ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

Latimeria

Latimeria เป็นสกุลเดียวของปลาซีลาแคนท์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน มี 2 ชนิด พบที่บริเวณขอบด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย และ อินโดนีเซีย

จากลักษณะวงแหวนเติบโตในกระดูกหู (โอโตลิธส์) นักวิทยาศาสตร์อนุมานว่าปลาซีลาแคนท์ตัวหนึ่ง ๆ อาจมีอายุยืนยาวได้ถึง 80 – 100 ปี ปลาซีลาแคนท์อาศัยอยู่ที่ระดับความลึกได้ถึง 700 เมตรใต้ระดับน้ำทะเล แต่ส่วนใหญ่จะพบได้ที่ระดับความลึกระหว่าง 90 – 200 เมตร ตัวอย่างของปลา ลาติเมอเรีย ชาลัมนี มีสีน้ำเงินเข้มที่อาจช่วยพลางตาจากบรรดานักล่าทั้งหลายได้ อย่างไรก็ตามชนิดที่พบที่อินโดนีเซียกลับมีสีน้ำตาล

ตาของปลาซีลาแคนท์มีความสามารถตอบสนองได้ไวมากและมีแผ่นเนื้อเยื่อ ทาเปตุ้ม ลูซิดุ้ม ที่สามารถสะท้อนแสงไปที่เรตินาของดวงตาทำให้เพิ่มความสามารถในการมองเห็นได้ ปลาซีลาแคนท์จะไม่ออกหากินในช่วงเวลากลางวันเนื่องจากการตอบสนองต่อแสงของดวงตา ในเรตินาของปลาซีลาแคนท์ยังมีเซลล์รับแสงรูปแท่งจำนวนมากที่ช่วยทำให้สามารถมองเห็นได้ในแสงสลัว ๆ ซึ่งรวมถึงเซลล์รูปแท่งและแผ่นเนื้อเยื่อ ทาเปตุ้ม ลูซิดุ้ม ช่วยให้ปลามองเห็นได้ดีในน้ำที่มืดสนิท

ปลาซีลาแคนท์หากินด้วยการล่าสัตว์จำพวกปลาหมึก ปลาไหล ฉลามขนาดเล็ก และปลาอื่น ๆ ที่พบในแนวปะการังน้ำลึกและบริเวณไหล่ฐานภูเขาไฟ พบว่าปลาซีลาแคนท์สามารถว่ายน้ำในแนวที่ส่วนหัวทิ่มลง ว่ายถอยหลัง หรือพลิกส่วนพุงขึ้นเพื่อหาตำแหน่งเหยื่อของมัน ซึ่งน่าจะเพื่อเป็นการใช้ต่อมที่อยู่บริเวณหัวด้านหน้าของมันรับสัญญาณสนามไฟฟ้าจากเหยื่อ นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าเหตุผลหนึ่งที่ปลานี้ประสบผลสำเร็จก็คือมันสามารถลดอัตราการเผาผลาญอาหารด้วยการจมลงไปที่ระดับน้ำลึก ๆ และลดความต้องการอาหารในลักษณะของการจำศีล

ปลาซีลาแคนท์ที่อาศัยอยู่ใกล้อ่าวซอดวานาในแอฟริกาใต้ พบหลบพักอยู่ในถ้ำที่ระดับความลึกระหว่าง 90-150 เมตรในช่วงเวลากลางวัน แต่จะว่ายออกมาที่น้ำตื้นที่ระดับความลึกประมาณ 55 เมตรเพื่อออกล่าเหยื่อในช่วงเวลากลางคืน ความลึกไม่มีความสำคัญเทียบเท่าการที่มันต้องการแสงสลัว ๆ และที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือที่ที่มีอุณหภูมิระหว่าง 14-22 องศาเซลเซียส พวกมันจะลอยตัวหรือจมลงเพื่อค้นหาสภาพที่เหมาะสมในลักษณะดังกล่าว ปริมาณของออกซิเจนที่เลือดสามารถดูดซับได้การจากน้ำทะเลผ่านเหงือกจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าปลาซีลาแคนท์ต้องการอาศัยอยู่ในที่เย็น ในที่น้ำให้ออกซิเจนได้ดี ไม่เช่นนั้นเลือดของมันจะดูดซับออกซิเจนได้ไม่เพียงพอ

ปลาซีลาแคนท์เพศเมียออกไข่และฝักเป็นตัวภายในท้องของแม่ จนกระทั่งคลอดออกมาครั้งละ 5-25 ตัว สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองทันทีที่คลอด พฤติกรรมการสืบพันธุ์ของมันยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีนักแต่เชื่อกันว่าพวกมันจะเริ่มสืบพันธุ์เมื่อมีอายุได้ประมาณ 20 ปี ด้วยมีระยะตั้งครรถ์ระหว่าง 13-15 เดือน

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1938 เฮนดริก กูเซน (Hendrik Goosen) กัปตันเรือลากอวนพาณิชย์ “เนอรีน” กลับไปที่ท่าเรืออีสต์ลอนดอนในแอฟริกาใต้หลังจากลากอวนแถวปากแม่น้ำชาลัมน่า แล้วเขาก็ทำอย่างที่เขาเคยทำอยู่บ่อย ๆ คือโทรศัพท์ไปหาเพื่อนของเขา มาร์จอรี คอร์ทีเนย์-ลาติเมอร์ (Marjorie Courtenay-Latimer) ภัณฑรักษ์ที่พิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ แห่งหนึ่งในอีสต์ลอนดอน เพื่อให้ไปดูว่าสิ่งที่จับได้นั้นเป็นสิ่งที่เธอสนใจหรือไม่ และยังบอกเธอว่ามีปลาเกล็ดแข็งที่เขาเก็บไว้ให้เธอดูอีกด้วย จากจดหมายเหตุของสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพทางน้ำแห่งแอฟริกาใต้ (SAIAB) แสดงให้เห็นว่ากูเซนรักษาสภาพของปลาอย่างดี และสั่งให้ลูกเรือนำมันไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์อีสต์ลอนดอน ภายหลังกูเซนกล่าวว่าปลามีน้ำเงินโลหะแต่กว่าที่เนอรีนจะเข้าเทียบท่าก็กินเวลาหลายชั่วโมงทำให้ปลากลายเป็นสีเทาเข้ม

สิ่งที่ค้นพบนั้นไม่พบว่ามีการบันทึกถึงลักษณะเอาไว้ในหนังสือใด ๆ ที่เธอมีอยู่ เธอพยายามติดต่อกับเพื่อนของเธอ ศาสตราจารย์เจมส์ เลียวนาร์ด เบรียเลย์ สมิธ (James Leonard Brierley Smith) แต่เขาไม่อยู่เนื่องจากเทศกาลคริสต์มาส เนื่องด้วยไม่อาจเก็บรักษาสภาพของปลาเอาไว้ได้เธอจึงลังเลใจที่จะส่งมันไปทำเทคนิคการทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิต เมื่อสมิธกลับมาเขาพบว่ามันเป็นปลาซีลาแคนท์ที่พบได้เฉพาะเป็นฟอสซิล สมิธได้ตั้งชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ลาติเมอเรีย ชาลัมนี” (Latimeria chalumnae) เพื่อเป็นเกียรติแก่ มาร์จอรี คอร์ทีเนย์-ลาติเมอร์และแม่น้ำที่เป็นแหล่งค้นพบ ผู้ค้นพบทั้งสองจึงกลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังรู้จักกันไปทั่ว และปลาชนิดนี้ก็กลายเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นฟอสซิลมีชีวิต และปลาซีลาแคนท์ที่พบในปี ค.ศ. 1938 นี้ปัจจุบันยังคงจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในอีสต์เบิร์นนั้นเอง

อย่างไรก็ตาม ชิ้นตัวอย่างที่ถูกสตัฟฟ์นั้น ไม่สามารถตรวจสอบลักษณะของเหงือกและโครงกระดูกได้และยังมีข้อสงสัยที่ค้างคาอยู่ว่ามันจะเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ สมิธเริ่มล่าตัวที่สองซึ่งก็ต้องใช้เวลามากกว่าทศวรรต

ได้มีการค้นหาปลาซีลาแคนท์เพิ่มเติมกันทั่วโลก ด้วยการตั้งเงินรางวัลสูงถึง 100 ปอนด์ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าสูงมากสำหรับชาวประมงอัฟริกันในช่วงสมัยนั้น สิบสี่ปีให้หลังได้มีการค้นพบอีกหนึ่งตัวอย่างที่คอโมโรสแต่ปลานั้นก็ไม่ได้ทำให้ผู้คนในท้องที่ประหลาดใจแต่ประการใด ที่ท่าเรือโดโมนิบนเกาะคอโมโรสแห่งแอนโจอวน ชาวคอโมโรสสงสัยว่าทำไมปลาจึงได้รับการเสนอรางวัลสูงนัก ปลาที่พวกเขารู้จักกันในนามของ “กอมเบสซา” หรือ “มาเม” เป็นปลาที่เกือบกินเป็นอาหารไม่ได้ที่บางครั้งชาวประมงก็จับได้ด้วยความเข้าใจผิด

ตัวอย่างที่สองพบในปี ค.ศ. 1952 โดยชาวประมงชาวคอโมโรส อะฮามาดิ อับดุลลาห์ ที่ถูกพิจารณาให้เป็นชนิดใหม่ที่แตกต่างออกไป โดยในตัวอย่างแรกให้ชื่อเป็น “มาลันเนีย ฮันไต” (Malania anjounae) และตัวอย่างต่อมาให้เป็น “มาลันเนีย แอนโจอันนี” (Malania anjounae) ตามชื่อของแดเนียล ฟรานซิส มาลัน นายกรัฐมนตรีแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นผู้จัดส่งตัวอย่างปลาไปให้อย่างรวดเร็วตามคำร้องขอของศาสตราจารย์ สมิธ โดยดาโกต้า ในภายหลังพบว่าการหายไปของครีบหลังอันแรกซึ่งเดิมทีคิดว่าเป็นลักษณะที่มีนัยสำคัญนั้น เกิดจากการหลุดหายไปจากการบาดเจ็บของตัวปลาเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ มาลันผู้ยึดมั่นในพระผู้สร้าง เมื่อเขาเห็นมันครั้งแรกถึงกับร้องอุทานว่า “ตัวฉัน มันน่าเกลียด คุณหมายความว่าครั้งหนึ่งเราเคยเป็นแบบนั้นหรือ” ตัวอย่างปลาถูกซ่อมแซมโดยสมิธและจัดแสดงไว้ที่ SAIAB ในเกรแฮมส์ทาวน์ของแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นที่ทำงานของเขา

ปัจจุบันชาวคอโมโรสรู้ถึงความสำคัญของปลาใกล้สูญพันธุ์ชนิดนี้ดีและได้ก่อ ตั้งโครงการปล่อยปลาซีลาแคนท์ที่จับได้โดยอุบัติเหตุกลับคืนสู่ทะเลลึก

สำหรับสมิธผู้ได้ล่วงลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1968 นั้น ถือเป็นบุคคลที่มีคุณูปการอย่างมากเกี่ยวกับปลาซีลาแคนท์ดังที่ปรากฏในหนังสือ “Old Fourlegs” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1956 หนังสือของเขา “Sea Fishes of the Indian Ocean” ซึ่งมี มาร์กาเรต ภรรยาของเขาเป็นผู้ร่วมเขียนที่ถือว่าเป็นตำราอ้างอิงด้านมีนวิทยาที่ได้มาตรฐานเล่มหนึ่งในแอฟริกา

ในปี 1988 ช่างภาพเนชั่นแนลจีโอกราฟิก ฮานส์ ฟริคส์ เป็นบุคคลแรกที่ถ่ายภาพปลาซีลาแคนท์ในถิ่นอาศัยของมันตามธรรมชาติ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 180 เมตรนอกชายฝั่งตะวันตกของแกรนด์โคโมร์

เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1997 อาร์นาซ และมาร์ค เอิร์ดมันน์ ได้ท่องเที่ยวไปในอินโดนีเซียในการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของเขา เขาพบปลาตัวแปลก ๆ เข้าไปในตลาดที่มานาโดบนเกาะซูลาเวซี มาร์คคิดว่าเป็นปลา “กอมเบสซ่า” (ปลาซีลาแคนท์จากคอโมโรส) แม้ว่ามันไม่เป็นสีน้ำเงินแต่กลับเป็นสีน้ำตาล ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งได้พิจารณาภาพถ่ายในอินเทอร์เน็ตของเขาแล้วให้ความเห็นว่ามันมีลักษณะที่มีนัยสำคัญ หลังจากนั้นคู่สามีภรรยาเอิร์ดมันน์ได้ติดต่อกับชาวประมงในท้องที่และได้ร้องขอว่าหากจับปลาลักษณะดังกล่าวได้อีกขอได้โปรดส่งให้เขา ตัวอย่างที่สองจากอินโดนีเซียมีความยาว 1.2 เมตรและมีน้ำหนัก 29 กิโลกรัมถูกจับได้ขณะยังมีชีวิตอยู่เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 มันมีชีวิตอยู่ได้ 6 ชั่วโมง ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกภาพลักษณะของสี การเคลื่อนที่ของครีบ และพฤติกรรมอื่น ๆ ทั่วไป ตัวอย่างปลาถูกเก็บรักษาไว้และบริจาคให้พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาโบกอร์ (MZB) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งอินโดนีเซีย (LIPI)

ผลการตรวจสอบดีเอ็นเอชี้ชัดว่าตัวอย่างปลามีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับปลาซีลาแคนท์คอโมโรสอย่างชัดเจน มื่อดูอย่างผิวเผินแล้วปลาซีลาแคนท์จากอินโดนีเซียซึ่งในท้องที่เรียกกัน ว่า “ราชาลอต” (หมายถึงเจ้าแห่งทะเล) มีลักษณะที่เหมือนกันกับที่พบในคอโมโรสยกเว้นที่สีผิวที่เป็นสีเทาแกมสีน้ำตาลแทนที่จะเป็นสีน้ำเงิน ปลาชนิดนี้ถูกบรรยายรูปพรรณไว้ในวารสาร Comptes Rendus de l'Acad?mie des sciences Paris ในปี 1999 โดย Pouyaud et al และถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ลาติเมอเรีย เมนาโดเอนซิส (Latimeria menadoensis) ผลการศึกษาทางโมเลกุลประมาณการได้ว่าช่วงเวลาที่เกิดการแตกแขนงเป็นปลาซีลาแคนท์ 2 ชนิดนั้นอยู่ที่ประมาณ 40 – 30 ล้านปีมาแล้ว

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 จัสตินัส ลาฮามา ชาวประมงชาวอินโดนีเซียได้จับปลาซีลาแคนท์ลำตัวยาว 1.3 เมตร น้ำหนัก 50 กิโลกรัมจากนอกชายฝั่งใกล้เมนาโด ทางตอนเหนือของเกาะซูลาเวซีใกล้กับอุทยาน ทะเลแห่งชาติบูนาเก้น หลังจากนำขึ้นจากน้ำได้ 30 นาทีปลาซึ่งยังมีชีวิตอยู่ถูกนำไปขังไว้ในกระชังหน้าภัตตาคารแห่งหนึ่งที่ชายฝั่งทะเลและอยู่รอดได้นานถึง 17 ชั่วโมง ปลาซีลาแคนท์มีลักษณะที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับปลาปอดซึ่งปรกติจะอาศัยอยู่ที่ระดับความลึก 200 – 1000 เมตร ปลาถูกถ่ายทำเป็นภาพยนตร์โดยเจ้าหน้าที่ในท้องที่ โดยว่ายไปมาในกระชังลึกประมาณหนึ่งเมตร เมื่อมันตายจึงนำไปแช่แข็ง สำนักข่าวเอเอฟพีของฝรั่งเศสเรียกร้องให้นักวิทยาศาสตร์จากฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และอินโดนีเซียเข้าร่วมงานกับสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งฝรั่งเศสเพื่อดำเนินการตรวจสอบถึงสาเหตุของการตายของปลาซีลาแคนท์และวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์หลังจากนั้น ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยในท้องที่กำลังทำการศึกษาซากศพอยู่

ในแอฟริกาใต้ การค้นหายังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องมาหลายปี นักประดาน้ำวัย 46 ปี เรฮัน เบาเวอร์ ได้เสียชีวิตขณะดำค้นหาปลาซีลาแคนท์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1998

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ทางตอนใต้ของเขตแดนโมซัมบิกลงไปเล็กน้อย ในอ่าวซอดวานาของอุทยานป่าชุ่มน้ำเกรตเตอร์เซนต์ลูเซีย นักประดาน้ำน้ำลึกสามคนคือ เปเตอร์ เวนเตอร์ ปีเตอร์ ทิมม์ และ อีเทน เลอ รอกซ์ ได้ดำน้ำลงไปลึก 104 เมตรและก็ได้พบเห็นปลาซีลาแคนท์โดยไม่ได้ตั้งใจ

กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มสำรวจปลาซีลาแคนท์แอฟริกาใต้ 2000" หวนกลับมาพร้อมอุปกรณ์ถ่ายภาพและสมาชิกเพิ่มเติมอีกหลายคน โดยในวันที่ 27 พฤศจิกายน หลังจากการดำสำรวจครั้งแรกที่ไม่ประสบผลสำเร็จ สมาชิกทั้งสี่ของกลุ่ม ได้แก่ เปเตอร์ เวนเตอร์ กิบเบิร์ต กันน์ คริสโต เซอร์ฟอนเตียน และเดนนิส ฮาร์ดิง ได้พบเข้ากับปลาซีลาแคนท์ 3 ตัว ตัวที่ใหญ่ที่สุดยาวประมาณ 1.5 – 1.8 เมตร ส่วนอีกสองตัวมีความยาวประมาณ 1.0-1.2 เมตร ปลาเหล่านี้ว่ายไปมาโดยมีส่วนหัวดิ่งลงดูเหมือนว่าจะหากินอยู่บริเวณผนังหินที่มีส่วนยื่นโผล่ออกมา กลุ่มของคณะปะดาน้ำนี้กลับขึ้นมาพร้อมภาพวิดีโอและภาพถ่ายของปลาซีลาแคนท์

อย่างไรก็ตามระหว่างการดำน้ำนั้นเซอร์ฟอนเตียนได้หมดสติและเดนนิส ฮาร์ดิงวัย 34 ปีได้พุ่งโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมาในลักษณะของการขาดการควบคุม ฮาร์ดิงได้บ่นว่าเจ็บที่คอและได้เสียชีวิตไปจากอาการภาวะเส้นเลือดอุดตันขณะอยู่บนเรือ ส่วนเซอร์ฟอนเทียนหายดีหลังเข้ารับการรักษาโรคลดความกด

ระหว่างเดือนมีนาคม–เมษายน ค.ศ. 2002 ยานดำน้ำจาโกและทีมปะดาน้ำฟริกค์ได้ลงไปในทะเลลึกนอกชายฝั่งซอดวานาและได้สังเกตเห็นปลาซีลาแคนท์ 15 ตัว เครื่องยั่งแบบลูกดอกถูกใช้ในการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อของปลา

มีการจับปลาซีลาแคนท์ได้บริเวณนอกชายฝั่งของแทนซาเนียมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 สองตัวแรกถูกจับได้ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2003 ใกล้ซันกา เอมนารา (Songa Mnara) ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ บนขอบมหาสมุทรอินเดีย ได้รับรายงานว่าในช่วง 5 เดือนหลังจากนั้นพบอีก 19 ตัวมีน้ำหนักระหว่าง 25 – 80 กิโลกรัมติดอวนขึ้นมา รวมถึงมีการจับได้อีกตัวหนึ่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 หนังสือพิมพ์ออบเซิร์พเวอร์รายงานเมื่อปี ค.ศ. 2006 ว่ามีการจับปลาซีลาแคนท์ได้ตัวหนึ่งที่มีน้ำหนักตัวถึง 110 กิโลกรัมทีเดียว เจ้าหน้าที่จาก "โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งแทงก้า" ซึ่งมีแผนกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อปกป้องปลาซีลาแคนท์นี้ได้เห็นความสัมพันธ์ของช่วงเวลาการถูกจับด้วยการลากอวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือของชาวญี่ปุ่นที่อยู่ใกล้ถิ่นฐานของปลาซีลาแคนท์ เพียงในระยะไม่กี่วันที่เรือลากอวนสามารถจับปลาซีลาแคนท์ด้วยอวนน้ำลึกที่ใช้กับฉลาม การปรากฏตัวชั่วครั้งชั่วคราวของปลาซีลาแคนท์นอกชายฝั่งแทนซาเนียได้เพิ่มความกังวลใจอันเนื่องมาจากความเสียหายของจำนวนประชากรปลาซีลาแคนท์ในอนาคต โดยผลกระทบส่วนใหญ่เกิดจากการไม่รู้จักแยกแยะวิธีการลากอวนออกจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับถิ่นฐานของปลาซีลาแคนท์

ฮาสสัน โกลอมโบ ผู้เข้าร่วมโครงการกล่าวว่า “ทันทีที่เราหยุดการลากอวน เราก็จะไม่รบกวนปลาซีลาแคนท์อีกต่อไป ก็ง่าย ๆ เพียงแค่นี้” ผู้ร่วมงานของเขา โซโลมอน มาโกโลเวกา กล่าวว่าเรากำลังกดดันรัฐบาลแทนซาเนียให้จำกัดการลากอวน เขากล่าวว่า “ผมคิดว่าเราควรจะชื่นชมยินดีกับผู้ลากอวนทั้งหลาย เพราะว่าเขาทำให้เราประจักษ์ชัดถึงจำนวนประชากรปลาที่เป็นเอกลักษณ์และน่าประหลาดใจนี้ แต่เราต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยความหวั่นว่าพวกเขาจะเข้ามาทำลายสิ่งที่มีค่าเหล่านี้ เราต้องการให้รัฐบาลจำกัดการลากอวนและจัดสรรทุนวิจัยที่เหมาะสมเพื่อเราจะได้เรียนรู้ปลาซีลาแคนท์ได้มากกว่านี้เพื่อปกป้องมัน”

ในรายงานฉบับหนึ่งของเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 กล่าวว่า การประชุมอภิปรายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของแทนซาเนียซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรเอกชนท้องถิ่นได้เตือนว่าโครงการที่เสนอที่อ่าวแวมบานีอาจมีผลคุกคามต่อประชากรปลาซีลาแคนท์ในชายฝั่งได้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301