ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

กบฏหวันหมาดหลี

กบฏหวันหมาดหลี เป็นเหตุการณ์กบฏที่เกิดที่หัวเมืองปักษ์ใต้ รัชสมัยของรัชกาลที่ 3 เมื่อปีระกา นพศก จ.ศ. 1199 (พ.ศ. 2380) กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย สมเด็จพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคต มีงานถวายพระเพลิงพระบรมศพในต้นปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. 1200 (พ.ศ. 2381) บรรดาผู้ว่าราชการในหัวเมืองต่าง ๆ ได้เดินทางเข้ามาร่วมงานพระราชพิธีในพระนครกันเกือบหมด จึงไม่มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ดูแล

ตนกูมะหะหมัด สะอัด และ ตนกูอับดุลเลาะห์ เชื้อพระวงค์แห่งมลายูได้คบคิดกับหวันหมาดหลี ซึ่งเป็นโจรสลัดอันดามันได้ยกกำลังเข้าจู่โจมเมืองไทรบุรี ฝ่ายไทยที่ดูแลเมืองไทรบุรีไม่อาจรับมือได้ จึงถอยร่นแตกทัพมาที่เมืองพัทลุง กบฏจึงได้ใจบุกต่อเข้าไปตีเมืองตรังและสามารถยึดครองเมืองไว้ได้ จากนั้นจึงปล่อยให้หวันหมาดหลีรักษาเมืองไว้โดยลำพัง กองกำลังส่วนใหญ่ได้เดินบกจากตรังข้ามไปพัทลุงและสงขลา ตีสงขลาแล้วเกลี่ยกล่อมเจ้าเมืองที่เป็นมุสลิมด้วยกันอีก 7 หัวเมืองให้ร่วมมือกันก่อการกบฏ

ทางพระนคร เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข่าวก็พิโรธ มีพระบรมราชโองการสั่งให้เจ้าเมืองต่าง ๆ เร่งกลับไปป้องกันดูแลเมืองของตนเอง และทรงวิตกว่า การที่กบฏสามารถประชิดสงขลาได้แล้วจะเป็นเหตุให้มุสลิมทางหัวเมืองหน้าในแถบทะเลอ่าวไทยคิดการกบฏขึ้นมาด้วย จึงโปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด บุนนาค) เป็นแม่ทัพใหญ่ลงไปปราบ เมืองตรัง เจ้าพระยานคร (น้อย) เจ้าเมืองตรัง กลับมาถึงก็ระดมกำลังทหารตั้งค่ายอยู่ที่ ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง (ในปัจจุบัน) เพื่อเตรียมยกโอบไปตีหวันหมาดหลีซึ่งยึดชัยภูมิอยู่ที่ควนธานี โดยส่งกองกำลังลำเลียงไปทางคลองลำเลียง เมื่อหวันหมาดหลีทราบข่าวว่าเจ้าพระยานคร (น้อย) ยกทัพมา ประกอบกับรับรู้ถึงกิตติศัพท์การออกทัพจับศึกของเจ้าพระยานคร (น้อย) ว่าเก่งกาจ จึงถอยร่นหนีไป

หลังจากเหตุการณ์นี้ มีการสืบสวน พบว่ามีข้าราชการและขุนนางจำนวนหนึ่งที่เข้าพวกกบฏ มีการลงโทษต่าง ๆ รวมถึงการประหารชีวิตด้วย

ช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนการเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครองจาก “จตุสดมภ์/ศักดินา” สู่ระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” หรือที่สำนักคิดประวัติศาสตร์จารีตใช้คำว่า “การปฏิรูประเบียบบริหารราชการแผ่นดิน” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น การต่อต้านจากเจ้าเมือง/เจ้าประเทศราช รวมทั้งการลุกขึ้นสู้ของอดีตไพร่ภายใต้ธง “กบฏผู้มีบุญ” หาได้จำกัดอยู่เพียงหัวเมืองทางภาคเหนือและภาคอีสานเท่านั้นไม่

ความเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญในดินแดนภาคใต้ของรัฐไทยก่อนจะมาเป็นสยาม ซึ่งเป็นหน่ออ่อนของ “ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้” สืบเนื่องมาจนถึงห้วงเวลา 15 ปี การก่อเกิดรัฐประชาธิปไตยระหว่างปี พ.ศ. 2475-2490 กระทั่งเกิดการลุกขึ้นสู้ของ “กบฏดุซงญอ” ในปี พ.ศ. 2491 หลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 อันเป็นชัยชนะครั้งแรกของพลังปฏิกิริยา/ปฏิปักษ์ประชาธิปไตย

พัฒนาการของความขัดแย้ง การต่อต้าน และการลุกขึ้นสู้ของพื้นที่ชายแดนใต้ เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2328 สามปีหลังการสถาปนาราชวงศ์จักรี โดยมีศูนย์กลางอำนาจรัฐที่กรุงเทพฯหรือกรุงรัตนโกสินทร์ ปัตตานีมิได้ส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ราชสำนักตามประเพณีนิยมของหัวเมือง/ประเทศราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงส่งพระยาราชบังสัน (แม้น) นำทัพเรือเข้าโจมตีปัตตานี เรือรบอำนาจรัฐรัตนโกสินทร์แล่นตามลำคลองปาแปรีอันเป็นสาขาของแม่น้ำปัตตานีไปจนถึงประตูเมือง สุลต่านปัตตานีไม่ยอมจำนน พระยาราชบังสันสั่งให้เรือรบยิงถล่มประตูเมือง กระสุนปืนใหญ่ตกในเมืองหลายนัดทำให้ชาวเมืองปัตตานีล้มตายกันมาก ที่สุดปัตตานีก็ยอมแพ้ต่อสยาม

ทางราชสำนักที่กรุงเทพฯดำเนินการรวบรวมหัวเมืองทางภาคใต้ทั้ง 4 (เดิมเรียกว่า “หัวเมืองมลายู” มาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา ประกอบด้วย เมืองไทรบุรี, กลันตัน, ตรังกานู และเมืองปัตตานี ซึ่งในเวลานั้นรวมจังหวัดยะลา, นราธิวาสไว้ด้วย) เข้ามาอยู่ในความปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยให้ปกครองแบบอิสระ แต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการให้กับราชสำนัก 3 ปีต่อครั้ง หากไม่ส่งจะถือว่าเป็นกบฏ ทั้งยังจัดระเบียบการปกครองบริหารราชการแผ่นดินเสียใหม่ ในขั้นต้นให้ไทรบุรีและกลันตันอยู่ในความควบคุมดูแลของสงขลา จากกรณีนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับเจ้าพระยาปัตตานี สุลต่านมูตะหมัด ไม่ยอมอ่อนน้อม จึงโปรดให้ยกทัพไปตี เมื่อตีได้แล้วโปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่วน กุราบิดิน (เชื้อสายสุลต่านเมืองปัตตานี) เป็นเจ้าเมือง พ.ศ. 2334 หลังจากแต่งตั้งเต็งกู รามิกดิน เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ขึ้นตรงต่อเมืองสงขลา ทำให้เต็งกู รามิกดิน ไม่พอใจที่ถูกลดอำนาจ เพราะศักดิ์ศรีน้อยกว่าเมืองสงขลา จึงทำตัวแข็งข้อไม่ขึ้นต่อเมืองสงขลา ได้ชักชวนองเชียงสือ กษัตริย์ญวนในสมัยนั้น ให้นำกองทัพมาตีสยาม แต่ถูกปฏิเสธ จึงหันไปสมคบคิดกับโต๊ะ สาเยก โจรสลัดจากอินเดีย ก่อการกบฏและแยกกองทัพของเมืองปัตตานีมาตีเมืองสงขลาได้สำเร็จ หลังจากสงขลาตกอยู่ภายใต้อำนาจของปัตตานีแล้ว กองทัพหลวงจากกรุงเทพฯร่วมกับกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชได้ยกทัพไปปราบปรามและยึดเมืองสงขลากลับคืนมาได้ พร้อมทั้งมีการแต่งตั้งให้พระยาเมืองสงขลายกทัพไปตีเมืองปัตตานี และสามารถยึดกลับคืนมาอยู่ภายใต้การปกครองของราชสำนักที่กรุงเทพฯตามเดิม การต่อสู้ในครั้งนั้นนับว่ารุนแรงมาก กำลังของเมืองสงขลาสู้ไม่ได้ต้องใช้กองทัพหลวง เพื่อเป็นการลิดรอนกำลังของเมืองปัตตานีให้กระจายออกไป ไม่ยุ่งยากแข็งข้อ และหลีกเลี่ยงการรวมอำนาจที่จะก่อการกบฏได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2339 รัชกาลที่ 1 ทรงแก้ปัญหาด้วยการแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมืองคือ ปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง รามัน ยะลา สายบุรี และระแงะ

สถานการณ์หลังจากนั้นแทนที่จะสงบราบคาบกลับกลายเป็น “คลื่นใต้น้ำ” ที่มีการเคลื่อนไหวในทางลับต่อต้านอำนาจราชสำนักที่กรุงเทพฯ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2380 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิด “กบฏหวันหมาดหลี” ที่หัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อปีระกา นพศก จ.ศ. 1199 (พ.ศ. 2380) กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย สมเด็จพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต มีงานถวายพระเพลิงพระบรมศพในต้นปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. 1200 (พ.ศ. 2381) บรรดาผู้ว่าราชการในหัวเมืองต่างๆได้เดินทางเข้ามาร่วมงานพระราชพิธีในพระนครกันเกือบหมด จึงไม่มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ดูแล

ตนกูมะหะหมัด สะอัด และตนกูอับดุลเลาะห์ เชื้อพระวงศ์แห่งมลายู ได้คบคิดกับหวันหมาดหลี ซึ่งเป็นโจรสลัดอันดามัน ยกกำลังเข้าจู่โจมเมืองไทรบุรี ฝ่ายพระยาอภัยธิเบศร (แสง) เจ้าเมืองไทรบุรี พร้อมข้าราชการทั้งฝ่ายปกครองและทหาร ไม่อาจรับมือกองกำลังฝ่ายกบฏได้ จึงถอยร่นมาถึงเมืองพัทลุง ทำให้ฝ่ายกบฏได้ใจบุกต่อเข้าไปตีเมืองตรัง เจ้าเมืองตรังต้านทานไม่ได้ ต้องถอยไปแจ้งข่าวแก่เมืองนคร ฝ่ายกบฏมอบหมายให้หวันหมาดหลีรักษาเมืองไว้โดยลำพังโดยทิ้งกำลังไว้ให้ส่วนหนึ่ง กองกำลังส่วนใหญ่ได้เดินทัพทางบกจากตรังข้ามไปพัทลุงและสงขลา ตีสงขลาพร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองที่เป็นมุสลิมด้วยกันอีก 7 หัวเมือง ให้ร่วมมือกันก่อการกบฏ

ฝ่ายราชสำนักที่กรุงเทพฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข่าวก็พิโรธ มีพระบรมราชโองการสั่งให้เจ้าเมืองต่างๆเร่งกลับไปป้องกันดูแลเมืองของตนเอง และทรงวิตกว่าการที่กบฏสามารถประชิดสงขลาได้แล้วจะเป็นเหตุให้มุสลิมทางหัวเมืองหน้าในแถบทะเลอ่าวไทยคิดการกบฏขึ้นมาด้วย จึงโปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด บุนนาค) เป็นแม่ทัพใหญ่ลงไปปราบ ในเวลาเดียวกันนั้น เจ้าเมืองสงขลา (เซ่ง) และเจ้าพระยานคร (น้อย) ยังอยู่ในระหว่างการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพกรมสมเด็จพระศรีสุราลัย สมเด็จพระพันปีหลวงครั้นเมื่อทราบข่าวกบฏจึงรีบเดินทางกลับมาเกณฑ์คนที่เมืองนครศรีธรรมราชและพัทลุงจัดเป็นกองทัพ มอบหมายให้พระยาอภัยธิเบศร (แสง) พระยาวิชิตสรไกร (กล่อม) พระเสนานุชิต (นุช) ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยานคร (น้อย) ทั้ง 3 คนคุมกำลังประมาณ 4,000 คน ยกไปตีกบฏเมืองไทรบุรีได้สำเร็จภายในเวลาอันรวดเร็ว ส่วนเจ้าพระยานคร (น้อย) นั้นป่วยเป็นโรคลม ไม่สามารถคุมทัพไปด้วยตนเองได้ ขณะที่ทางกรุงเทพฯส่งพระวิชิตณรงค์ (พัด) และพระราชวรินทร์คุมทหารกรุงเทพฯประมาณ 790 คน มาช่วยรักษาเมืองสงขลาไว้ก่อน พวกกบฏมลายูที่ล้อมสงขลาอยู่เมื่อรู้ข่าวทัพนครศรีธรรมราชตีไทรบุรีแตกแล้วและกำลังบ่ายหน้ามาช่วยเมืองสงขลาพร้อมกับทัพกรุงเทพฯ จึงเกิดความเกรงกลัว พากันหนีกลับไปโดยที่ยังไม่ได้ตีเมืองสงขลา

แม่ทัพคนสำคัญอีกคนหนึ่งคือเจ้าพระยายมราช (ครุฑ) (ต่อมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกรมเวียงที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) นำกองทัพเมืองชุมพร เมืองปะทิว จำนวน 1,216 คน เข้าร่วมกองทัพหลวงปราบปรามความวุ่นวายในหัวเมืองปักษ์ใต้ (กบฏหวันหมาดหลี) เมืองไทรบุรี ในบังคับบัญชาพระยาเสนาภูเบศร์ แม่ทัพหน้า

การสืบสวนภายหลังพบว่ามีข้าราชการและขุนนางจำนวนหนึ่งที่เข้าพวกกบฏ มีการลงโทษต่างๆรวมถึงการประหารชีวิตระดับหัวหน้าก่อการจำนวนหนึ่งด้วย จากการปราบปรามอย่างเด็ดขาด แสดงให้เจ้าผู้ครองนครเดิมเห็นว่า กำลังของราชสำนักที่กรุงเทพฯยังคงมีความเป็นปึกแผ่น สามารถบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้ตอนบนเข้าร่วมปราบกบฏได้ มีผล “ปราม” การเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกันไม่ให้เกิดขึ้นได้อีก ดินแดน “หัวเมืองทั้ง 7” จึงเข้าสู่ช่วงเวลาสงบสันติชั่วคราว ต่อเนื่องกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองเข้าสู่ระบบมณฑลเทศาภิบาลหลังปี พ.ศ. 2435


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406