ในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 ใกล้กับเมืองมุกเดน (หรือ เสิ่นหยางในปัจจุบัน) ทางแมนจูเรียตอนใต้ ส่วนหนึ่งของรางรถไฟซึ่งกองทัพญี่ปุ่นยังคงยึดครองอยู่ในขณะนั้นเกิดการระเบิดขึ้น กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการรุกรานแมนจูเรีย และนำไปสู่การก่อตั้งแมนจูกัวในปีต่อมา ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรบในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ถึงแม้ว่าสงครามครั้งนี้จะปะทุขึ้นมาในปี ค.ศ. 1937 ก็ตาม
เหตุการณ์ดังกล่าวมีชื่อเรียกกันหลายแบบ เช่น กรณีมุกเดน (อังกฤษ: Mukden Incident) ในญี่ปุ่นเรียก กรณีแมนจูเรีย (อังกฤษ: Manchurian Incident, ญี่ปุ่น: ???? หรือ ????) ส่วนในจีนเรียก เหตุการณ์ 18 กันยายน (?•????/?•???? Ji?y?b? Sh?bi?n) หรือ เหตุการณ์หลิ่วเถียวโกว (?????/????? Li?ti?og?u Sh?bi?n)
ความสนใจทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของญี่ปุ่นที่มีต่อแมนจูเรียนั้นเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่หลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1904-1905 ตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาพอร์ตสมัธ ทำให้ญี่ปุ่นได้เช่าทางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ (อังกฤษ: South Manchuria Railway) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟจีนสายตะวันออก (อังกฤษ: China Far East Railway) รัฐบาลญี่ปุ่นอ้างว่าสิทธิการครอบครองทางรถไฟดังกล่าวครอบคลุมถึงสิทธิพิเศษที่รัสเซียได้รับจากจีนในสนธิสัญญาลี-โลบานอฟ แห่งปี ค.ศ. 1896 ซึ่งถูกขยายขอบเขตโดยสัญญาเช่าเขตควันตงในปี ค.ศ. 1898 จึงทำให้ญี่ปุ่นมีอำนาจบริหารอย่างเด็ดขาดในเขตทางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ กองทัพญี่ปุ่นได้มียามประจำการอยู่ในพื้นที่เพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่รถไฟและรางรถไฟ อย่างไรก็ตาม ทหารเหล่านี้เป็นเพียงพลทหารธรรมดา และต้องฝึกซ้อมรบนอกเขตดังกล่าวบ่อยครั้ง
ทางด้านประเทศจีน ซึ่งยังคงอ่อนแออยู่ในขณะนั้นต้องเผชิญกับภัยคอมมิวนิสต์จากสหภาพโซเวียตทางทิศเหนือ รวมทั้งอำนาจทางการเมืองและการทหารของกองทัพควันตงแห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งมีความพยายามที่จะผนวกเอาแมนจูเรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิญี่ปุ่น
พันเอกแห่งกองทัพควันตง เซชิโร อิตะงะกิ และพันโท คันจิ อิชิวะระ ได้คิดวิธีการที่จะรุกรานแมนจูเรีย ต่อมาอิชิวะระได้นำเสนอแผนการของเขาที่กองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว และได้รับการอนุมัติ แต่มีข้อแม้คือ ต้องเป็นการกระทำเพื่อตอบโต้ความขัดแย้งที่ฝ่ายจีนเป็นผู้เริ่มก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม จิโร มินะมิ ได้ย้ายพันเอก Yoshitsugu Tatekawa ไปยังแมนจูเรียเพื่อควบคุมความประพฤติของกองทัพควันตง เซชิโร อิตะงะกิ และ คันจิ อิชิวะระ รู้ว่าการรอคอยการตอบโต้จากจีน หลังจากความพยายามยุยงหลายครั้งแล้วไม่มีประโยชน์ใด ดังนั้น พวกเขาจึงคิดหาวิธีของตัวเอง
แผนการที่ว่าคือ การก่อวินาศกรรมตามแนวรางรถไฟในเขตของจีนใกล้กับทะเลสาบ Li?ti?o (??? li?ti?oh?) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พื้นที่บริเวณนี้ไม่มีชื่อทางการ และไม่ได้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อทั้งฝ่ายจีนและญี่ปุ่นแต่อย่างใด แต่ว่ามันอยู่ห่างจากค่ายทหาร Beidaying (??? b?id?y?ng) ซึ่งอยู่ใต้การบังคับบัญชาของ "จอมพลหนุ่ม" จาง เซวเหลียง เพียงแปดร้อยเมตรเท่านั้น แผนการของญี่ปุ่นเป็นการกล่าวหาทหารจีนว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อวินาศกรรม ซึ่งญี่ปุ่นจะสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการรุกรานอย่างเต็มตัว นอกจากนี้ เพื่อทำให้การก่อวินาศกรรมครั้งนี้ดูเหมือนเป็นแผนการที่จีนวางไว้เพื่อโจมตีเป้าหมายสำคัญ (และทำให้การตอบโต้ของญี่ปุ่นเป็นการป้องกันทางรถไฟอันมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของตน) ญี่ปุ่นจึงตั้งชื่อให้กับบริเวณนี้ว่า "Li?ti?o Ditch" (??? li?ti?og?u) หรือ "สะพาน Li?ti?o" (??? li?ti?oqi?o) ทั้ง ๆ ที่พื้นที่นี้เป็นเพียงทางรถไฟเล็ก ๆ ที่อยู่บนพื้นราบเท่านั้น
พันเอก เซชิโร อิตะงะกิ พันโท คันจิ อิชิวะระ พันเอก เคนจิ โดะอิฮะระ และพันตรี ทะกะโยะชิ ทะนะกะ ได้สำเร็จแผนการเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1931 โดยหลักของแผนคือ อุบายการสร้างสระว่ายน้ำตรงที่พักของนายทหารญี่ปุ่น แต่ความจริงแล้วมันคือ บังเกอร์คอนกรีตสำหรับปืนใหญ่ขนาด 9.2 นิ้ว ซึ่งจะถูกนำเข้ามาเก็บไว้อย่างลับ ๆ โดยฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มดำเนินการเมื่อร้อยโทซุเอะโมะริ โคะโมะโตะ แห่งกองกำลังทหารประจำการอิสระ (?????) แห่งกรมทหารราบที่ 29 ซึ่งรักษาทางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ ทำการวางระเบิดในระยะใกล้เคียงกับทางรถไฟ แต่ไกลพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายจริง ๆ ในเวลาประมาณ 22.20 น. ของวันที่ 18 กันยายน ทหารญี่ปุ่นจุดระเบิด แต่ระเบิดไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ขนาดที่ว่ารถไฟจากเมืองชางชุนยังสามารถวิ่งผ่านจุดนั้นและไปถึงเสิ่นหยางเมื่อเวลา 22.30 น. ได้ตามปกติ
เมื่อตอนเช้าของวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1931 ปืนใหญ่ได้ถูกติดตั้งไว้ที่ที่พักของนายทหารญี่ปุ่นทำการเปิดฉากระดมยิงใส่ที่ตั้งของทหารจีน เพื่อตอบโต้ทหารจีนตามข้อกล่าวหาในการรุกรานทางรถไฟ กองกำลังทางอากาศเพียงเล็กน้อยของจีนซึ่งนำโดยจาง เซวเหลียงถูกทำลาย ทหารจีนต้องถอนกำลังออกจากค่าย Beidaying ทหารญี่ปุ่นเพียงห้าร้อยนายโจมตีที่ตั้งของทหารจีนจำนวนเจ็ดพันนาย แต่เนื่องจากทหารจีนส่วนมากเป็นทหารใหม่หรือทหารเกณฑ์ จึงไม่อาจต้านทานทหารญี่ปุ่นซึ่งมีประสบการณ์เหนือกว่าได้เลย เมื่อเวลาผ่านไปถึงตอนเย็น ทหารจีนห้าร้อยนายเสียชีวิต ขณะที่ญี่ปุ่นเสียทหารไปเพียงสองนายเท่านั้น ขณะเดียวกันที่เมืองต้าเหลียน ผู้บัญชาการกองทัพควันตง นายพลชิเงะรุ ฮนโจ รู้สึกใจหายที่การรุกรานเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากเขา แต่ว่าเขาถูกโน้มน้าวโดยอิชิวะระและให้อนุญาตในภายหลัง เขาได้ย้ายกองบัญชาการใหญ่กองทัพควันตงไปยังมุกเดน และออกคำสั่งให้นายพลเซ็นจูโร ฮะยะชิ แห่งกองทัพที่ถูกเลือกของญี่ปุ่นในเกาหลีส่งกำลังเสริมมายังพื้นที่ เมื่อถึงเวลา 4.00 น. ของวันที่ 19 กันยายน มุกเดนถูกยึด และเครื่องบินของกองทัพที่ถูกเลือกก็สามารถลงจอดที่มุกเดนได้ จาง เซวเหลียง ซึ่งได้รับคำสั่งจากพรรคก๊กมินตั๋งให้ดำเนินนโยบายไม่ต่อต้าน ได้สั่งห้ามไม่ให้ทหารของเขาต่อสู้และวางอาวุธในกรณีที่ทหารญี่ปุ่นบุกเข้ามา ทหารญี่ปุ่นจึงมุ่งหน้าสู่ชางชุน ตานตองและบริเวณรอบข้างอย่างง่ายดาย และแม้จะมีการต่อต้านจากกองกำลังท้องถิ่นในภายหลัง นครสำคัญในมณฑลเหลียวหนิง มณฑลจี๋หลินและมณฑลเฮย์หลงเจียงก็ถูกกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดได้ในเวลาเพียงห้าเดือนหลังจากกรณีมุกเดนเริ่มต้น
ความเห็นของชาวจีนจำนวนมากได้ติเตียนจาง เซวเหลียงที่ล่าถอยโดยไม่ทำการต่อต้าน แม้ว่ารัฐบาลกลางก๊กมินตั๋งมีส่วนรับผิดชอบในทางอ้อมเพราะนโยบายดังกล่าว หลายคนสงสัยว่ากองทัพจีนตั้ง 250,000 นาย กลับไม่สามารถต้านทานกองทัพควันตงเพียง 11,000 นายได้ นอกจากนั้น กองทัพของเขายังมีอาวุธที่ทันสมัยที่สุดในจีน ทั้งกำลังคนและรถถัง เครื่องบินรบ 60 ลำ ปืนกลกว่า 4,000 กระบอก และกองพันปืนใหญ่อีกจำนวนหนึ่งด้วย
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ข้อได้เปรียบดังกล่าวขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หนึ่งคือ กองทัพญี่ปุ่นสามารถได้รับกำลังเสริมจากเกาหลีทางรถไฟได้ ซึ่งเป็นดินแดนของญี่ปุ่นที่อยู่ประชิดกับแมนจูเรีย สองคือ กองทัพมากกว่าครึ่งหนึ่งของจีนตั้งอย่ทางตอนใต้ของกำแพงเมืองจีน ในมณฑลหูเป่ย ขณะที่กองกำลังทางตอนเหนือวางกำลังอย่างกระจัดกระจายไปทั่วแมนจูเรีย และกองทัพจีนก็ไม่อาจวางกำลังพลได้รวดเร็วพอที่จะหยุดยั้งการบุกของญี่ปุ่นได้ นอกจากนี้ ทหารจีนในพื้นที่ยังเป็นพวกฝึกหัด มีขวัญกำลังใจต่ำ และมีความจงรักภักดีที่คลอนแคลน และที่สำคัญที่สุด คือ สายลับของญี่ปุ่นได้แทรกซึมการบัญชาการของจาง เซวเหลียง เนื่องจากมีประวัติว่าเขามักจะไว้ใจที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่น ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นปฏิบัติการได้อย่างง่ายดาย
ทางด้านรัฐบาลจีนต้องประสบกับปัญหาภายในหลายด้าน รวมไปถึงรัฐบาลกว่างโจวที่แยกตัวเป็นเอกราช นำโดยนาย Hu Hanmin แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเหตุการณ์อุทกภัยจากแม่น้ำแยงซี ซึ่งทำให้ประชาชนไม่มีที่อยู่อาศัยหลายหมื่นคน นอกเหนือจากนั้น นายพลจางก็ไม่ได้อยู่ในแมนจูเรียในขณะนั้น แต่ยังอยู่ในโรงพยาบาลในนครปักกิ่ง เพื่อเพิ่มเงินสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อย่างไรก็ตาม เหล่าหนังสือพิมพ์ของจีนต่าง ๆ ก็เยาะเย้ยนายพลจางว่าเป็น "นายพลผู้ให้ศัตรูเข้าบ้าน" (?????)
จากปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามารุมเร้า รัฐบาลกลางจึงตัดสินใจพึ่งองค์การเพื่อสันติภาพนานาชาติ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีนได้กล่าวประท้วงรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างรุนแรง และต้องการให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกไปจากแมนจูเรียทั้งหมด ได้ร้องอุทธรณ์ต่อสันนิบาตชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม สันนิบาตชาติได้ผ่านมติให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกไปจากดินแดนจีนทั้งหมดภายในวันที่ 16 พฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะดำเนินการตามมติดังกล่าวและยืนยันที่จะเจรจาโดยตรงต่อรัฐบาลจีนเท่านั้น
การเจรจาระหว่างทั้งสองประเทศมีขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน รัฐบาลกลางของจีนได้เปิดการประชุมขึ้น แต่รัฐบาลกว่างโจวได้ออกมาเรียกร้องให้เจียงไคเช็คลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบเสียดินแดนแมนจูเรีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม เจียงไคเช็คได้ลาออกจากตำแหน่งประธานรัฐบาลชาตินิยมและตำแหน่งอัครเสนาบดีแห่งสาธารณรัฐจีน
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 1932 เลขานุการแห่งรัฐของสหรัฐอเมริกา เฮนรี่ สติมสัน ได้ประกาศลัทธิสติมสันออกมา โดยบอกว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่ให้การรับรองแก่รัฐใหม่ที่ตั้งขึ้นจากผลของการรุกรานแมนจูเรียดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 มกราคม ผู้ตรวจการของสันนิบาตชาติ นำโดย Earl of Lytton ชาวอังกฤษ ได้เดินทางมายังเซี่ยงไฮ้เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ ในเดือนมีนาคม ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดแมนจูกัวขึ้น โดยยกให้จักรพรรดิผู่อี๋ขึ้นเป็นประมุขแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม รายงานของนาย Lytton ได้รับการตีพิมพ์และปฏิเสธคำแก้ตัวของญี่ปุ่นที่ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเพื่อการป้องกันตัวเอง รายงานฉบับดังกล่าวยังได้รวบรวมข้อมูลว่าแมนจูกัวเป็นผลมาจากความรุนแรงทางด้านการทหารของญี่ปุ่นในจีน ขณะที่ชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นนั้นจำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว เนื่องจากว่าเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของญี่ปุ่น สันนิบาตชาติปฏิเสธที่จะรับรองให้แมนจูกัวเป็นประเทศเอกราช และส่งผลให้ญี่ปุ่นถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติเมื่อเดือนมีนาคม 1933
พันเอก Doihara ได้ใช้กรณีมุกเดนเพื่อเป็นการปกปิดข้อมูล ตั้งแต่พบว่ากองทัพจีนได้ต้านทานเพียงเล็กน้อยที่เมืองมุกเดน เขาจึงทูลแก่จักรพรรดิผู่อี๋ว่า ประเทศจีนยังคงจงรักภักดีต่อพระองค์อยู่ นอกจากนั้น หน่วยข่าวกรองของญี่ปุ่นยังได้ใส่ร้ายป้ายสีจาง เจาหลินและบุตรชาย จาง เซวเหลียงในฐานะที่แยกแมนจูเรียออกไป และในความเป็นจริงแล้ว แมนจูเรียภายใต้การปกครองของจาง เซวเหลียงก็มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดและการคอร์รัปชั่นอย่างหนัก
จนถึงปัจจุบันก็ยังคงมีการโต้เถียงกันถึงผู้ที่ก่อวินาศกรรมรางรถถไฟสายแมนจูเรียดังกล่าว มีหลักฐานยืนยันอย่างหนักแน่นว่าเป็นฝีมือของนายทหารหนุ่มแห่งกองทัพควันตงซึ่งได้มีการสมรู้ร่วมคิดกัน แม้ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับคำสั่งจากโตเกียวก็ตาม ขณะที่ทหารบางนายของกองทัพญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะเป็นผู้วางระเบิด พันตรี Tadashi Hanaya ผู้ซึ่งเป็นผู้ช่วยของ Itagaki Seishiro ในขณะนั้นได้สารภาพและยอมรับว่าเป็นผู้วางระเบิดจริง และเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นการจัดฉากของฝ่ายญี่ปุ่น ในช่วงหลังสงครามได้มีการสืบสวนในเรื่องดังกล่าวได้พบว่าระเบิดดั้งเดิมของฝ่ายญี่ปุ่นนั้นไม่ทำงานและจำเป็นต้องวางระเบิดอีกลูกหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดผลที่ตามมา คือ กองทัพควันตงได้ประสบความสำเร็จในการวางระเบิด และรุกรานแมนจูเรีย รวมไปถึงการก่อตั้งแมนจูกัวขึ้นเป็นรัฐบาลหุ่นเชิด
"พิพิธภัณฑ์นิทรรศการเหตุการณ์ 9.18" ที่เมืองเสิ่นหยาง โดยเป็นของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้บอกว่าฝ่ายญี่ปุ่นเป็นฝ่ายวางระเบิด แต่ว่าที่พิพิธภัณฑ์ Yushukan ของญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับ Yasukuni Shrine ในกรุงโตเกียวได้โทษว่าฝ่ายจีนเป็นฝ่ายวางระเบิด
หนังสือเรื่อง Japan's Imperial Conspiracy (1971) ของนายเดวิด เบอร์กามินิได้บรรยายถึงรายละเอียดของทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายญี่ปุ่นตลอดช่วงเวลาของกรณีมุกเดน เขาได้สรุปว่าการเข้าใจผิดครั้งใหญ่หลวงว่ากรณีมุกเดนเกิดขึ้นจากแผนการของนายทหารหนุ่มอารมณ์ร้อนแห่งกองทัพญี่ปุ่น โดยไม่ได้รับคำสั่งมาจากกรุงโตเกียว เขาได้บอกว่า จักรพรรดิฮิโรฮิโตเองที่ทรงอนุมัติแผนการดังกล่าวด้วยพระองค์เอง อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ เจมส์ เวลแลนด์ได้สรุปว่านายทหารอาวุโสได้ปล่อยให้มีการปฏิบัติการภาคสนามได้ด้วยกองกำลังของตนเอง และอนุมัติแผนการดังกล่าวในภายหลัง
ในเดือนสิงหาคม 2006 หนังสือพิมพ์ชื่อดังของญี่ปุ่น Yomiuri Shimbun ได้ตีพืมพ์ผลงานวิจัยเป็นเวลาหนึ่งปี โดยตั้งคคำถามว่าผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบต่อสงครามโชวะ โดยมีการพาดพึงถึงกรณีมุกเดนอยู่ด้วย ซึ่งเนื้อหาได้กล่าวโจมตีนายทหารของญี่ปุ่นและนักการเมืองในขณะนั้นที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
เหยื่อจำนวนมากและลูกหลานได้ผลักดันให้รัฐบาลจีนประกาศให้วันที่ 18 กันยายนของทุกปีเป็น "วันเลวทรามแห่งชาติ" (อังกฤษ: National Humiliation Day) รัฐบาลจีนยังได้เปิด "พิพิธภัณฑ์นิทรรศการเหตุการณ์ 9.18" เมื่อวันที่ 18 กันยายน 1991 โดยบุคคลสำคัญที่ได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น Ryutaro Hashimoto ในปี 1997
การโต้แย้งกันยังรวมไปถึงประเด็นการจัดการปัญหาดังกล่าวของสันนิบาตชาติ และรายงานของ Lytton ในภายหลัง นาย เอ.เจ.พี. เทย์เลอร์ ได้เขียนว่า "ในการเผชิญหน้ากับความท้าทายอันตึงเครียดครั้งแรก" สันนิบาตก็โค้งงอและยอมจำนน ถึงแม้ว่าสหราชอาณาจักรจะมีอำนาจอยู่ในภาคพื้นตะวันออกไกลอยู่ก็ตาม แต่ว่าไม่สามารถลงมือตอบโต้อะไรได้มาก เพียงแต่มีการ "ลงโทษตามศีลธรรมจรรยาเท่านั้น"