กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ กสอ. (อังกฤษ: Department of Industry Promotion) เดิมชื่อกรมอุตสาหกรรม กองอุตสาหกรรม สังกัดอยู่ในกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดวางระเบียบ การสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ (ฉบับที่ 3) ตราไว้ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2479
ปัจจุบัน กสอ. เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศในด้านการส่งเสริม สนันสนุน และพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ เอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน และเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ ให้มีขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศด้วยนวัตกรรม องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และธรรมาภิบาล เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตให้ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเป็นแกนกลางในการส่งเสริมและพัฒนาด้วยรูปแบบกรอบการดำเนินงาน อาทิ การให้คำปรึกษาแนะนำ การฝึกอบรม การบ่มเพาะธุรกิจ การเชื่อมโยงธุรกิจ การวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ด้านกายภาพและเคมี การพัฒนาระบบการผลิต การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ การจัดแสดงนิทรรศการ และจัดร้านแสดงสินค้าให้เข้าสู่ช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ พระนารายณ์ ฟันเฟือง และลูกศรสีธงชาติ ความหมายโดยรวมของสัญลักษณ์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายถึง การบริการ การสนับสนุน การส่งเสริม และการให้ความช่วยเหลือของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งกระจายไปสู่คนไทยเพื่อให้อุตสาหกรรมของชาติก้าวทะยานสู่ความสำเร็จ
พระนารายณ์ หรือพระวิษณุ (อังกฤษ: Vishnu) เป็นสัญลักษณ์ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความเคารพนับถือเพราะเป็นองค์เทพที่ช่วยเหลือมนุษย์เมือถึงคราวยุคเข็ญ พระนารายณ์ประทับอยู่ที่จุดศูนย์กลางของสัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายว่าพระนารายณ์ คือจุดกำเนิดของการก่อตั้งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ฟันเฟืองหรือเฟืองจักรอุตสาหกรรมแทนความหมายเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
พุ่งจากจุดกำเนิดแล้วกระจายออก แทนความหมายว่าการให้บริการและความช่วยเหลือต่างๆของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งกระจายไปสู่ประชาชนในชาติ ส่วนหัวลูกศร ชี้ขึ้นแทนความหมายว่าความช่วยเหลือต่างๆ ขององค์กร มีเป้าหมายทะยานพุ่งขึ้นสู่ความสำเร็จของคนในชาติโดยส่วนรวม