พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463) ทรงเป็นต้นราชสกุลรพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัต โดยมีพระเชษฐภคินีคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย"
ทางด้านชีวิตส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ พระธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ แต่ทรงมีชีวิตร่วมกันเพียงไม่นานก็หย่าขาดจากกันหลังจากนั้นกทรงรับหม่อมอ่อนเป็นชายา หลังจากนั้นทรงมีหม่อมอีก 2 พระองค์ คือ หม่อมแดงและหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช สิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 พระชนมายุ 45 ปี
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานนามจากพระราชบิดาว่า "รพีพัฒนศักดิ์" เมื่อทรงพระเยาว์พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงได้รับการอภิบาลจากเจ้าจอมมารดาตลับ หม่อมราชวงศ์วงศ์ พึ่งบุญ และพระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต)
เมื่อเจริญวัยขึ้นพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยเบื้องต้นกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) โดยใช้เก๋งกรงนกภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ทรงพระอักษร เมื่อทรงศึกษาวิชาภาษาไทยจบแล้ว ก็ทรงเข้าศึกษาต่อที่สำนักของบาบู รามซามี โดยใช้โรงเรียนทหารมหาดเล็กเป็นที่ถวายพระอักษรจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2426 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เข้าศึกษาในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ในการส่งพระราชโอรสไปศึกษายังต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นพระราชโอรสกลุ่มแรกที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2428 พร้อมกัน 4 พระองค์ คือ
แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ทรงแยกกันเรียน โดยพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระองค์โปรดเกล้าฯ เสด็จไปศึกษาที่กรุงเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ โดยให้หมอเกาวัน เป็นผู้จัดการศึกษา ในการนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น จึงมีเพียงครูชาวต่างชาติมาถวายพระอักษรที่ตำหนักครึ่งวัน และหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ถวายการสอนภาษาไทยอีกครึ่งวัน
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงศึกษาวิชาภาษาละติน วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาฝรั่งเศสอยู่ 2 ปี จึงเสด็จนิวัติประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2431 จึงเสด็จไปศึกษาต่อในชั้นมัธยมอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และต่อมาปี พ.ศ. 2434 ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2437 ทรงสามารถสอบไล่ได้ตามหลักสูตรชั้นปริญญาเกียรตินิยม จากนั้นจึงเสด็จกลับประเทศไทย ด้วยพระอัจฉริยภาพที่มีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงได้รับพระสมญาว่า เฉลียวฉลาดรพี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดให้ตั้งพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 3 พระองค์พร้อมกันคือ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช และพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นการสมโภช 3 วัน ตั้งแต่วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2427 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2427 แล้วจึงประกอบพระราชพิธีโสกันต์ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2427 โดยโปรดให้ทรงเครื่องต้นทั้ง 4 พระองค์
หลังจากพระราชพิธีโสกันต์ผ่านพ้นไปแล้วพระเจ้าลูกยาเธอที่จะเสด็จไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ จึงได้ผนวชพร้อมกันตามโบราณราชประเพณี โดยมีกำหนดการที่สำคัญดังนี้
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเริ่มรับราชการในสำนักราชเลขาธิการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ทรงประกอบพระกรณียกิจ อันเป็นคุณประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อวงการกฎหมายไทยและศาลสถิตยุติธรรม ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ จัดการปรับปรุงศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ จัดตั้งศาลมณฑล และศาลจังหวัด ทั่วประเทศ, ทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย ประมวลขึ้นเป็นกฎหมายอาญาฉบับ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) , ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายเพื่อเปิดการสอนกฎหมาย ทรงรวบรวมและแต่งตำราคำอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงสอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง, ทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกาซึ่งเทียบได้กับศาลฎีกาในปัจจุบัน, เมื่อ พ.ศ. 2443 ทรงตั้งกองพิมพ์ลายมือขึ้น สำหรับตรวจลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา ตำแหน่งสุดท้ายทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงปรับปรุงกิจการกรมทะเบียนที่ดิน
ในปี พ.ศ. 2462 พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ประชวรด้วยพระโรคที่ต่อมลูกหมากและมีการแทรกซ้อนต่อไปยังพระวักกะ (ไต) จึงทรงขอลาพักราชการในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 เพื่อรักษาพระองค์แต่อาการยังไม่ทุเลา ต่อมาจึงเสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่พระโรคที่พระวักกะก็ยังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเกินที่แพทย์จะเยียวยาได้ จนกระทั่งถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เวลาประมาณ 21 นาฬิกา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์สิ้นพระชนม์ สิริพระชันษา 45 ปี 9 เดือน 17 วัน
พระศพของพระองค์ได้รับการถวายพระเพลิงที่กรุงปารีส หลังจากนั้น หม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์เสด็จไปรับและอัญเชิญพระอัฐของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์มาถึงประเทศไทยในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2463 ในคราวนั้นเจ้าเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)หวนระลึกถึงรับสั่งของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้ตรัสไว้ก่อนที่เสด็จไปรักษาพระองค์ที่ประเทศฝรั่งเศสว่า
หลังพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เสด็จกลับจากศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสู่ขอ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ พระธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ พระราชทานเสกสมรสให้ โดยในครั้งนั้น เป็นครั้งแรกที่มีการพระราชทานน้ำสังข์ แต่ทรงมีชีวิตร่วมกันเพียงไม่นานก็หย่าขาดจากกัน หลังจากนั้นพระองค์จึงรับหม่อมอ่อนเป็นชายา
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ มีพระโอรส-ธิดา ที่ประสูติกับหม่อมอ่อน หม่อมแดง และหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช ทุกพระองค์ทรงตั้งชื่อคล้องจองกันหมด และมีความหมายเกี่ยวกับ พระอาทิตย์
หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา ธิดาใน หม่อมราชวงศ์สำอาง เสนีวงศ์ กับพระยาสุพรรณพิจิตร (โต) ก็ได้รับหม่อมอ่อนเข้ามาเป็นชายา เสด็จในกรมหลวงราชบุรีและหม่อมอ่อนมีโอรสธิดารวม 11 พระองค์ ดังนี้
หม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา เป็นบุตรสาวของพ่อค้าจีนเจ้าของร้านเพชรหัวเม็ด ในประมาณปี พ.ศ. 2458 เสด็จในกรมหลวงราชบุรี ทรงรับหม่อมแดงเข้ามาเป็นหม่อมในพระองค์ เสด็จในกรมหลวงราชบุรีและหม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา มีธิดารวม 1 พระองค์ ดังนี้
หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช บุตรีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ และหม่อมนุ่ม เสด็จในกรมหลวงราชบุรีและหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช มีธิดารวม 1 พระองค์ ดังนี้
เมื่อพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์ทรงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิรูปการศาล ซึ่งปัญหาสำคัญสำหรับศาลไทยในเวลานั้น คือ เรื่องของศาลกงสุลต่างชาติ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในยุคนั้น เป็นที่รู้กันว่าชาวต่างเหล่านี้มีอำนาจอิทธิพลมาก เมื่อเกิดคดีความหรือข้อโต้แย้ง ชาวไทยมักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะชาวต่างชาติมักจะอ้างว่ากฎหมายยังล้าหลังไม่ทันสมัยเพื่อเป็นข้ออ้างเอาเปรียบชาวไทยซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลของไทยยังไม่พร้อมที่จะรับข้อกฎหมายใหม่ ๆ ในเวลานั้น พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยจ้างชาวต่างชาติมาเป็นผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลไทยเกิดความกระตือรือร้นเร่งศึกษาชากฎหมายไทยและต่างประเทศทำให้ศาลไทยมีความเชื่อถือมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ ถึงกับยกเลิกศาลกงสุลยอมให้คนชาติตัวเองมาขึ้นศาลไทยนอกจากนั้น ยังทรงปฏิรูปการศาลในด้านอื่นอีกมากมาย อาทิ
พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น โดยมีเจ้าพระยาอภัยราชาเป็นที่ปรึกษา และพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าสอนเป็นประจำ ต่อมาได้จัดให้มีการสอบไล่ขึ้นด้วย ในปีแรกที่มีการสอบปรากฏว่ามีผู้สอบผ่านเพียง 9 คนจากจำนวนกว่าร้อยคน และแม้ใน 14 ปีแรกมีผู้สอบผ่านเพียง 129 คนเท่านั้น แต่ก็ถือเป็นการผลิตนักกฎหมายที่มีคุณภาพให้สังคมเป็นอย่างมาก ต่อมายังทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย, กรรมการตรวจตัดสินความฎีกา และกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญาอีกด้วย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังต่อไปนี้
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เสด็จไปทอดพระเนตรโรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัท Diamler - Motorin - Gesellschaft ในปี พ.ศ. 2447 และทรงว่าจ้างให้บริษัทดังกล่าวประกอบรถยนต์ขึ้นจำนวน 1 คัน โดยเป็นรถเมอร์ซิเดส - เดมเลอร์สีเหลืองหลังคาเปิดประทุนซึ่งต่อมาพระองค์จึงทรงถวายรถคันนี้แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงราชบุรีฯ สั่งซื้อรถเมอร์ซิเดส - เดมเลอร์สีแดงเข้ามาอีก 1 คัน แต่ปรากฏว่าไอน้ำมันระเหยขึ้นติดตะเกียงไฟลุกไหม้ประตูรถเสียหายไป 1 บาน หลังจากที่ซ่อมแซมเสร็จแล้วจึงนำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงพระราชทานนามรถพระที่นั่งคันนี้ว่า "แก้วจักรพรรดิ์"
นักกฎหมายได้ถือเอาวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์คือวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันรพีเพื่อเป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันรพีที่อนุสาวรีย์พระรูป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าสำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีการจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507
เมื่อ พ.ศ. 2498 คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภาได้มีมติจัดสร้างอนุสาวรีย์พระรูปพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ขึ้น โดยได้จัดการเรี่ยไรเงินจำนวน 500,000 บาท ต่อมาวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507 ได้รับเงินบริจาครวมทั้งหมดเป็นจำนวน 296,546.75 บาท ซึ่งก็ยังไม่ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ แต่แม้จำนวนเงินบริจาคนั้นจะยังไม่ครบ แต่ตัวอนุสาวรีย์นั้นได้มีการปั้นเสร็จในปี พ.ศ. 2506 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุสาวรีย์พระรูปพระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507
กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน • กรมพระจันทบุรีนฤนาถ • กรมพระยาชัยนาทนเรนทร • กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ • กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส • กรมขุนเทพทวาราวดี • กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช • กรมหลวงนครราชสีมา • กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • กรมหลวงปราจิณกิติบดี • กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ • กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ • กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ • กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ • กรมหลวงสงขลานครินทร์ • กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี • กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร • กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
กรมพระเทพนารีรัตน์ • กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ • กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร • กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร • กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา • กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี • กรมขุนสุพรรณภาควดี • กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
กรมพระยาเทพสุดาวดี • กรมพระยาเดชาดิศร • กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร • กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ • กรมพระยาวชิรญาณวโรรส • กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช • กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
กรมพระศรีสุดารักษ์ • กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • กรมพระรามอิศเรศ • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ • กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมพระจักรพรรดิพงษ์ • กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ • กรมพระสมมตอมรพันธ์ • กรมพระเทพนารีรัตน์ • กรมพระจันทบุรีนฤนาถ • กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ • กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ • กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • กรมพระสุทธาสินีนาฏ • กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ • กรมหลวงธิเบศรบดินทร์ • กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ • กรมหลวงจักรเจษฎา • กรมหลวงอิศรสุนทร () • กรมหลวงเทพหริรักษ์ • กรมหลวงศรีสุนทรเทพ • กรมหลวงเสนานุรักษ์ • กรมหลวงพิทักษ์มนตรี • กรมหลวงเทพยวดี • กรมหลวงเทพพลภักดิ์ • กรมหลวงรักษ์รณเรศ • กรมหลวงเสนีบริรักษ์ • กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิสุขวัฒนวิไชย • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมหลวงนรินทรเทวี • กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ • กรมหลวงพิชิตปรีชากร • กรมหลวงวรเสรฐสุดา • กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ • กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร • กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ • กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร • กรมหลวงปราจิณกิติบดี • กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช • กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ • กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ • กรมหลวงอดิศรอุดมเดช • กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ • กรมหลวงนครราชสีมา • กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ • กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา () • กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ • กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ • กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี • กรมหลวงสงขลานครินทร์ • กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร • กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ • กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
กรมขุนสุนทรภูเบศร์ • กรมขุนกษัตรานุชิต • กรมขุนอิศรานุรักษ์ • กรมขุนศรีสุนทร • กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ • กรมขุนกัลยาสุนทร • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมขุนนรานุชิต • กรมขุนธิเบศวร์บวร • กรมขุนพินิตประชานาถ () • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมขุนราชสีหวิกรม • กรมขุนรามินทรสุดา • กรมขุนอนัคฆนารี • กรมขุนเทพนารี • กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล • กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ • กรมขุนขัตติยกัลยา • กรมขุนเทพทวาราวดี () • กรมขุนอรรควรราชกัลยา • กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ • กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • กรมขุนสุพรรณภาควดี • กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย • กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ • กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี • กรมขุนสิริธัชสังกาศ • กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ • กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา • กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ • กรมหมื่นพิทักษ์เทวา • กรมหมื่นศักดิพลเสพ • กรมหมื่นนราเทเวศร์ • กรมหมื่นนเรศร์โยธี • กรมหมื่นเสนีเทพ • กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ () • กรมหมื่นอินทรพิพิธ • กรมหมื่นจิตรภักดี • กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ • กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ • กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมหมื่นนรินทรเทพ • กรมหมื่นศรีสุเทพ • กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ • กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นอมรมนตรี • กรมหมื่นนเรนทร์บริรักษ์ • กรมหมื่นไกรสรวิชิต • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ • กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ • กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ • กรมหมื่นถาวรวรยศ • กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ • กรมหมื่นภูมินทรภักดี • กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส • กรมหมื่นมนตรีรักษา • กรมหมื่นเทวานุรักษ์ • กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร • กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ • กรมหมื่นอุดมรัตนราษี กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย • กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ • กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช • กรมหมื่นอมเรศรัศมี • กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ • กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ • กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ • กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ • กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ • กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ • กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ • กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ • กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร • กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย • กรมหมื่นปราบปรปักษ์ • กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ • กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา • กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ • กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป • กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร • กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม • กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ • กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ • กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี • กรมหมื่นกวีสุพจน์ปรีชา • กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ • กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส • กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ • กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช • กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย • กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร • กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต • กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ • กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ • กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์