ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (อังกฤษ: Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า
นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง
กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว
กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป
กระดูกไหปลาร้าเป็นกระดูกแบบยาวที่มีแนวโค้งสองแนว ทำให้มีรูปร่างคล้ายตัว S และเชื่อมระหว่างส่วนลำตัวและส่วนแขนของร่างกาย เราจึงแบ่งส่วนของกระดูกไหปลาร้าได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ ตามปลายทั้งสองด้านของกระดูก ได้แก่
พื้นผิวบนกระดูกไหปลาร้าที่สำคัญได้แก่พื้นผิวทางด้านบน (superior surface) พื้นผิวทางด้านล่าง (inferior surface) ขอบด้านหน้า (anterior border) และขอบด้านหลัง (posterior border) ซึ่งจะมีจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆที่เป็นส่วนประกอบของบริเวณไหล่ ดังตารางสรุปด้านล่าง
อย่างไรก็ตาม กระดูกไหปลาร้าเป็นกระดูกที่ค่อนข้างทึบแน่น และไม่มีไขกระดูกมากนัก จึงไม่ได้มีหน้าที่สำคัญในการผลิตเม็ดเลือดเช่นในกระดูกแบบยาวชนิดอื่นๆ
ปุ่มกระดูก (ปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์, ปุ่มใต้แอ่งกลีนอยด์) • แนวสันกระดูกสะบัก • อโครเมียน • โคราคอยด์ โพรเซส