กฎของทิเทียส-โบเด (อังกฤษ: Titius–Bode law) หรือบางแห่งเรียกว่า กฎของโบเด คือสมมุติฐานเกี่ยวกับวงโคจรของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค่ากึ่งแกนเอกต่างๆ กันกับดวงอาทิตย์ ว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะเอ็กซ์โพเนนเชียลตามลำดับของดาวเคราะห์ ในภายหลังสมมุติฐานนี้ไม่เป็นที่ยอมรับเมื่อการทำนายวงโคจรของดาวเคราะห์ผิดพลาดไปนับแต่การค้นพบดาวเนปจูน ในปี ค.ศ. 1846
สมการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างค่ากึ่งแกนเอก (a) ของดาวเคราะห์แต่ละดวงไล่ลำดับออกไปจากดวงอาทิตย์ เช่น ค่ากึ่งแกนเอกของโลกเท่ากับ 10 จะได้ว่า
โดยที่ n = 0, 3, 6, 12, 24, 48 ..., ตามลำดับของดาวเคราะห์นับจากด้านใน (ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด) ไล่ออกไปด้านนอก ตัวเลขแต่ละลำดับที่ จะมีค่าเป็นสองเท่าของตัวเลขก่อนหน้า ผลลัพธ์ที่ได้เมื่อหารด้วย 10 จะแปลงเป็นหน่วยดาราศาสตร์ ทำให้ได้สมการต่อไปนี้
สำหรับดาวเคราะห์รอบนอก ดาวแต่ละดวงได้รับการ "ทำนาย" ว่าอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นระยะประมาณ 2 เท่าของวัตถุรอบในดวงก่อนหน้า
ระยะห่างของดาวเคราะห์ที่ได้จากการคำนวณตามกฎนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับระยะห่างจริง เป็นดังนี้
1 ซีรีส นับเป็นดาวเคราะห์อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1801 จนถึงราวคริสต์ทศวรรษ 1860 พลูโตนับเป็นดาวเคราะห์อยู่ระหว่าง ค.ศ. 1930 ถึง 2006 ร่างข้อกำหนดของสหภาพดาราศาสตร์สากลว่าด้วยการจัดประเภทของ "ดาวเคราะห์" จะทำให้ซีรีส ได้รับการจัดประเภทใหม่เป็นดาวเคราะห์ แต่จากการปรับปรุงข้อกำหนดในตอนปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006 ทำให้ซีรีส พลูโต และอีรีส ได้รับการจัดประเภทใหม่กลายเป็น "ดาวเคราะห์แคระ"
กฎของทิเทียส-โบเดยังไม่มีคำอธิบายใดที่เชื่อถือได้ แต่มีสิ่งที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งคือการสั่นพ้องของวงโคจรรวมกับการสั้นลงขององศาอิสระ : ระบบดาวเคราะห์ใด ๆ ที่เสถียรจะมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีความสัมพันธ์ไปตามกฎของทิเทียส-โบเด อย่างไรก็ตามนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ อลัน บอส กล่าวว่ามันเป็นเพียงแค่เรื่องบังเอิญและวารสารวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ Icarus ไม่ยอมรับที่จะตีพิมพ์กฎที่ปรับปรุงนี้
การสั่นพ้องของวงโคจรจากวัตถุที่โคจรหลักจะสร้างบริเวณรอบดวงอาทิตย์ที่ปราศจากวงโคจรที่เสถียร ผลจากแบบจำลองการกำเนิดระบบสุริยะสนับสนุนแนวคิดที่ระบบดาวเคราะห์จะเลือกรัศมีวงโคจรที่เสถียรแบบสุ่มจะมีแนวโน้มที่จะเป็นไปตามกฎของทิเทียส-โบเด
ดูบรูลและแกรเนอร์แสดงให้เห็นว่ากฎกำลังสองผกผันตามระยะทางจะมีผลลัพธ์ของแบบจำลองการยุบตัวของกลุ่มเมฆของระบบดาวเคราะห์มีแนวโน้มที่จะสมมาตรสองแกน : การหมุนคงที่ (เมฆจะสมมาตรตามแกน) สเกลคงที่ (เมฆจะมีความสเกลตามความยาวเท่ากันหมด), อันหลังเป็นโครงหลักของหลายปรากฏการณ์ มีบทบาทในการเกิดระบบสุริยะ