กฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครอง (อังกฤษ: Administrative law) ได้แก่ กฎหมายที่ให้อำนาจทางปกครองกับหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจทางปกครอง กฎหมายปกครองมีลักษณะพิเศษคือผู้ที่ใช้อำนาจหรือออกคำสั่งทางปกครองได้ต้องเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่เท่านั้น จะมีข้อยกเว้นก็ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจทางปกครองนั้นไม่ใช่บุคคลที่กล่าวมาแล้ว แต่เบื้องต้นจะใช้อำนาจทางปกครองได้ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองได้เป็นกรณีไป เช่น บุคคลที่ได้รับสัญญาทางปกครองกับรัฐ และเมื่อมีกรณีพิพาทขึ้นจะต้องนำคดีเข้าสู่ศาลปกครอง ซึ่งคู่พิพาทจะต้องเป็นคู่กรณีดังต่อไปนี้ คือ หน่วยงานทางปกครอง หน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ กับหน่วยงานทางปกครองกับเอกชน เจ้าหน้าที่กับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่กับเอกชน และผู้ที่จะฟ้องต่อศาลปกครองได้ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองมาตรา 42วรรคหนึ่ง กฎหมายที่กำหนดถึงรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นกันลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวคือกฎหมายรัฐธรรนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการปกครองประเทศ แต่กฎหมายปกครองนั้นเป็นกฎหมายดำเนินการปกครอง ซึ่งกฎหมายปกครองนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การทางปกครอง เช่น การจัดแบ่งออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น ระหว่างองค์การเหล่านี้ซึ่งมีต่อกันและกันและเป็นเกี่ยวพันระหว่างองค์กรเหล่านี้กับราษฎร กฎหมายปกครองถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่กฎหมายมหาชน ในประเทศไทย มีหนังสือกฎหมายปกครองให้ศึกษากันหลายเล่ม หลายผู้เขียน นักวิชาการที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ ได้แก่ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์, ดร.ประยูร กาญจนดุลย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์, ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์, ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ฯลฯ มีหลายสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์ผลงานของนักวิชาการด้านกฎหมายปกครองออกมาเผยแพร่ ได้แก่ สำนักพิมพ์วิญญูชน สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักพิมพ์นิติธรรม สำนักพิมพ์นิติบรรณการ ฯลฯ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/กฎหมายปกครอง
|