กฎของเลขจำนวนเต็ม
กฎของเลขจำนวนเต็ม กล่าวว่า มวลของธาตุจะเท่ากับเลขจำนวนเต็มคูณกับมวลของอะตอมไฮโดรเจน กฎนี้สร้างขึ้นจากสมมุติฐานของเพราท์ในปี ค.ศ. 1815 ปี ค.ศ. 1920 ฟรานซิส ดับเบิลยู. แอสตัน สาธิตให้เห็นจากการใช้เครื่องวัดมวลว่าความเบี่ยงเบนไปจากกฎนั้นเกิดขึ้นโดยมีเหตุหลักมาจากไอโซโทป ซึ่งเป็นรองพลังงานยึดเหนี่ยว ทำให้เกิดเหตุการณ์มวลพร่อง สำหรับรูปแบบปัจจุบันของกฎเลขจำนวนเต็มคือ มวลอะตอมของไอโซโทปของธาตุหนึ่งๆ มีค่าประมาณเท่ากับเลขมวล (จำนวนโปรตอนบวกนิวตรอน) คูณกับหน่วยมวลอะตอม (มีค่าประมาณเท่ากับมวลของอะตอมโปรตอน, นิวตรอน, หรือไฮโดรเจน-1 1 หน่วย) กฎนี้ทำนายมวลอะตอมของนิวไคลด์และไอโซโทปจำนวนมากได้ในระดับความแม่นยำสูงกว่า 99%
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/กฎของเลขจำนวนเต็ม
|