ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

กระบวนพยุหยาตราชลมารค

กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2330 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา

ประเภทของการเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี) และ การเห่เรือเล่น (การเห่เรือเล่นของชาวบ้านในงานต่างๆ) ในปัจจุบันการเห่เรือ ยังคงอยู่เฉพาะ การเห่เรือหลวง ที่ใช้ใน กระบวนพยุหยาตราชลมารค

การเสด็จทางน้ำที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค นั้นมีหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ปรากฏไว้ว่า พระร่วงเจ้า (พระมหาธรรมราชา 1) ทรงใช้เรือออกลอยกระทง หรือพิธีจองเปรียง ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามคืนเพ็ญเดือนสิบสอง

ในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามพงศาวดารได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรเมื่อคราวเสด็จไปตีเมืองเมาะตะมะ เสด็จพระราชดำเนินจากกรุงศรีอยุธยาโดยชลมารค พอได้เวลาฤกษ์ พระโหราราชครูอธิบดีศรีทิชาจารย์ ก็ลั่นกลองฆ้องชัยให้พายเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ อันเป็นเรือทรงพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุถวายพระนามสมญา “พระพิชัย” นำกระบวนออกไปก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล

ครั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งตัวเกาะกรุงนั้นเป็นเกาะที่ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลอง ชีวิตผูกพันกับสายน้ำ จึงปรากฏการสร้างเรือรบมากมายในกรุงศรีอยุธยา ยามบ้านเมืองสุขสงบ ชาวกรุงศรีอยุธยาก็หันมาเล่นเพลงเรือ แข่งเรือเป็นเรื่องเอิกเกริก โดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม เมื่อจะเสด็จฯแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ หรือเสด็จฯไปทอดผ้ากฐินยังวัดวาอาราม ก็มักจะใช้เรือรบโบราณเหล่านั้นจัดเป็นกระบวนเรือยิ่งใหญ่ ดังนั้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีกระบวนเรือเพชรพวง ซึ่งเป็นเรือริ้วกระบวนที่ใหญ่มาก จัดออกเป็น 4 สาย แล้วเรือพระที่นั่งตรงกลางอีก 1 สาย ใช้เรือทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 100 ลำ

ระหว่างการเคลื่อนกระบวนก็มีการเห่เรือพร้อมเครื่องประโคม จนเกิดวรรณกรรมร้อยกรองที่ไพเราะยิ่ง คือ กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งบรรยายถึงความงดงาม และลักษณะของเรือในกระบวนครั้งนั้น และบทเห่เรือนี้ยังเป็นแม่แบบของกาพย์เห่เรือที่ใช้กันในปัจจุบัน

ด้วยเหตุที่สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆมากมาย ทั้งทรงสร้างเมืองลพบุรีขึ้น จึงมีการเสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค และในบางโอกาสก็โปรดเกล้าฯ ให้จัดกระบวนเรือหลวงออกรับคณะราชทูต และแห่พระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส จากกรุงศรีอยุธยา มายังเมืองลพบุรี

ในช่วงปี พ.ศ. 2199-2231 ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ มีการจัดกระบวนพยุหยาตราฯที่เรียกว่า “ขบวนเพชรพวง” เป็นริ้วกระบวนยิ่งใหญ่ 4 สาย พร้อมริ้วเรือพระที่นั่ง ตรงกลางอีก 1 สาย มีเรือทั้งสิ้นไม่ตำกว่า 100 ลำ ซึ่งนับเป็นกระบวนพยุหยาตราฯที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และนับเป็นต้นแบบสำคัญของกระบวนพยุหยาตราฯในสมัยต่อๆ มา

การจัดการกระบวนพยุหยาตรลมารคในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่กล่าวมานี้ เป็นริ้วกระบวนใหญ่แสดงความมั่งคั่งโอ่อ่า ของราชสำนักไทยในครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับริ้วกระบวนเรือในสมัยต่อมา จะพบว่าค่อยๆ ตัดทอนลงไปเรื่อยๆ เพราะเรือชำรุดไปตามกาลเวลาบ้าง ไม่มีผู้รู้จักทำขึ้นใหม่ให้ถูกต้องตามแผนโบราณบ้างจึงเหลืออยู่เท่าที่พอจะรักษาไว้ได้เท่านั้น กระทั่งในปี พ.ศ. 2310 ถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่ากระบวนเรือราชพิธีสูญสลายกลายเป็นเถ้าถ่านด้วยฝีมือของข้าศึก

ตามบันทึกของ นิโคลาส แชแวร์ ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยนั้น ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์แห่งราชอาณาจักรสยาม ถึงกระบวนเรือไว้ว่า

"ไม่สามารถเทียบความงามกับขบวนเรืออื่นใดได้ เป็นขบวนเรือที่มโหฬาร มีเรือกว่า 200 ลำ โดยมีเรือพระที่นั่งพายเป็นคู่ๆไปข้างหน้า เรือพระที่นั่งนั้น ใช้ฝีพายของพวกแขนแดงที่ได้รับการฝึกพายมาจนชำนาญ ทุกคนสวมหมวก เสื้อ ปลอกเข่า ปลอกแขน มีทองคำประกอบ เวลาพายพร้อมกับเป็นจังหวะจะโคน พายนั้นก็เป็นทอง เสียงพายกระทบเป็นเสียงประสานไปกับทำนองเพลงยอพระเกียรติของพระเจ้าแผ่นดิน"

ในปี พ.ศ. 2228 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งลาลูแบร์เป็นราชทูตเข้ามายังประเทศไทย พร้อมกับคณะบาทหลวงเยซูอิด ซึ่งมีบาทหลวงผู้หนึ่ง คือ กวีย์ ตาชาร์ด เป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ไว้ในหนังสือเรื่อง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยาม ในตอนหนึ่งได้เล่าถึงขบวนเรือที่ใช้ออกรับเครื่องราชบรรณาการว่า

"มีเรือบังลังก์ขนาดใหญ่ 4 ลำมา แต่ละลำมีฝีพายถึง 80 คน ซึ่งเราไม่เคยเห็นเช่นนั้นมาก่อน 2 ลำแรกนั้นหัวเรือทำเป็นรูปเหมือนม้าปิดทองทั้งลำ เมื่อเห็นมันมาแต่ไกลในลำน้ำนั้นดูคล้ายกับมันมีชีวิตชีวา มีเจ้าหน้าที่กองทหารรักษาพระองค์ 2 นายมาในเรือทั้ง 2 ลำ เพื่อรับเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ครั้นบรรทุกเสร็จแล้วก็ถอยออก ไปลอยลำอยู่กลางแม่น้ำอย่างสงบเงียบ และตลอดเวลาที่ลอยลำอยู่นี้ ไม่มีสุ้มเสียงใดเลยบนฝั่ง และไม่มีเรือลำได้เลยแล่นขึ้นล่องในแม่น้ำ เป็นการแสดงความเคารพต่อเรือบัลลังก์หลวง และเครื่องราชบรรณาการที่บรรทุกอยู่นั้น"

บาทหลวง ตาชาร์ด ยังเขียนถึงขบวนเรือที่แห่พระราชสาสน์ และเครื่องราชบรรณาการที่เดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยา ไปยังเมืองลพบุรีไว้อีกว่า

"ขบวนอันยึดยาวของเรือบังลังก์หลวง ซึ่งเคลื่อนที่ไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อยนี้มีจำนวนถึง 150 ลำผนวกกับเรือลำอื่นๆ เข้าอีกก็แน่นแม่น้ำ แลไปได้สุดสายตา อันเป็นทัศนียภาพที่งดงามยิ่งนัก เสียงเห่แสดงความยินดีตามธรรมเนียมนิยมของชาวสยาม อันคล้ายจะรุกไล่เข้าประกับข้าศึกนั้น ก้องไปทั้งฟากแม่น้ำ ซึ่งมีประชาชาพลเมืองมาคอยชมขบวนเรือยาตราอันมโหฬารนี้อยู่"

ในตอนเสียกรุงครั้งที่ 2 พม่าได้เผาทำลายเรือลงจนหมดสิ้น หลังจากนั้น เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชของไทยคืนมาได้ ก็ทรงสร้างเรือขึ้นใหม่ทั้งชุด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่ใช้ในการรบพุ่งทั้งสิ้น เพราะในสมัยนั้นมีแต่การศึกสงคราม โดยมีการแห่เรือสำคัญ คือ ในการพระราชพิธีสมโภชรับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต ซึ่งอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์และมาแห่พักไว้ที่กรุงเก่า คือพระนครศรีอยุธยามีข้อความในหมายรับสั่งพรรณนากระบวนเรือที่แห่มาจากต้นทางว่า รวมเรือแห่ทั้งปวง 115 ลำ และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปสมทบที่พระตำหนักบางธรณีกรุงเก่า ความว่ามีเรือแห่มารวมกันเป็นจำนวน 246 ลำ

ครั้นมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่อีก 67 ลำ ซึ่งมีทั้งเรือพระที่นั่ง เรือกระบวนปิดทอง เรือพิฆาต และเรือแซง ซึ่งเป็นเรือที่สำคัญๆ เป็นที่รู้จักมาจนเท่าทุกวันนี้

จากนั้นก็มิได้มีการสร้างเรืออีกจนถึงรัชกาลที่ 9จึงได้มีการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9เนื่องในโอกาสกาญจนาภิเษก เรือที่สำคัญๆ และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ก็ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 4 และมาสร้างขึ้นแทนลำเดิมอีกในรัชกาลที่ 6 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 และ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 6

ในช่วงสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา อู่เรือพระที่นั่งที่ปากคลองบางกอกน้อยถูกลูกระเบิดถล่มจนเรือเสียหายไปหลายลำ จากนั้นมาจึงมีการซ่อมแซมเรือ และโอนเรือพระราชพิธี 36 ลำ ให้กรมศิลปากรดูแลเก็บรักษาไว้ที่อู่เรือพระราชพิธีปากคลองบางกอกน้อย และส่วนที่เหลืออีกราว 32 ลำ เป็นพวกเรือตำรวจ เรือดั้ง เรือแซง กองทัพเรือเก็บรักษาไว้

สำหรับกระบวนพยุหยาตราที่มีในรัชกาลปัจจุบันนั้น ส่วนมากจะเป็นการเสด็จไปทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และ พิธีสำคัญๆ อย่างเช่น การฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี กาญจนาภิเษก และ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (สำหรับงาน เอเปค และ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี นั้น เป็นเพียงการสาธิตแห่กระบวนเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จในกระบวน)

สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคมาแล้วจำนวน 17 ครั้งแล้ว ดังนี้

จุดเริ่มต้นของกระบวนเรือนั้น คือบริเวณท่าวาสุกรี โดยจะมีการจอดเรือตั้งแต่ หน้าสะพานกรุงธน ไปถึงหลังสะพานพระราม 8 เรือจะเริ่มออกจากสะพานพระราม 8 ผ่านป้อมพระสุเมรุสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลศิริราช กรมอู่ทหารเรือ ราชนาวิกสภา พระบรมมหาราชวัง หอประชุม ทร. วัดอรุณราชวราราม และไปจอดเรืออยู่หน้าวัดกัลยาณมิตร

ในปีพุทธศักราช 2549 มีกำหนดการที่จะแสดงกระบวนเรือพระราชพิธีขึ้น ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยเป็นลักษณะของการจัดกระบวนเรือ มิใช่ "การเสด็จพยุหยาตราชลมารค" เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จโดยกระบวนเรือแต่อย่างใด

ทั้งนี้จะมีการฝึกซ้อมใหญ่ ในเวลากลางคืน ในวันที่ 2 และ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2549 และการฝึกซ้อมเตรียมพร้อมก่อนวันจริง ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301