ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์และสี่ราชอาณาจักรก่อนหน้าซึ่งนับตามแบบ ที่เรียกรวม ๆ ว่าสยามนั้น มีรัฐธรรมนูญซึ่งมิได้จัดทำประมวลกฎหมายเป็นส่วนใหญ่จนปี 2475 ในคำปรารถถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2451 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน พระมหากษัตริย์ตรัสว่า "ในสมัยโบราณ พระมหากษัตริย์แห่งชาติสยามปกครองราษฎรของพระองค์ด้วยกฎหมายซึ่งเดิมมาจากมนูธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นกฎหมายที่ใช้ทั่วไปในหมู่ชาวอินเดียและประเทศเพื่อนบ้าน"
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศไทยซึ่งอยู่เหนือกว่ากฎหมายที่รัฐสภาออก รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดความชอบต่อรัฐธรรมนูญ (constitutionality) ของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ร่างกฎหมาย การแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการของรัฐ และประเด็นเกี่ยวกับพรรคการเมือง
ความผิดอาญาระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ตลอดจนบทกฎหมายอื่นอีกมาก มีการวางเค้าโครงวิธีพิจารณาความอาญาในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีปกครองอย่างการพิจารณาทบทวนในศาลอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เขตอำนาจของศาลมีการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ (เช่น เกินอำนาจ แย้งกันกับกฎหมาย ไม่สุจริต เป็นต้น) ละเลยหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าอย่างไม่มีเหตุผลอันสมควร การละเมิดหรือความรับผิดอื่นของหน่วยงานของรัฐ สัญญาทางปกครอง สั่งให้บุคคลกระทำบางสิ่งหรือคำสั่งห้าม
การตรวจลงตรา (visa) และกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมีในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และการแก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของตำรวจเป็นผู้ปฏิบัติกฎหมาย ขณะที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งการอย่างให้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่