ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

Shinkansen

ชิงกันเซ็ง (ญี่ปุ่น: ??? shinkansen ?, แปล: สายทางไกลสายใหม่) เป็นชื่อเรียกเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่นซึ่งดำเนินงานโดย 4 กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น สายแรกที่เปิดใช้งานคือ โทไกโด ชิงกันเซ็ง (515.4 กม.) ในปี ค.ศ. 1964 จากนั้นเป็นต้นมา เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งก็ได้ถูกขยายออกไปทั่วประเทศ ด้วยระยะทางรวมกว่า 2,765 กม. และวิ่งด้วยความเร็ว 240–320 กม./ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีสาย มินิชิงกันเซ็ง สั้น ๆ ความยาว 10.3 กม. ที่วิ่งด้วยความเร็ว 130 กม./ชั่วโมง

รถไฟชิงกันเซ็งให้บริการแก่ผู้โดยสารด้วยความเร็วสูงสุด 320 กม./ชั่วโมง แม้ว่าจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 443 กม./ชั่วโมงในการทดสอบเมื่อปี ค.ศ. 1996 และรถไฟชิงกันเซ็งยังทำลายสถิติรถไฟที่วิ่งเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็วถึง 603 กม./ชั่วโมง ในการทดสอบขบวนแม็กเลฟ เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2015

รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงของญี่ปุ่น ได้ต้นแบบพัฒนามาจากรถไฟความเร็วสูง ซีเมนส์ ของ เยอรมนี ญี่ปุ่นมีความต้องการที่จะสร้างรางรถไฟที่รองรับรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูง จึงได้สร้างทางรถไฟมาเพื่อรถไฟความเร็วสูงอย่างจริงจังโดยเฉพาะ เป็นประเทศแรกในโลก เนื่องจากภูมิประเทศของญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วยภูเขามากมาย เส้นทางรถไฟที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงมีความกว้างแบบแคบ คือ 1,067 มิลลิเมตร ซึ่งทำให้ต้องวางเส้นทางรถไฟที่คดเคี้ยวและรถไฟไม่สามารถเร่งให้มีความเร็วสูงกว่านี้ได้ ต่อมา ญี่ปุ่นมีความต้องการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงมากกว่าความต้องการสร้างของประเทศที่มีระบบรางรถไฟความกว้างมาตรฐานอยู่แล้วและญี่ปุ่นนั้นก็มีศักยภาพในการปรับปรุงระบบรถไฟให้ทันสมัยมากกว่าอีก

ชื่อเรียกอีกชื่อที่คุ้นหูกันดีสำหรับชิงกันเซ็งนี้ก็คือ รถไฟหัวกระสุน (bullet train) ซึ่งเป็นความหมายของคำในภาษาญี่ปุ่นว่า ดังงัง เร็ชชะ (????) ต่อมาชื่อนี้ได้นำมาเรียกเป็นชื่อเล่นของโครงการตั้งแต่ตอนเริ่มต้นปรึกษาหารือความเป็นไปได้ของโครงการในราวทศวรรษที่ 1930 ชื่อนี้ได้มาจากลักษณะของหัวรถจักรที่มีลักษณะคล้ายกับหัวกระสุนปืนและยังมีความเร็วสูงเหมือนกระสุนปืนนั่นเอง

คำว่า "ชิงกันเซ็ง" มีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) เพื่อใช้เรียกเส้นทางทางเดินรถไฟโดยสาร/สินค้าจากกรุงโตเกียวไปยังชิโมะโนะเซะกิที่จะสร้างขึ้นในสมัยนั้น โดยใช้พลังงานไอน้ำและหัวรถจักรไฟฟ้าที่สามารถเร่งความเร็วได้ถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นสามปี รัฐมนตรีรถไฟได้ผลักดันให้เกิดโครงการขยายทางรถไฟไปสู่กรุงปักกิ่ง (โดยเจาะอุโมงค์ผ่านคาบสมุทรเกาหลี) หรือยาวไปจนถึงสิงคโปร์เลยทีเดียว ไปจนถึงการสร้างทางรถไฟเชื่อมกับทางรถไฟสายไซบีเรียนของรัสเซียและทางรถไฟสายอื่น ๆ ของเอเชีย แต่ต่อมา แผนนี้ได้มีการยกเลิกในปี พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) และสภาวะของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างบางส่วนก็ได้รับการพัฒนาต่อ เช่น อุโมงค์บางส่วนได้มาการนำมาใช้สำหรับชิงกันเซ็งในปัจจุบันนับตั้งแต่มีการสร้างครั้งแรกในช่วงสงคราม

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง รถไฟชนิดวิ่งเร็วก็ได้เลือนหายไปจากความทรงจำของคนญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายปี ต่อมากลางทศวรรษที่ 1950 ทางรถไฟสายหลักโทไกโดก็ถูกใช้งานมาจนเต็มขีดความสามารถแล้ว รัฐมนตรีรถไฟของญี่ปุ่นจึงได้ตัดสินใจกลับมาทบทวนโครงการชิงกันเซ็งอีกครั้ง รัฐบาลได้อนุมัติโครงการเมื่อปี 1958 การก่อสร้างทางรถไฟส่วนแรกของ โทไกโด ชิงกันเซ็ง ระหว่างกรุงโตเกียวไปยังโอซะกะก็ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 การก่อสร้างทางรถไฟครั้งนี้ ญี่ปุ่นจำเป็นต้องกู้เงินจากธนาคารโลกเป็นจำนวนเงิน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในปี 1962 ได้มีพิธีเปิดการทดสอบระบบเพื่อการขนสินค้าเป็นครั้งแรกในบางส่วนของเส้นทางนี้ ที่เมืองโอะดะวะระ จังหวัดคะนะงะวะ

โทไกโด ชิงกันเซ็ง ได้เปิดใช้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ซึ่งทันเวลาสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 ณ กรุงโตเกียวพอดี ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จทันทีทีเปิดใช้บริการ โดยมีจำนวนผู้โดยสารถึง 100 ล้านคนในเวลาน้อยกว่า 3 ปีคือวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) และยอดผู้โดยสารรวมมีจำนวนถึง 1,000 ล้านคนในปี 1976 และรถไฟขบวนโดยสาร 16 ตู้ก็ได้นำมาจัดแสดงในงานนิทรรศการปี 70 ที่โอซะกะ

รถไฟชิงกันเซ็งขบวนแรกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดถึง 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นก็เพิ่มเป็น 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถไฟบางขบวนที่มีรูปร่างเป็นหัวกระสุนนั้นยังมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และหัวรถจักรคันหนึ่งในจำนวนนี้ปัจจุบันได้นำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์รถไฟแห่งชาติ ที่เมืองยอร์ค สหราชอาณาจักร

หลังจากในช่วงแรกประสบความสำเร็จ จึงพร้อมที่จะต่อขยายเส้นทางเดินรถไฟออกไปทางตะวันตก โดยมีจุดหมายไปยังฮิโระชิมะและฟุกุโอะกะ (ซันโย ชิงกันเซ็ง) จนแล้วเสร็จในปี 1975

คาคุเออิ ทานากะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนอย่างมาก รัฐบาลชุดนี้ตั้งเป้าว่าจะต่อขยายรางรถไฟที่มีอยู่ให้กลายเป็นรางรถไฟรางคู่ขนานครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เส้นทางใหม่ 2 แห่งแรกคือ โทโฮคุ ชิงกันเซ็ง และโจเอสึ ชิงกันเซ็ง ทั้งสองเส้นทางนี้สร้างขึ้นตามแผนการของรัฐบาลชุดนี้ หลังจากนั้นแผนการต่อขยายในเส้นทางอื่น ๆ ก็ถูกระงับชั่วคราวหรือถูกยกเลิกไปทั้งหมดขณะที่กิจการรถไฟแห่งชาติเริ่มเข้าสู่ภาวะเป็นหนี้มหาศาลเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเครือข่ายชิงกันเซ็งทั่วประเทศนั้นเป็นตัวเลขที่สูงมากทีเดียว ในราวทศวรรษที่ 1980 การรถไฟญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเกือบจะล้มละลาย จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นหน่วยงานเอกชนในที่สุด เมื่อปี 1987

อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนารถไฟชิงกันเซ็งก็ได้ดำเนินการมาโดยตลอด มีต้นแบบรถที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละรุ่นออกมาเสมอ ตอนนี้ รถไฟชิงกันเซ็งสามารถทำความเร็วได้ถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก้าวขึ้นมาเทียบเท่ารถไฟความเร็วสูงระดับโลกไม่ว่าจะเป็น TGV ของฝรั่งเศส, TAV ของอิตาลี, AVE ของอิตาลี และ ICE ของเยอรมนี

นอกจากนั้น ตั้งแต่ปี 1970 ญี่ปุ่นยังได้พัฒนาชุโอะ ชิงกันเซ็ง ซึ่งเป็นรถไฟพลังแม่เหล็ก (แม็กเลฟ) ที่พัฒนามาจากรถไฟความเร็วสูงพลังแม่เหล็ก (Maglev) ของเยอรมนี โดยกำหนดว่าจะวิ่งจากโตเกียวไปยังโอซะกะ ในวันที่ 2 ธันวาคม ปี 2003 รถไฟพลังแม่เหล็กขนาดสามตู้รถไฟ ชื่อ JR-Maglev MLX01

ระหว่างการใช้งานกว่า 40 ปีเต็ม จำนวนยอดผู้โดยสารกว่า 6 ล้านคนมาแล้ว ชิงกันเซ็งก็ไม่เคยมีประวัติว่ามีผู้โดยสารเสียชีวิตเนื่องจากรถไฟตกรางหรือรถไฟชนกันเลย (รวมไปถึงอุบัติเหตุแผ่นดินไหวและพายุไต้ฝุ่นด้วย) มีเพียงการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากประตูรถไฟงับผู้โดยสารหรือสัมภาระของผู้โดยสารเท่านั้น เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยอยู่เป็นจำนวนมากที่สถานีเพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็เคยมีประวัติผู้โดยสารฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงไปในรางขณะที่รถไฟกำลังเทียบชานชาลาหรือกระโดดออกจากรถไฟก่อนที่รถไฟจะจอด

ชิงกันเซ็งช่วงที่กำลังรับส่งผู้โดยสารนั้นเคยตกรางเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในชูเอะสึ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2004 ตอนโดยสารจำนวน 8 ตอนจากทั้งหมด 10 ตอนของรถไฟหมายเลข 325 สาย โจเอ็ทสุ ชิงกันเซ็ง ตกรางใกล้ ๆ กับสถานีนะงะโอะกะ ในเมืองนะงะโอะกะ จังหวัดนีงะตะ แต่ผู้โดยสารทั้ง 154 คนไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใดPDF (43.8 KiB) ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น ระบบตรวจจับแผ่นดินไหวสามารถสั่งการให้รถไฟหยุดได้อย่างรวดเร็ว

ปัญหาอย่างหนึ่งของชิงกันเซ็งคือ ยิ่งเพิ่มความเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้มีมลพิษทางเสียงมากขึ้นและแก้ไขได้ยากขึ้นอีกด้วย การศึกษาวิจัยในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นในเรื่องการลดเสียงดังที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสียงที่เกิดขึ้นในอุโมงค์ หรือ tunnel boom อันเกิดจากการที่รถไฟวิ่งออกจากอุโมงค์ด้วยความเร็วสูง

บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกได้ประกาศว่ารถไฟขบวนใหม่สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วถึง 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะนำมาใช้ในการเปิดตัวโทโฮคุ ชิงกันเซ็ง ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจากฮะชิโนะเฮะไปยังอะโอะโมะริในช่วงต้นปี 2011 แต่จากการทดลองวิ่งรถไฟ Fastech 360 พบว่า ที่ความเร็ว 360 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นยังมีปัญหาอยู่ที่มลพิษทางเสียง สายส่งเหนือรถไฟ และระยะหยุดรถ ซึ่งอาจจะเป็นข้อจำกัดของการเทคโนโลยีชิงกันเซ็งในปัจจุบันก็ว่าได้ ในที่สุด ก็มีการนำเอาเทคโนโลยีรถไฟพลังแม่เหล็กหรือเทคโนโลยีอื่นมาทดแทน หากสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจากอุตสึโนะมิยะไปยังอะโอะโมะริแล้วก็จะทำให้สามารถเดินทางจากโตเกียวไปยังอะโอะโมะริได้โดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น (ระยะทางประมาณ 675 กิโลเมตรหรือ 419 ไมล์)

นอกจากนั้น ผู้บริหารของการรถไฟแห่งญี่ปุ่นสายกลางก็ได้ประกาศแผนการที่จะสร้างรถไฟพลังแม่เหล็ก ชูโอะ ชิงกันเซ็ง ให้สามารถเดินทางจากโตเกียวไปยังนะโงะยะภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงให้ได้ (ระยะทางประมาณ 366 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ภายในปี 2027

และยังมีทางรถไฟอีกสองรางขนาดมาตรฐานที่ไม่จัดว่าเป็นเส้นทางของชิงกันเซ็งแต่ก็มีการให้บริการชิงกันเซ็งอยู่ ได้แก่

ยังมีอีกหลายเส้นทางชิงกันเซ็งที่มีกำหนดว่าจะสร้างขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ที่ชิงกันเซ็งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เส้นทางเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า เซะอิบิ ชิงกันเซ็ง หรือ "ชิงกันเซ็งที่วางโครงการไว้แล้ว" (planned Shinkansen) หนึ่งในเส้นทางเหล่านี้คือ นะริตะ ชิงกันเซ็ง ที่จะเชื่อมต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ แต่ก็มีการยกเลิกไป ถึงกระนั้นก็ยังมีบ้างส่วนที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ ได้แก่

รถไฟชิงกันเซ็งสามารถพ่วงได้ยาวถึง 16 ตอน แต่ละตอนมีความยาว 25 เมตร และรถไฟชิงกันเซ็งที่ยาวที่สุดมีความยาว 400 เมตรวัดจากหัวขบวนถึงท้ายขบวน สถานีรถไฟจึงต้องมีความยาวเพียงพอสำหรับรถไฟชิงกันเซ็งเหล่านี้ด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406