ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป

กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมดในกลุ่มบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชินคอร์ป) ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (พีทีอี) จำกัด (เทมาเส็ก) หรือ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำนวน 1,487,740,000 หุ้น (49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท ซึ่งเป็นการขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไทย โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดที่ทำให้ การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขยายตัวออกไปในวงกว้าง ซึ่งนำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรในที่สุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

การซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากพรรคการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรเอกชน นักวิชาการบางส่วน รวมทั้งสาธารณชน เป็นอย่างมาก ทั้งในประเด็นการได้รับยกเว้นภาษี ประเด็นเรื่องจังหวะเวลาที่ขายหุ้นซึ่งเกิดหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับใหม่เพียงสองวัน และประเด็นเรื่องการที่กิจการสื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นกิจการที่สำคัญต่อความมั่นคงของชาติ ต้องตกไปอยู่ในการบริหารของต่างชาติ

นอกจากนี้ผู้วิจารณ์ได้แสดงความสงสัยต่อความตั้งใจของ พ.ต.ท. ทักษิณ ที่ให้เหตุผลว่าตระกูลชินวัตรตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดออกไป เนื่องจากต้องการลบเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ที่มีมาตลอดตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกว่า การดำรงตำแหน่งที่มีผลกำหนดนโยบายรัฐ และการถือหุ้นหรือมีบุคคลใกล้ชิดถือหุ้นในกิจการที่จะได้รับผลได้เสียจากนโยบายรัฐ ในเวลาเดียวกันนั้น เป็นการขัดแย้งกันเองทางผลประโยชน์ โดยผู้วิจารณ์ได้ตั้งคำถามว่าถ้าหากมีความตั้งใจเช่นนั้นจริง ทำไมจึงไม่ขายหุ้นทั้งหมดเสียตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนายกฯ เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 (5 ปีก่อนหน้า) สำหรับคำถามนี้ พ.ต.ท. ทักษิณตอบว่า เนื่องจากหุ้นเป็นจำนวนเงินสูงมาก การจะหาผู้ซื้อจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

อีกประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนและอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ คือเรื่องเกี่ยวกับที่มาของหุ้นจำนวนเพิ่มเติมของนายพานทองแท้ ชินวัตร และน.ส. พิณทองทา ชินวัตร ซึ่งในขั้นต้นระบุว่าซื้อมาจาก แอมเพิลริช (Ample Rich Investment, ARI) จำนวนเท่ากันคนละ 164,600,000 หุ้น สำหรับประเด็นนี้ ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2548 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้มีหนังสือสั่งให้บุคคลทั้งสองชี้แจง เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

ประเด็นการขายหุ้นของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรนี้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าใช้อำนาจเพื่อเอื้อต่อผลประโยชน์ต่อครอบครัว โดยนำไปเชื่อมโยงกับ พ.ร.บ ประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2548 ที่ประกาศใช้ก่อนการประกาศขายหุ้นอย่างเป็นทางการสองวัน โดยพ.ร.บ การประกอบกิจการโทรคมนาคมประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ 2549 ส่วนการประกาศการขายหุ้นอย่างเป็นทางการของครอบครัวชินวัตรเกิดขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2549 (อนึ่ง มีข่าวการเจรจาขายหุ้นของครอบครัวชินวัตรออกมาก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคม พ.ศ 2548 แต่ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ)

สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การขยายสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในบริษัทที่ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากไม่เกิน 25% เป็นไม่ถึง 50% และให้ยกเลิกสัดส่วนกรรมการบริษัทที่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด ซึ่งผู้วิจารณ์มองว่าสอดคล้องกับการที่ ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ จำนวน 49.595% ให้กับบริษัทเทมาเส็กของสิงคโปร์ ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ (บริษัทถือหุ้นแทน) อนึ่ง การที่ต้องขาย ผ่านบริษัทโฮลดิ้งส์นั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บริษัทที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ คือ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) บริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) (ShinSAT) และ บริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49% เนื่องจากสามบริษัทดังกล่าวนี้ มีผู้ถือหุ้นต่างชาติจำนวนหนึ่งอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว

อย่างไรก็ตามมีการชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงต่อคำวิพากษ์วิจารณ์นี้ว่า พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม นั้น รัฐบาลต้องออกตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับองค์กรการค้าโลกตั้งแต่ปี พ.ศ 2541 ในยุครัฐบาลก่อนหน้านี้[ต้องการอ้างอิง] โดยประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีรับการลงทุนจากต่างประเทศภายในระยะเวลา 8 ปี และรัฐบาลได้ดำเนินการออกกฎหมายฉบับนี้ โดยส่งเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ 2547 เมื่อการเจรจาขายหุ้นเกิดขึ้นในปลายปี 2548 ซึ่งดำเนินเนินการหลังจากฎหมายได้ผ่านรัฐสภาไปแล้วกำลังอยู่ในขั้นตอนการรอลงพระปรมาภิไธย[ต้องการอ้างอิง] จึงประกาศการตกลงภายหลังกฎหมายมีการประกาศใช้เพียง 2 วัน

ส่วนกรณีบริษัทไอทีวี ซึ่งเป็นกิจการสื่อสารมวลชน และหากมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติเกินครึ่งหนึ่ง จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติไว้ว่า เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในการซื้อขายหุ้น หากปริมาณหุ้นของผู้ถือหุ้นใหม่นั้นขัดต่อกฎหมาย ผู้ถือหุ้นใหม่ก็จะต้องขายหุ้นของตนออกไป ไม่สามารถถือครองไว้ได้ (แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามว่าจะขายไม่ได้ เพียงแต่ห้ามว่าไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ต่อไปได้)[ต้องการอ้างอิง]

ประเด็นอื่นๆ คือ มีผู้เกรงกันว่าการเปลี่ยนมือของผู้ถือหุ้นครั้งนี้จะทำให้ต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อกิจการโทรคมนาคมของประเทศเนื่องจาก บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศทั้งสองบริษัทคือ เอไอเอส (ชินคอร์ปถือหุ้น 42.8%, สิงเทล (สิงคโปร์) 19.2%) และชินแซท (ชินคอร์ป 51.38%)[ต้องการอ้างอิง] ต้องตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของต่างชาติ. อย่างไรก็ตามกรณีเช่นนี้ก็เกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่รัฐบาลไทยมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศอย่างเสรี ตัวอย่างกิจการอื่นๆ ที่มีต่างชาติเป็นเจ้าของและดำเนินการ เช่น ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจการเงินการธนาคาร (โรงกลั่นน้ำมัน 3 ใน 5 โรงกลั่นของไทยเป็นของต่างชาติ)[ต้องการอ้างอิง]

สำหรับประเด็นการได้รับยกเว้นภาษีนั้น ผู้แทนตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ชี้แจงว่าไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด เนื่องจากบุคคลธรรมดาที่ขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ จะได้รับการยกเว้นภาษี ตามข้อ 2(23) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)โดยจุดประสงค์ของการยกเว้นนี้ เพื่อจูงใจให้บุคคลธรรมดาเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งผู้แทนตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ได้แก่ดร. สุวรรณ วลัยเสถียร ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษี ในวันแถลงข่าว

ข้อ 2 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ระบุว่า "ให้กำหนดเงินได้ต่อไปนี้เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 ...

(23) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร"

หมายเหตุ: มาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดเงินได้พึงประเมินประเภทที่ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ และอาจมีข้อพิจารณาว่าการขายหุ้นผ่านตลาดนั้นต้องไม่ใช่การขายเฉพาะเจาะจงที่ตกลงกันมาแล้วนอกตลาด

บริษัทที่เข้าถือหุ้นใน บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทที่มีส่วนร่วมในกรณีการซื้อขายหุ้นครั้งนี้

บริษัท กุหลาบแก้ว จัดตั้งเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2549 (ก่อนหน้าการซื้อขายหุ้น 11 วัน) มีผู้ถือหุ้นดังนี้

รวมมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยทั้งหมด 51% และต่างชาติ 49% โดยหุ้นของผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยทั้งหมด เป็นหุ้นบุริมสิทธิ (หุ้นด้อยสิทธิ) และหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติทั้งหมด เป็นหุ้นสามัญ ในการประชุมจัดตั้งบริษัทกุหลาบแก้ว มีมติให้หุ้นบุริมสิทธิ 10 หุ้น มีสิทธิออกเสียงในประชุมผู้ถือหุ้น 1 เสียง และจำกัดเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิไว้ที่ร้อยละ 3 รวมสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยมีสิทธิออกเสียง 510 เสียง และผู้ถือหุ้นต่างชาติ 4,900 เสียง อำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จจึงอยู่กับผู้ถือหุ้นต่างชาติ

ทำให้ในทางกฎหมายแล้ว บริษัทซีดาร์ฯ เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย (มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ 51%) แต่เมื่อดูเสียงผู้ถือหุ้นในการควบคุมการดำเนินงานของบริษัทแล้ว จะพบว่าเป็นสัดส่วนของต่างชาติถึง 90% ผ่านบริษัทไซเพรส 48.99% และกุหลาบแก้ว (ซึ่งอำนาจเบ็ดเสร็จในการตัดสินใจอยู่ที่ผู้ถือหุ้นต่างชาติ) 41.1%

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ตระกูลเบญจรงคกุล โดยนายวิชัย-บุญชัย และ นางวรรณา จิรกิติ ได้ขายหุ้นในกิจการโทรคมนาคมไปเช่นกัน คือ หุ้นของบริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (ยูคอม) บริษัทแม่ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (แทค) ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของเอไอเอส บริษัทลูกของชินคอร์ป โดยขายหุ้น จำนวน 173,331,750 หุ้น ในราคาหุ้นละ 53 บาท ให้กับบริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของ บริษัท เทเลนอร์ จากประเทศนอร์เวย์ โดยมีมูลค่าการขาย 9,186.58 ล้านบาท

เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของชินคอร์ป นอกจากมูลค่าที่แตกต่างกันกว่า 7 เท่าแล้ว มีลักษณะหลายประการคล้ายคลึงกันคือ ทั้ง 2 กรณี ต่างได้รับการยกเว้นภาษีรายได้จากการขายหุ้น และเป็นการขายหุ้นในลักษณะ "ยกล็อต" ในกระดานนักลงทุนรายใหญ่ เป็นการซื้อหุ้นจากบุคคลธรรมดาไม่ใช่นิติบุคคล อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่ทำให้เกิดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีชินคอร์ปมากกว่า ก็คือ ยูคอมไม่ได้ดำเนินกิจการสื่อสารมวลชน และกิจการดาวเทียม ซึ่งเป็นสองกิจการที่อ่อนไหวต่อความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ ผู้บริหารของยูคอมและคนสนิทก็ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตระกูลเบญจรงคกุลได้ขายหุ้นทั้งหมดของบริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (ยูคอม) ให้กับบริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด ไปตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ก่อนที่พระราชบัญญัติประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) จะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ 2549 ดังนั้น ตระกูลเบญจรงคกุลจึงไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) ที่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นและสัดส่วนกรรมการบริษัทที่เป็นชาวต่างชาติเหมือนกับตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ที่ได้ประโยชน์จากการประกาศขายหุ้นอย่างเป็นทางการเพียงสองวันหลังพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมฉบับใหม่ได้ประกาศใช้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301