กรมหลวงพิพิธมนตรี เป็นพระมเหสีรองในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
กรมหลวงพิพิธมนตรี มีพระนามเดิมว่า พระพันวสาน้อย เป็นบุตรีนายทรงบาศก์ขวากรมช้าง (ต่อมาคือ นายจบคชประสิทธิ์) ซึ่งมีตำแหน่งเป็นพระบำเรอภูธร กับมารดาซึ่งเป็นสตรีเชื้อสายพราหมณ์บ้านสมอพลือ เมืองเพชรบุรี เมื่อได้เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงได้ทรงกรมเป็น กรมหลวงพิพิธมนตรี มีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 6 พระองค์ คือ
โดยเฉพาะเจ้าฟ้าดอกเดื่อหรือกรมขุนพรพินิตนั้น ปรากฏว่าเข้มแข็งในการสงครามเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ต้องรับพระอาญาจากการโบยถึง 180 ที สูญสิ้นพระชนม์นั้น ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็ควรจะตกอยู่กับกรมขุนอนุรักษ์มนตรี ผู้เป็นพระเชษฐา ตามคำกราบทูลของกรมขุนพรพินิต แต่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศกลับตรัสว่ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นโฉดเขลา หาสติปัญญาและความเพียรมิได้ กลับทรงแต่งตั้งให้กรมขุนพรพินิต เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และให้กรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศน์) ไปบวชเสียที่วัดลมุตปากจั่น เพื่อมิให้ขัดขวางกรมขุนพรพินิตนั้น ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศประชวรหนักอยู่ ก็ให้ไปเชิญกรมหลวงพิพิธมนตรี พระราชมารดาและพระบรมวงศานุวงศ์มาอยู่พร้อมกันสิ้น รวมทั้งเจ้าฟ้าเอกทัศน์ก็ทูลลาผนวช เสด็จลงมาอยู่ด้วยเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศประชวรสิ้นพระชนม์ ราชสมบัติจึงตกอยู่แก่กรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าดอกเดื่อ-อุทุมพร) แต่กรมขุนพรพินิตครองราชย์ได้เพียง 10 วัน ก็ต้องมอบราชสมบัติให้แก่พระเชษฐา คือ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) กรมขุนอนุรักษ์มนตรี หรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ได้ราชสมบัติ จึงโปรดให้ตั้งกรมหลวงพิพิธมนตรี พระราชมารดาเป็น สมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตย์
เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตย์ทรงพระประชวรหนัก เสด็จทิวงคต สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงให้แต่งพระศพใส่พระโกศ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระที่นั่งบรรยงก์รัตนอาสน์ เคียงกันเป็นสองพระโกศ