ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

กกต.

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (อังกฤษ: Election Commission of Thailand) หรือย่อว่า กกต. (ECT) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีหน้าที่หลักเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือ จัดให้มีการเลือกตั้ง หรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 กระทั่งได้มีการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป 19 ครั้ง ดังนี้

การเลือกตั้งทั้ง 19 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 64 ปี ได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการตราขึ้นมาบังคับใช้ในแต่ละห้วงเวลาแต่ละสมัย โดยฉบับสุดท้ายคือ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522

กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกฉบับ ล้วนบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ มีอำนาจในการออกกฎกระทรวงและระเบียบให้การปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายส่งผลให้กระทรวงมหาดไทย เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมาโดยตลอด

จนกระทั่งการเลือกตั้งครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ประสงค์ที่จะให้ ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลกระบวนการเลือกตั้งให้เกิดความโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม จึงมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 3/2535 ลงวันที่ 8 มกราคม 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและสองส่องดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมอบหมายให้ นายเกษม สุวรรณกุล เป็นประธาน และนายโคทม อารียา เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการติดตามและสอดส่องดูแลการเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ติดตามและสอดส่องดูแลกระบวนการของการเลือกตั้งทั่วไป ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ให้เป็นไปโดยสุจริต ยุติธรรม และถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย โดยร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง "คณะกรรมการติดตามและสอดส่องดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" หรือที่รู้จักกันในชื่อ “องค์กรกลาง” ถือเป็นองค์กรอิสระที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานอิสระไม่มีผลประโยชน์ใดๆ กับการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง และตรวจสอบการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นผลพวงมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 อันนำไปสู่กระแสเรียกร้องต้องการให้มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างจริงจัง จนในที่สุดมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งมาตรา 211 ด้วยการเพิ่มหมวด 12 ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครบตามจำนวน (99 คน)

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จำนวน 99 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแต่ละจังหวัด 76 คน และรัฐสภาคัดเลือกจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และการปกครองอีก 23 คน โดยยกร่างรัฐธรรมนูญให้คำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540 สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว แล้วนำเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณา ซึ่งที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 7/2540 (สมัยสามัญครั้งที่สอง)

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2540 ก็ได้มีมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... และเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ก็มีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หรือฉบับปฏิรูปการเมือง โดยเนื้อหาสาระได้มีการปรับปรุงแก้ไขออกแบบโครงสร้างระบบการเมืองให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มกลไกการตรวจสอบอำนาจรัฐและนักการเมือง การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมือง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การบัญญัติให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่ควบคุมและจัดการเลือกตั้งแทนที่กระทรวงมหาดไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งอย่างยุติธรรมในประเทศไทย โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 5 คน ซึ่งเลือกสรรโดยวุฒิสภา ดำรงตำแหน่งได้สมัยเดียวเป็นเวลา 7 ปี (ยกเว้นชุดแรก ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน (ที่ให้มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพียงกึ่งหนึ่งของวาระที่กำหนดไว้ ตามมาตรา 322 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 )

ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง

กรรมการการเลือกตั้งต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด และไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด

คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด บุคคล คณะบุคคลหรือผู้แทนองค์การเอกชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายได้.

โดยมี ร้อยตรีวิจิตร อยู่สุภาพ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 และปฏิบัติหน้าที่ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2544 วาระการดำรงตำแหน่ง วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

โดยมี พลตำรวจตรีเอกชัย วารุณประภา เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2547 และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549

ภายหลังการเสียชีวิตของนายจรัล บูรณพันธุ์ศรี และยังไม่มีการสรรหาบุคคลใหม่มาทดแทน กกต.ที่เหลืออยู่ 4 คน ได้แบ่งหน้าที่ใหม่ จากเดิมที่แบ่งตามลักษณะงานตามความเชี่ยวชาญของ กกต. แต่ละคน ออกเป็น 4 เขตพื้นที่ให้ กกต. แต่ละคนดูแล โดยแต่ละคนต่างก็มีอำนาจเด็ดขาดทั้งการบริหาร การเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้ง การสืบสวนสอบสวน และวินิจฉัย ในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ คือ

ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มบุคลากรทั้งในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนภารกิจและการทำงานของ กกต. ให้สำเร็จ

มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานการวินิจฉัยสืบสวนสอบสวน จากเดิมที่มีสองส่วน เพื่อการตรวจสอบและคานอำนาจ คือ

การจัดโครงสร้างเดิม คล้ายกับการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรม ที่มีสำนักสืบสวนสอบสวนทำหน้าที่คล้ายตำรวจ สำนักวินิจฉัยทำหน้าที่คล้ายอัยการ คณะอนุกรรมการวินิจฉัยทำหน้าที่คล้ายเป็นศาลชั้นต้น และ กกต.กลางทำหน้าที่คล้ายกับเป็นศาลสูงสุด

แต่หลังจากที่ กกต. ชุดที่สองเข้ามาดำเนินการไม่นาน ก็มีการปรับให้หน่วยงานทั้งสองมารวมเป็นสำนักเดียวกัน คือ สำนักสืบสวนและวินิจฉัย แต่แบ่งพื้นที่การทำงานเป็นภาค ไม่ได้แบ่งเนื้อหาสาระของการทำงาน มีลักาณะการทำงานคล้ายตำรวจภูธรภาค ไม่มีอัยการ (สำนักวินิจฉัย)

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ศาลอาญาได้ตัดสินตามคำฟ้องของโจทย์คือ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในข้อหาการปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบของ กกต. โดยเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคไทยรักไทย ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มีโทษตามมาตรา 42 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน (ไม่ได้ลงโทษตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) ศาลได้มีคำตัดสินว่าให้คณะกรรมการสามคนได้แก่ พลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร ต้องคำพิพากษาศาลอาญา ให้จำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่งผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง กกต. เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ และต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายกฟ้อง

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศฉบับที่ 13 แก้ไขโดยประกาศฉบับที่ 16 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป รวมทั้งให้นายอภิชาต สุขัคคานนท์ นายประพันธ์ นัยโกวิท นางสดศรี สัตยธรรม นายสมชัย จึงประเสริฐ และนายสุเมธ อุปนิสากร เป็นประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 3 ตามความที่ประธานวุฒิสภาเคยนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลทั้งห้าเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้งและกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งท้องถิ่น แม้จะยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ไปแล้ว

วาระการดำรงตำแหน่งวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 – วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 และ รักษาการจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โดยมี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 และลาออกจากเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 เพื่อไปดำรงตำแหน่ง กรรมการ กสทช. คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีมติแต่งตั้งให้ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 และปฏิบัติหน้าที่ถึงปัจจุบัน

คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2556 และทำพิธีรับพระบรมราชโองการแต่งตั้งและเข้าปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2556

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ห้องประชุมศาลฎีกา ได้เรียกประชุมผู้พิพากษาศาลฎีกา ทั้ง 139 คน เพื่อประชุมใหญ่ มีผู้ออกเสียงทั้งหมด พิจารณาสรรหาบุคคลที่สมควรถูกเสนอชื่อให้เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แทนที่ประชุมจะเลือกคณะกรรมการเลือกตั้งทั้งหมด 2 ตำแหน่ง ซึ่งครั้งนี้ได้เพียง 1 ตำแหน่ง โดยจะเรียกประชุมผู้พิพากษาศาลฎีกา อีกครั้ง ในวันที่ 9 ตุลาคม และอีก 3 ตำแหน่ง จะมาจากการประกาศรับสมัครจากบุคคลทั่วไป จะมีการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหากกต. 6 คน ซึงประกอบไปด้วย 1.ประธานศาลฎีกา 2.ประธานศาลปกครอง 3.ประธานสภาผู้แทนราษฎร 4.ผู้นำฝ่ายค้าน 5.ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกมา 1คน ที่ไม่ใช่ตุลาการ 6.ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเลือกมา 1 คน โดยที่ไม่ใช่ตุลาการ

คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันนี้ ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งบนจุดเปลี่ยนของประเทศ และปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความขัดแย้ง การแตกแยกเป็นสองขั้วการเมืองจนในที่สุดรัฐบาลได้ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 แม้คณะกรรมการการเลือกตั้งจะเพิ่งเข้ารับตำแหน่ง แต่ กกต.ชุดนี้ก็ถูกคาดหวังจากคนทั้งประเทศ ที่จะเป็นกลไกที่ช่วยคลี่คลายความขัดแย้งผ่านกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม

แม้ กกต. จะมีความตั้งใจแน่วแน่ ปรารถนาให้การเลือกตั้งเป็นทางออกในการคลี่คลายปัญหา แต่การทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนดบนพื้นฐานความเข้าใจและเป้าหมายที่แตกต่างกันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายและอาจนำมาสู่ความขัดแย้งรุนแรงได้ทุกขณะ กกต. ได้ส่งสัญญาณให้รัฐบาลรับรู้หลายครั้ง ขอให้เลื่อนการเลือกตั้ง ส.ส. ออกไปจนกว่าจะมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาล คู่ขัดแย้ง และทุกภาคส่วนในสังคม แต่ไม่เป็นผล ทำให้ กกต. ต้องทำหน้าที่เดินหน้าจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นช่วงที่ยากลำบาก เนื่องจาก กกต. และ สนง.กกต.จว. หลายจังหวัดได้รับการขัดขวางเข้าสถานที่ทำงานไม่ได้ การปิดล้อมสถานที่พิมพ์บัตรเลือกตั้ง ปิดล้อมสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งและในวันเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่สามารถเปิดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งได้ทุกหน่วยเลือกตั้ง และได้กำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 มีนาคม 2557 เพื่อจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้สำเร็จตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้

ต่อมาผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยการเลือกตั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 108 วรรคสอง คณะรัฐบาล กกต. และผู้ขัดแย้งได้มีการประชุมเพื่อหารือในประเด็นการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ ในขณะนั้นความขัดแย้งก็มีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศกฎอัยการศึก ด้วยการอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 และจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย และได้เชิญตัวแทนจาก 7 ฝ่าย เข้าร่วมประชุมที่สโมสรกองทัพบก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 โดยผลการประชุมในวันนั้น แต่ละฝ่ายไม่สามารถหาทางออกที่ดีที่สุดของประเทศได้

ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้มีการประชุมอีกครั้ง โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ ประกาศยึดอำนาจ นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย

หลังจากนั้นได้มีประกาศให้สมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง และให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้สถานการณ์ของประเทศ ณ ขณะนั้นได้บรรเทาความร้อนแรงและการปะทะที่จะให้เกิดการเสียเลือดเสียเนื้อของประชาชนคนไทยแล้วเดินหน้าเข้าสู่การปฏิรูปประเทศอย่างจริงจัง ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง

คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ได้มอบหมายภารกิจให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งทำหน้าที่เป็นฝ่ายธุรการของคณะกรรมการสรรหา สปช. และ กกต. เดินหน้าเต็มที่เพื่อทำภารกิจดังกล่าวให้สำเร็จ

โดย กกต. ชุดปัจจุบัน ได้กำหนดวันรับสมัครระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม – 2 กันยายน 2557 ในการรับสมัครดังกล่าวได้รับความสนใจจากบุคคลทุกภาคส่วนที่ต้องการเข้ามามีส่วนปฏิรูปประเทศ และกำหนดทิศทางของประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองฉากใหม่ที่ประชาชนทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือและสนับสนุนเมื่อปิดการรับสมัครมีผู้สมัครจำนวนทั้งสิ้น 7,120 คน และสามารถเสนอชื่อให้ คสช. เพื่อพิจารณาและเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 250 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนี้ นับได้ว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญยิ่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีส่วนสำคัญในสนับสนุนการปฏิรูปประเทศ

กกต. ชุดปัจจุบันได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน (Road Map) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนมีรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งสร้างความภาคภูมิใจในสถาบันพระมหากษัตริย์และความเป็นไทย ปลูกฝังหน้าที่พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยให้กับเยาวชน และประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งพัฒนาระบบงานสืบสวนสอบสวนให้มีมาตรฐาน และจัดทำคู่มือในการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวน การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรของ กกต. เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และการจัดการเลือกตั้งที่จะเป็นจุดเปลี่ยน ของประเทศอีกครั้งหนึ่ง

ระยะที่ 2 เมื่อรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ จะเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญให้กับประชาชน

ระยะที่ 3 เมื่อเข้าสู่การเลือกตั้ง จะเดินหน้าปฏิบัติงานเต็มที่ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ และยุติธรรม ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

โดย กกต. และพนักงาน กกต. ทุกคน จะทุ่มเทแรงกายแรงใจปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ยืนหยัดอยู่บนหลักความสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมเป็นที่ตั้ง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301