตาฟฟอร์ด
พระราชบัญญัติว่าด้วยสมบัติที่ขุดพบ ค.ศ. 1996 ไม่มีผลบังคับใช้ในสกอตแลนด์ การตัดสินกรณี “กรุสมบัติ” ในสกอตแลนด์จะตัดสินตามกฎหมายคอมมอนลอว์ของสกอตแลนด์ กฎโดยทั่วไปสำหรับ “ทรัพย์ปลอดพันธะ” – ซึ่งหมายถึงสิ่งของที่สูญหาย, หลงลืม หรือ ทิ้งขว้าง เป็น “quod nullius esfit domini regis” คือสิ่งที่ไม่เป็นของผู้ใดจะกลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกฎหมายเกี่ยวกับกรุสมบัติเป็นกรณีพิเศษของกฎข้อนี้ สกอตแลนด์ก็เช่นเดียวกับอังกฤษ สถาบันกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์มีอภิสิทธิ์ในกรุสมบัติ เพราะถือว่ากรุสมบัติคือ “regalia minora” หรือ “สมบัติย่อยของพระมหากษัตริย์” ซึ่งหมายถึงสิทธิในเรื่องทรัพย์สมบัติที่สถาบันพระมหากษัตริย์กษัตริย์มีสิทธิที่จะทำเช่นใดก็ได้กับสมบัติดังกล่าวที่รวมทั้งการมอบให้แก่ผู้อื่นด้วย
การที่จะระบุได้ว่าเป็นกรุสมบัติได้ สิ่งของที่พบจะต้องเป็นสิ่งที่มีค่า สิ่งที่ซ่อนไว้ และ สิ่งที่ไม่มีข้อพิสูจน์หรือข้อสงสันในความเป็นเจ้าของโดยเจ้าของเดิม แต่ไม่เช่นเดียวกับกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ ซึ่งกรุสมบัติไม่จำกัดอยู่แต่เพียงสิ่งที่ทำด้วยเงินหรือทองเท่านั้น ในปี ค.ศ. 1888 ทางการอ้างว่าได้มีการขุดพบสร้อยที่ทำด้วยแร่เจ็ต และสิ่งอื่นๆ ที่ฟอร์ฟาร์เชอร์ ซึ่งไม่ใช่สมบัติที่ทำด้วยเงินหรือทอง หลังจากที่ทำการตกลงกันได้แล้วสมบัติดังกล่าวก็ได้ทำการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งสกอตแลนด์ ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1958 ก็ได้มีการขุดพบกระดูกวาฬพร้อมด้วยสิ่งของอีก 28 ชิ้นที่ทำด้วยเงินเจือ (เข็มกลัด 12 ชิ้น, ชาม 7 ใบ, ชามแขวน และ งานโลหะชิ้นเล็กอื่นๆ) ใต้แผ่นหินที่มีเครื่องหมายกางเขนบนพื้นในวัดที่เกาะเซนต์นิเนียนในShetland สมบัติที่พบมีอายุมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 800 หลังจากการพบแล้วก็เกิดการฟ้องร้องกันในคดีเกี่ยวกับสิทธิในการเป็นเจ้าของสมบัติดังกล่าวระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ข้างหนึ่ง และ มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีนผู้ดำเนินการสำรวจทางโบราณคดีผู้เป็นผู้พบอีกข้างหนึ่ง ในกรณี สถาบันพระมหากษัตริย์ v. มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน (Lord Advocate v. University of Aberdeen) ในปี ค.ศ. 1963 ศาลตัดสินว่าสมบัติที่พบตกอยู่ในข่ายกรุสมบัติ นอกจากนั้นแล้วกฎที่ระบุว่าสมบัติต้องเป็นสิ่งที่ถูก "ซ่อน" มิได้มีความหมายมากไปกว่าเป็นสิ่งที่ถูกอำพราง ซึ่งหมายถึงสภาวะของการขุดพบและมิได้หมายถึงวัตถุประสงค์เดิมของผู้เป็นเจ้าของทำการซ่อนสิ่งของดังกล่าว ผลที่สุดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการไม่อาจระบุเจ้าของเดิมได้อย่างแน่นอนนั้น หมายความว่าจะต้องไม่มีวิธีที่สามารถที่จะสืบหาบุคคลที่เป็นเจ้าของเดิมหรือลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ แม้ว่าสมบัติจะมิได้ตกอยู่ในข่ายกรุสมบัติแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็อาจที่จะอ้างความเป็นเจ้าของได้ภายใต้ “ทรัพย์ปลอดพันธะ”
ที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์และรัฐมนตรีการคลัง (Queen's and Lord Treasurer's Remembrancer (QLTR)) เป็นสำนักงานภายใต้การดำเนินการของผู้แทนพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์มีหน้าที่เป็นตัวแทนสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ในการอ้างสิทธิภายใต้ “ทรัพย์ปลอดพันธะ” ผู้พบสิ่งของมีหน้าที่ที่จะต้องรายงานการพบแก่สำนักงานสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ องค์กรกรุสมบัติ (Treasure Trove Unit (TTU)) ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งสกอตแลนด์ที่เอดินบะระห์ กรณีการพบแต่ละกรณีก็จะได้รับการตรวจสอบโดยคณะกรรมการเพื่อการระบุการเป็นเจ้าของของสมบัติทางโบราณคดีแห่งสกอตแลนด์ (Scottish Archaeological Finds Allocation Panel) ผู้มีหน้าที่ประเมินว่าสิ่งที่พบมีความสำคัญระดับชาติหรือไม่ ถ้ามีทางคณะกรรมการก็จะยื่นข้อเสนอโดยองค์กรกรุสมบัติต่อแผนกที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ที่สำนักงานสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ที่จะแจ้งไปยังผู้พบว่าสมบัติที่พบเป็นที่ยอมรับตามข้อเสนอของคณะกรรมการว่าเป็นกรุสมบัติหรือ “ทรัพย์ปลอดพันธะ” นอกจากนั้นคณะกรรมการก็จะทำการเสนอต่อที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ถึงรางวัลสำหรับสมบัติตามราคาตลาดในขณะนั้นตามความเหมาะสม และ พิพิธภัณฑ์ในสกอตแลนด์ที่ควรจะมีหน้าที่เป็นสถานที่เก็บรักษาสมบัติดังกล่าว จากนั้นองค์กรกรุสมบัติก็จะติดต่อกับพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้ทำการประมูลสมบัติถึงข้อเสนอของคณะกรรมการ พิพิธภัณฑ์มีเวลาทั้งหมด 14 วันในการคัดค้านหรือยอมรับข้อเสนอทั้งที่เกี่ยวกับสถานที่เก็บรักษาและรางวัลที่จะให้แก่ผู้พบ ถ้าที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ยอมรับข้อเสนอของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ก็จะแจ้งผู้พบเกี่ยวกับจำนวนเงินรางวัลและพิพิธภัณฑ์ที่จะมีหน้าที่เป็นสถานที่เก็บรักษาสมบัติ และ จะแจ้งให้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผู้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้พบ ขณะที่กฎของกระทรวงการคลังของปี ค.ศ. 1886 ระบุให้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติต่างๆ มีหน้าที่เก็บรักษาสมบัติอันเหมาะสม และ มีหน้าที่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้พบ แม้ว่าทางสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะให้รางวัลสำหรับกรุสมบัติที่ทางสถาบันอ้างสิทธิ แต่ตามความเป็นจริงแล้วทางสถาบันก็มักจะทำการให้รางวัลโดยใช้ราคาตลาดเป็นแนวทาง จำนวนรางวัลอาจจะถูกหักหรือลดถ้าผู้พบทำความเสียหายให้แก่สิ่งที่พบเป็นต้นว่าโดยจับถืออย่างไม่ถูกต้อง การทำความสะอาด หรือการขัดเงา ผู้พบมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับรางวัลก็ได้ รางวัลมิได้มอบให้เมื่อการพบเกิดขึ้นระหว่างโครงการการขุดค้นอย่างเป็นทางการ
กฎหมายเกี่ยวกับกรุสมบัติของสหรัฐอเมริกาแตกต่างกันไปตามแต่รัฐ แต่ก็สามารถสร้างข้อสรุปโดยทั่วไปได้ว่า การที่จะถือว่าเป็นกรุสมบัติได้ สิ่งของที่พบจะต้องเป็นเงินหรือทองธนบัตรก็ถือว่าเป็นกรุสมบัติเพราะเป็นสิ่งที่ใช้แทนเงินหรือทองได้ จากพื้นฐานเดียวกันก็นับได้ว่าเหรียญที่ทำด้วยโลหะที่ไม่ใช่เงินหรือทองก็เป็นส่วนหนึ่งของกรุสมบัติ แต่ก็ยังต้องมีการวางรากฐานอย่างชัดเจนขึ้น สิ่งของดังกล่าวต้องได้รับการซ่อนไว้เป็นเวลานานพอที่เจ้าของที่แท้จริงไม่อาจจะที่จะมีโอกาสที่จะปรากฏตัวมาอ้างความเป็นเจ้าของได้ ข้อที่ดูเหมือนจะพ้องกันคือวัตถุสิ่งของจะต้องมีอายุอย่างน้อยก็เป็นเวลาหลายสิบปี
ศาลรัฐส่วนใหญ่ที่รวมทั้งศาลรัฐอาร์คันซอ, คอนเนตทิคัต, เดลาแวร์, จอร์เจีย, อินดีแอนา, ไอโอวา, เมน, แมริแลนด์, นิวยอร์ก, โอไฮโอ, ออริกอน และ วิสคอนซินต่างก็ตัดสินว่าสิทธิของสมบัติเป็นของผู้พบ ตามทฤษฎีแล้วการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของสมบัติของสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษมีพื้นฐานมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่ละเมิดสิทธิดั้งเดิมของผู้พบสมบัติ เมื่อกฎหมายดังกล่าวมิได้นำมาบังคับใช้ในสหรัฐอเมริกาหลังจากการประกาศอิสรภาพ สิทธิในการเป็นเจ้าของสมบัติจึงหวนกลับไปเป็นของผู้พบ ในไอดาโฮ และ เทนเนสซี ศาลตัดสินว่ากรุสมบัติเป็นของเจ้าของที่ที่พบ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการให้รางวัลแก่ผู้บุกรุกเข้ามาในที่ดินที่เป็นของผู้อื่น ในกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นในรัฐเพนซิลเวเนีย ศาลล่างตัดสินว่าคอมมอนลอว์มิได้ให้สิทธิกรุสมบัติแก่ผู้พบแต่เป็นของพระมหากษัตริย์ และทำการมอบเงินจำนวน 92,800 ดอลลาร์สหรัฐ92,800 ให้แก่รัฐ แต่คำพิพากษาดังกล่าวมาถูกเปลี่ยนโดยศาลฎีกาแห่งรัฐเพนซิลเวเนียต่อมาด้วยเหตุผลที่ว่ายังมิได้มีการตัดสินอย่างเป็นทางการว่ากฎหมายเกี่ยวกับกรุสมบัติเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของรัฐเพนซิลเวเนีย ส่วนศาลฎีกายังคงพยายามเลี่ยงการตัดสินที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
ในรัฐอื่นๆ การพบเงินหรือสิ่งของที่สูญหายดำเนินไปตามกฎที่ระบุไว้ในรัฐบัญญัติ รัฐบัญญัติดังว่านี้ระบุให้ผู้พบรายงานการพบและมอบสิ่งของที่พบต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะทำการโฆษณาเพื่อพยายามหาเจ้าของที่แท้จริง ถ้าไม่มีผู้ใดอ้างสิทธิในช่วงเวลาที่ระบุไว้สิทธิในการเป็นเจ้าของก็จะตกไปเป็นของผู้พบนิวเจอร์ซีย์ระบุว่าสมบัติที่ฝังหรือซ่อนเป็นของเจ้าของที่ดิน, อินดีแอนาระบุว่าเป็นของเคาน์ตี้, เวอร์มอนต์ระบุว่าเป็นของเมือง และเมนระบุว่าเป็นของเมืองและผู้พบเท่าๆ กันลุยเซียนาใช้ประมวลกฎหมายฝรั่งเศสซึ่งระบุว่ากึ่งหนึ่งของสมบัติเป็นของผู้พบ และอีกกึ่งหนึ่งเป็นของผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนกฎหมายของเปอร์โตริโกที่มีพื้นฐานมาจากกฎหมายแพ่งก็คล้ายคลึงกัน
ผู้พบที่เป็นผู้รุกล้ำที่ดินมักจะไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งที่พบ นอกจากว่าผู้รุกล้ำจะถือว่าเป็น “technical or trivial”
ในเกือบทุกกรณีที่ถ้าผู้พบเป็นลูกจ้างสิ่งที่พบก็ควรจะเป็นของนายจ้างถ้าเกิดเป็นคดีที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของลูกค้า ถ้าไม่เช่นนั้นก็ควรจะตกไปเป็นของลูกจ้าง สมบัติที่พบในธนาคารโดยทั่วไปแล้วก็จะตกไปเป็นของธนาคาร เพราะสมบัติดังกล่าวก็น่าที่จะเป็นของลูกค้าของธนาคาร และธนาคารก็มีหน้าที่ต่อลูกค้า (fiduciary duty) ในการพยายามหาเจ้าของของสมบัติที่หายไป เช่นเดียวกันกับผู้รับส่ง (common carrier) มีหน้าที่ต่อผู้โดยสาร หรือโรงแรงมีหน้าที่ต่อแขก (เฉพาะเมื่อสิ่งของที่พบพบในห้องพักมิใช่บริเวณทั่วไปในโรงแรม) ทัศนคตินี้ใช้เป็นพื้นฐานที่เหมาะแก่สิ่งของที่สูญหายไปไม่นานนัก เพื่อพยายามหาเจ้าของให้แก่สิ่งของที่พบ แต่ก็เท่ากับเป็นการยกสิทธิความเป็นเจ้าของให้แก่สิ่งของเก่าให้แก่เจ้าของที่ดิน เพราะของเก่ามีโอกาสน้อยที่จะกลับไปเป็นของเจ้าของเดิม กฎดังกล่าวจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งของที่มีคุณค่าทางโบราณคดี
เนื่องจากการขัดกันของผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ และบุคคลอื่นผู้มีหน้าที่ทางด้านการบังคับใช้กฎหมาย และทหาร ในบางรัฐไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งที่พบ
ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางโบราณคดี ค.ศ. 1979 ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่าสมบัติที่พบที่มีอายุกว่าหนึ่งร้อยปีบนที่ดินที่เป็นของรัฐบาลเป็นของรัฐบาล ส่วนในกรณีสมบัติสุสานของชาวอเมริกันอินเดียนที่พบบนดินแดนของรัฐบาลกลาง (Federal lands) และดินแดนของชนเผ่าอเมริกันอินเดียนก็จะใช้กฎหมายเฉพาะกรณีภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองและการเวนคืนสุสานชาวอเมริกันอินเดียน (Native American Graves Protection and Repatriation Act) enacted on 16 November 1990.